วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

เมื่อท่านต้องกินยาสองขนานขึ้น... P4 : Enzyme Inhibition Increasing Risk of Toxicity.

Jan. 17, 2014

เป็นที่รู้กันว่า....
ยาส่วนใหญ่ที่คนนเราใช้รักษาโรคกัน...จะถูกทำให้หมดฤทธิ์ หรือมี
ฤทธิ์น้อยลงได้ด้วยการกระทำ (action) ของเอ็นไซม์ที่อยู่ในตับ และลำไส้
และเมื่อการเปลี่ยนแปลงทางเคมีดังกล่าวถูกยับยั้ง (inhibit)ไป  ย่อมทำให้ยา
ที่เรากินเข้าไปนั้นมีฤทธิ์ (effect) มากขึ้น...และหากฤทธิ์ของยามีมากขึ้น
อาจก่อให้เกิดพิษ (toxicity) จากการใช้ยาตัวนั้นได้   นั้นคือกลไกของการ
เกิดปกิกิริยาจากยา (drug interactions) ที่พบได้บ่อยที่สุด

นื่องจากมีเอ็นที่เกี่ยวข้องการการเปลี่ยนแปลงของยาเพียงไม่กี่ตัว
ซึ่งมีชื่อว่า cytochrome P450 isozymes
ยาสองตัวที่ต้องพึงพาเอ็นไซมืเหล่านี้ จะเกิดการแย่งกันเป็นบางครั้ง
และการแย่งกัน (competition) อาจทำให้ยาตัวหนึ่งกระทบการเปลี่ยน
แปลงทางเคมี่ของยาอีกตัวได้

ยกตัวอย่าง...
ยาที่ออกฤทธิ์เป็นตัวยับยั้ง (inhibitor) เอ็นไซม์ CYP1A2 สามารถเพิ่ม
ความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดพิษจากการใช้ยา clozapine หรือ
Theophilline

ยาที่ออกฤทธ์เป็นตัวยับยั้งเอ็นไซม์ CYP2C9 สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อ
การทำให้เกิดพิษของ phenytoin, tolbutamide และ anticoagulants
เช่น warfarin

และยาที่ออกฤทธิ์เป็นตัวยับยั้ง (inhibitors) เอ็นไซม์ CYP3A4 สามารถ
เพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดพิษ (toxicity) จากยาหลายตัว
เช่น: carbamazepine, cisapride, cyclosporine, ergot alkaloids, lovastatin,
pimozide, protease inhibitors, rifabutin, simvastatin, tacrolimus,
and vinca alkaloids.




       Credit: www.pharmacytimes.com



BACK: P. 3: Enzyme Inhibitors Resulting in Reduced Drug Effect.

NEXT: P5. Enzyme Inhibitors Resulting in Reduced Drug Effect.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น