Jan.17,2014
เมื่อยาที่คนเรารับประทาน... และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
จากนั้น มันจะเคลื่อนตัวผ่านเซลล์ (intracellular) และอยู่ในระหว่าง
เซลล์ (extracellular) เข้าสู่ตำแหน่งที่ยาจะออกฤทธิ์
มียาหลายตัว เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว มันจะจับตัวกับโปรตีน
:ซึ่งอยู่ในกระแสเลือด เช่น albumin... เมื่อมันจับตัวกับโปรตีนแล้ว มันจะไม่มี
สมรรถภาพทำงานด้านเภสัช ...และยา) ที่จะมีผลในด้านการรักษา
จะต้องเป็นยาที่ไม่จับตัวกับโปรตีน (free drug)
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการกระจายตัวของยาในเลือด...
ปรากฏว่า มียาหลายตัวเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะจับตัวกับโปรตีนในเลือด
และเนื้อเยื่อ ซึ่งสามารถผันกลับ (reversible) และมีเพียงแต่ยาที่เป็นอิสระ...
ไม่จับตัวกับโปรตีน (unbound) เท่านั้น ที่สามารถออกฤทธิ์ทางด้านการรักษา
ส่วนยาที่จับตัวกับโปรตีนจะทำหน้าที่เป็นที่เก็บสะสมยา และปล่อยออกสู่กระแสเลือดได้
ยาหลายตัวที่อยู่ในกลุ่ม acidic drugs...
เมื่อเข้าสู่กระแสเลือด มันจะจับตัวกับโปรตีน และเข้าไปแทนที่ยาตัวอื่น
ที่จับตัวในโปรตีน (bound drug) ได้
ในคนไข้ที่ทรมานจากภาวะ hypoalbuminemia (ภาวะแอลบลูมินต่ำ)
จะพบว่า ยาซึ่งปกติจะจับตัวกับโปรตีนอาจลอยเป็นอิสระในกระแสเลือด
และอาจเป็นพิษต่อคนไข้ได้
ผลจากการศึกษาในตอนต้น ๆ ได้ให้ความสำคัญกับตัวยาที่ถูกปล่อย
จากการจับตัวกับโปรตีนเข้าสู่กระแสโลหิต..ว่ามีความสำคัญในด้านคลีนิค.
แต่ในปัจจุบัน กลับพบว่า ปฏิกิริยาระหว่างยา-ยา ที่เกี่ยวข้องกับการจับตัว
กับโปรตีน (protein binding) จะไม่ค่อยมีความสำคัญในด้านคลีนิคเท่าใดนัก
เพราะภายหลังจาก ที่ยาถูกปล่อยจากโปรตีน มันจะถูกทำลาย และ
ถูกขับออกจากร่างกายทันที
ยกตัวอย่าง...
Aspirin และ NSAIDs สามารถปลดปล่อยยา methotrexate และ warfrin
จากตำแหน่งที่มันจับตัวกับโปรตีน ให้หลุดลอยเข้าสู่กระแสโลหิต
จากปรากฏการณ์ดังกล่าว ถูกเชื่อว่ามีบทยาทสำคัญต่อการทำให้เกิดมี่
ปฏิกิริยาเกิดขึ้น แต่มาในปัจจุบัน เราไม่ถือว่ามีความสำคัญอีกต่อไป
สารต่อต้านการจับตัวของเม็ดเลือด oral anticoagulants จะออกฤทธิ์
ยับยั้งการสังเคราะห์ vitamine K- dependent clotting factors ในตับ
ยาใดที่สามารถทำให้ระดับของทั้ง vitamin K และ anticoagulants ลงได้
สามารถกระทบกับการควบการจับตัวของเม็ดเลือด (anticoagulant
control) ได้ โดยปฏิกิริยาเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นในทางเดินของกระเพาะ
และลำไส้ (GIT) หรือเกิดในกระแสเลือดได้:
ในระบบกระเพาะลไส้ (GIT)...
ถ้าคนไข้ได้รับ warfarin และ cholestyramine พร้อม ๆ กัน จะพบว่า การดูดซึม
ของ warfarin บกพร่องได้
หรือถ้าให้สาร acidic drugs เช่น Salicylates, chloralhydrates, diazoxide,
sulphonamides, Nalidixic acid หรือ mefenamic acid ร่วมกับยา warfarin
จะปรากฏว่า ยาเหล่านี้จะไปปลดปล่อยยา warfarin ให้หลุดออกมาจากโปรตีน
ให้หลุดเข้าสู่กระแสโลหิต เป็น free warfarin ในปริมาณมากกว่าปกติ
ยาต่อไปนี้จะทำปฏิกิริยากับ warfarin:
o Antibacterials: Chloramphenicol, co-trimoxazole, macrolides, metronidazole,
some quinolones, sulphonamides, some cephalosporins, and tetracyclins
โดยยาเหล่านี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้ระพับ INR เพิ่มสูงขึ้น
o Antifungals: Fluconazole, itraconazole, ketoconazole, and miconazole
โดยยาทุกตัวจะเพิ่มการการาต่อต้านการจับตัวของเม็ดเลือด (anticoagulation)
ในคนที่ได้รับยา warfarin
o Anti-arrhythmics: Amiodarone and propafenone จะเพิ่มผลของยา warfarin
o ยาอื่น ๆ ที่ทำปฏิกิริยากับ warfarin ได้แก่:Selective serotonin re-uptake inhibitors,
tamoxifen, fibrates, HMG-CoA reductase inhibitors, thyroid replacement therapy,
H2 blockers and proton pump inhibitors, sulphinpyrazone, disulfiram, alcohol,
NSAIDs, antiplatelet agents, Co- proxamol, barbiturates, rifampicin, oral contraceptives,
aminoglutethimide, cholestyramine, carbamazepine, phenytoin, Vitamin K
and anti thyroid agents.
เราเห็นว่า ยา warfarin สามารถทำปฏิกิริยาต่างๆ มากมาย และ กลไกของ
การทำปฏิกิริยาระหว่างยามีได้แตกต่างกันได้อย่างมาก ดังนั้น เมื่อมีการใช้ยา warfarin
ร่วมกับยาเหล่านี้จำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
ยาบางตัวอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่กระเพาะอาหาร และในบางราย
อาจมีการทำให้มีการปลดปล่อยจากที่ตำแหน่งยึดเกาะกับโปรตีน
PREVIOUS : P. 4 : Pharmacokinetic Interactions- Absorption interactions.
NEXT SECTION : P. 6: Pharmacokinetic Interactions- Metabolism interactions.
www.pharmainfo.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น