วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

ปฏิกิริยาระหว่างยาในคนเป็นเบาหวาน P. 11: Metformin

Jan 22, 2014

ในการใช้ยา Metformin  ท่านควรกินยาพร้อมอาหารเพื่อลดอาการไส้ท้อง
และการใช้ยาดังกล่าว อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านการดูดซึมของ ไวตามิน B12 
ซึ่งอาจเป็นปัญหาทำให้เกิดภาวะขาดไวตามิน B12   และเป็นโรคเลือดจาง
ในที่สุด

Metformin ทำให้เกิดความบกพร่องในการดูดซึม B12 ได้อย่างไรไม่
เป็นที่ทราบชัด    อย่างไรก็ตาม การใช้ยา (oral or injection) B12  หรือการให้
calcium อาจแก้ปัญหานั้นได้

Metformin เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี (metabolism)
และถูกกำจัดออกจากร่างกายทางไต (tubular secretion & glomerular
Filtration)

Metformin เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะมีโมเลกูลเป็นประจุไฟฟ้าเป็นบวก (cationic)
และสามารถออกฤทธิ์แข่งขัน (competition) กับยาที่มีประจุไฟฟ้าบวก เพื่อ
จะได้ถูกขับออกทางไต โดยผ่านกระบวนการทาง organic cation transporters

ยาต่าง ๆ ที่จะทำหน้าที่แข่งขันกับ Metformin ตามที่กล่าว ได้แก่:
Procainamide, Digoxin, quinidine, trimethoprim, และ vancomycin
ซึ่งต่างมีประจุไฟฟ้าบวกเหมือนกัน

ส่วนยา cimetidine ซึ่งเป็นยาที่สามารถซื้อหาได้เองจากร้านขายยา
เมื่อคนไข้ใช้ตัวนี้ ร่วมกับยา metformin สามารถทำใหเกิดภาวะเลือดเป็น
กรด Lactic acidosis

ข้องบ่งชี้วา  คนไข้เกิดภาวะบกพร่องการทำงานของไต (Renal insufficiency)...
เมื่อเราตรวจพบว่า creatinine ในกระแสเลือดของเขา มีค่าสูงกว่าปกติ
โดยในชายกำหนดค่าไว้ที่ระดับ creatinine ≥ 1.5 mg/dL
และในหญิงค่าของ creatinine ≥ 1.4 mg/ dL
ในกรณีดังกล่าว เขาห้อามใช้ยา Metformin (ยา่จะถูกขับออกทางไต)

ในคนสูงอายุ ซึ่งมีมวลกล้ามเนื้อน้อย ควรทำการตรวจ creatinine clearance
ก่อนที่ใจใช้ยา Metformin ทุกครั้ง และถ้า creatinine clearance rate
มีค่าต่ำกว่า 70 – 80 ml/min ก็ไม่ควรใช้ยา Metformin เช่นกัน

ในระหว่างการฉีดสารทึบแสงเข้าสู่เสนเลือดดำ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการ
เกิดภาวะ “ไตล้มเหลวอย่างเฉียบพลัน” (acute renal failure)
ดังนั้น ในทางปฏิบัตอิจึงไม่ควรให้เริ่มให้ยา Metformin ในวันที่ฉีดสารทึบแสง
และให้รออีกสองสามวันค่อยกินยาต่อ เมื่อการทำงานของไตเป็นปกติเสียก่อน

เกี่ยวกับการเกิดภาวะ Lactic acidosis...
ยาลดน้ำตาล  Metformin จะไม่ค่อยทำให้เกิดภาวะดังกล่าว ถ้าหากใช้ยาตามที่กำหนด

แต่มีรายงานว่า คนที่กินยา metformin  แล้วพบว่าเลือดเป็นกรด  lactic acidosis
มักจะเป็นคนไข้ที่เป็นโรคต่างๆ โดยโรคเหล่านั้นสามารถทำให้เกิด lactic acid
เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว, ขาดออกซิเจน, เกิดการอักเสบติดเชื้อย่างรุนแรง,
และอื่น ๆ

เมื่อมีการใช้ metformin...
ถ้าหากท่านใช้ยาตามคำแนะนำตามฉลากยา หรือตามที่แพทย์สั่ง ความเสี่ยง
ต่อการเกิดภาวะ lactic acidosis แทบจะเป็นศูนย์ หรือใกล้ศูนย์

จากการใช้ยา Metformin...
มีรายงานว่า โดยตัวของยา metformin สามารถทำให้เกิดเลือดเป็นกรด
Lactic acidosis เมื่อคนไข้กินยาเกินขนาดเท่านั้น  หรือมียา metformin ในกระแส
เลือดที่มีความเข็มข้นสูงในคนที่เป็นโรคไตทำงานพรอ่ง (renal insufficiency)

ดังนั้น ถ้าท่านสามารถใช้ยา Metformin ตามที่กำหนด ไม่ใช้ยาเกินกำหนด
โอกาสที่จะเกิดภาวะเลือดเป็นกรด(lactic acidosis) ชนิดที่เป็นอันตรายต่อ
ชีวิต (fatal one) ไม่น่าเกิด  ...สามารถตัดออกไปได้


PREVIOUS : P. 10: Common Inducers, Inhibitors, and Substrates of Select CYP450 Isozymes

NEXT :  P. 12 : Thiozolidinediones


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น