วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

เมื่อคนเกิดเป้นโรคดิสโทเนีย P. 6, Dystoniaโรคดิสโทเนีย, Dystonia: Treatments and drugs

Jan 4,2014
ได้เห็นคนที่เป็นโรค “ดิสโทเนีย” แล้ว...
อดสงสารไม่ได้   เพราะในปัจจุบันนี้ เราไม่สามารถรักษาภาวะดังกล่าว
ให้หายได้เลย เป็นแต่เพียงมีวิธีการที่สามารถทำให้อาการบางอย่างดีขึ้น
เท่านั้นเอง

Medications:
 Botulinum toxin tpe A:
การฉีดสาร Botulinum toxin type A (Botox) ด้วยการฉีดเข้าสู่กล้ามเนื้อ
 ซึ่งอาจลด หรือกำจัดการหดเกร็งกล้ามเนื้อลงได้
และสามารถทำให้ท่าทางของร่างกายที่ผิดธรรมชาติดีขึ้น

ในการฉีด Botox อาจจำเป็นต้องฉีด 3 เดือน
หลังการฉีดสารดังกล่าวแล้ว ท่านอาจรู้สึกว่าเกิดมีอาการอ่อน
แรงของกล้ามเนื้อคอ, คอแห้ง หรือมีเสียงเปลี่ยนแปลงไป

 Oral medications:
มีโรคดิสเนียบางชนิด  จะตอบสนองต่อยา levodopa และ
Carbidopa (sinemet®)  เป็นยาที่เพิ่มสาร dopamine
ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ 
ซึ่งในรายที่เป็นโรคกิสโตเนียในระยะแรกๆ จะตอบสนองต่อยาดังกล่าว

ยา Tetrabenazine (Xelmazine) เป็นยาที่ออกฤทธิ์บล๊อคการทำงานของ dopamine
ซึ่งอาจช่วยบางคนที่เป็นโรค  Dystonia
เมื่อท่านได้รับบาดังกล่าวแล้ว ท่านอาจเกิดผลข้างเคียงด้วยอาการง่วง,
เกิดอาการหงุดหงิด, ซึ่มเศร้า หรือนอนไม่หลับได้

 Other medications:
ยาอย่างอื่น เช่น trihexylphenidyl และ benztropine อาจช่วยทำให้อาการดีขึ้น
โดยการออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทตัวอื่น ๆ
เมื่อใช้ยาเหล่านี้แล้ว จะเกิดผลข้างเคียง เช่น สูญเสียความจำ,  ตาพล่ามัว,ง่วงซึม,
ปากแห้ง และท้องผูก

ยาอย่างอื่น ๆ ซึ่งออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทหลายตัว เช่น diazepam
(valium), clonazepam (Klonopin), lorazepam(Ativan), baclofen (Lioresal) อาจช่วย
คนที่เป็นโรคดิสโตเนียบางชนิด   ยาเหล่านี้ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง
นั่นคือ อาการซึมเศร้า

การบำบัด (Therapy):

 Physical therapy อาจช่วยทำให้อาการของคนเป็นโรคดิสโทเนียดีขึ้นได้
 Speech therapy ในรายที่โรคดิสโทเนียกระทบกับสายเสียง   การแก้ไขการพูด
    อาจช่วยได้
 Sensory trick. รายที่เป็นโรคดิสโทเนียที่กระทบกับเปลือกตา ทำให้หนังตาปิด 
   การสัมผัส  หรือการกดที่บริเวรเปลือกตา  สามารถทำให้การหดเกร็งของ
กล้ามเนื้อหนังตาลดลง เป็นการเปิดลุกตานั้นเอง

การผ่าตัด (Surgical procedures)
• Deep brain stimulation.
ในการกระตุ้นสมอง...
แพทย์จะฝังอีเล็กโตรดเอาไว้ในสมองในตำแหน่งที่ต้องการ   โดยติดต่อกับเครื่อง
ก่อกำเนิดที่ฝังเอาไว้ที่บริเวณทรวงอก   เพื่อทำหน้าที่ส่งคลื่นกระแสไฟฟฟ้าไปยังสมอง 
ซึ่งอาจควบคุมการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้

แพทย์อาจทำการปรับเครื่องกำเนินกระแสไฟฟ้าหากจำเป็น
และการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว   อาจมีผลแทรกซ้อนด้วยการเกิด
การอักเสบติดเชื้อ และอาจทำให้สมองเกิดปัญหาคล้ายขาดเลือดได้

• Surgery. สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัด อาจเป็นทางเลือกอย่างหนึ่ง
ซึ่งไม่ค่อยจะใช้กัน โดยจะนำมาใช้ในกรณีที่การรักษาอย่างอื่นไม่สามารถใช้ได้ผล


• << PREV      NEXT >> P. 7 : Alternative medicine

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น