Jan.17, 2014
ยาต่างๆ ที่คนเรารับประทานเข้าไป...จะต้องถูกขับออกจากร่างกาย
อวัยวะที่สำคัญที่ทำหน้าที่กำจัดยาดังกล่าว คือ ไต และตับ
นอกจากนั้น ยายังถูกขับจากกายทางน้ำลาย, เหงือ, หรือทางลมสหาย
ใจออกได้
การกำจัดยาออกทาวงไต จะถูกขับออกไปในรูปของน้ำดี...
ปฏิกิริยาที่เกิดจากการขับออกทางน้ำดีมีไม่ค่อยมาก แต่ปฏิกิริยาทีเกิด
จากยา และโรค (Drug-disease) จะเกิดขึ้นได้เมื่อเกิดเป็นโรคตัย หรือ
โรคทางเดินน้ำดี (biliary disease)
ปฏิกิริยาของยา-ยา ที่เกิดทางไต จะจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยภาวะ pH ของ
ปัสสาวะ และ pH ของยา ....
ถ้า pH ของปัสสาวะ และ pH ของยามีค่าเท่ากัน จะทำให้ยาถูกดูดซึมกลับ
(resorption) เพิ่มขึ้น
เมื่อมียาสองขนานต้องถูกขับถ่ายออกทางเดียวกัน...
จะเกิดภาวะการต่สู้ระหว่างยาท้งสอง โดยยาตัวหนึ่งอาจยับยั้งไม่ให้ยาอีก
ตัวถุกขับออกจากร่างกาย
ยกตัวอย่าง ยารักษาเบาหวาน Metformin และยาลดกรด cimetidine
ปรากฏว่า ยาทั้งสองต่างมกระแสไฟฟ้าเป็นบวก(positively charged drugs)
เมื่อมีการขับออกทางไต...ยาทั้งสองจะเกิด
การแย่งชิงในด้านการขับถ่ายทางไต (renal tubular secretion) เป็นเหตุ
ให้มียา metformin ในกระแสเลือดในปริมาณสูง
จากกรณีดังกล่าว เมื่อมี Metformin ในปริมาณสูงสามารถทำใหระดับน้ำ
ตาลลดต่ำ หรืออาจก่อให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด lactic acidosis....
ซึ่งจะทำให้เกิดมีอาการเหนื่อยเพลีย, ปวดกล้ามเนื้อ, หายใจลำบาก,
แน่นท้อง, มีเหงื่อเย็น, สั่น, ปวดหัว, ไวใจเต้นแรง, รู้สึกเสียวซ่าตามมือและเท้า...
Previous Section: P. 6: Pharmacokinetic Interactions- Metabolism interactions.
Next Section: P. 8: Pharmacokinetic Interactions- Drug-Disease Interactions.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น