Jan. 25, 2014
Metabolism interactions.
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยาเคมี เป็นเหตุทำให้ยานั้น ๆ
มีพิษมากขึ้น หรือมีพิษน้อยลง, มีประสิทธิภาพ (active) หรือไร้ประสทิธิภาพ (inactive),
หรือถูกขับออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น
อวัยวะหลักที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงยาทั้งหลาย คือ ตับนั้น
เอง (แม้ว่า การเปลี่ยนแปลงนั้น สามาถเกิดในอวัยวะอย่างอื่นได้ก็ตาม
เช่น ไต, ปอด, กระเพาะ และลำไส้, เลือด, และอวัยวะอื่นๆ)
และพบว่า มียาจำนวนมากมายสามารถลด หรือยับยั้ง (decrease) หรือชัก
นำ หรือเพิ่ม (increase) กระบวนการเมตาบอลิสม์ หรือไม่มีผลกระทบต่อ
เอ็นไซม์ที่อยู่ในกลุ่ม CYP450 ได้
ดังนั้น การยับยั้ง หรือการลดเมทตาบอลิสม์ของเอ็นไซม์ที่มีบทบาทเกี่ยว
กับยาตัวใด ย่อมมีผลกระทบต่อความเข็มข้นของยาตัวนั้นให้มีมีค่าเพิ่มขึ้น
ในทางคลินิค...
มีเอ็นไซม์ไม่กี่ตัวที่สามารถกระตุ้น (inducders) หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการ
ทำงานให้เพิ่มขึ้นในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานได้ ที่ควรรู้มีสองตัว คือ CYP2C9 และ
CYP3A4 และยาที่จะถูกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี (metabolize)
โดยเอ็นไซม์ เราเรียกว่า Substrates
ถ้าหากยาที่เราให้แก่คนไข้ มีศักยภาพยับยั้ง (inhibitor) หรือเพิ่มการทำ
งานของเอ็นไซม์ (inducer) ได้ ย่อมมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของยา
ที่ใช้กับคนไข้ได้
ยาแต่ละตัวอาจมีรายละเอียดที่ซับซ้อนได้...
เช่น เป็นตัวถูกกระทำ (substrate), เป็นตัวยับยั้ง (inhibitor), หรือเป็นตัว
ชักนำ (inducer) ของเอ็นไซม์เพียงตัวเดียว หรือหลายตัว
ยกตัวอย่าง quinidine เป็น inhibitor ของเอ็นไซม์ CYP2D6
แต่ใยขณะเดียวกัน จะถูกกระทำ (metabolized) โดยเอ็นไซม์ CYP3A4
มีการรายงานว่า...
ยาที่คนไข้ใช้รักษาโรค ปรากฏว่า มีมากกว่า 50% จะถูกทำให้เกิดการเปลี่ยน
แปลงทางเคมี (metabolized) โดยเอ็นไซม์ CYP3A4 หรือ CYP2D6 และ
ยาต่าง ๆ ที่ใช้รักษาโรคเบาหวานจะตกอยู่ภายใต้เอ็นไซม์ทั้งสอง
คนที่มีความเสียงต่อการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา นอกจากพบได้ในเด็กละอ่อน,
เด็กเล็ก, คนสูงอายุ และคนที่เป็นอวัยวะที่สำคัญ เช่น โรคไต และโรคตับ
โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยาทางเคมีช้ากว่าผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี
การสูบบุหรี่สามารถกระตุ้นเอ็นไซม์ (induce) และการดื่มแอลกอฮอล์ อาจกระ
ตุ้น (induce) หรือยับยั้ง (inhibit) การเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมีได้
นอกจากนั้น เขายังพบว่า ความผิดปกติทางพันธุกรรมยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับ
การเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยาเคมีของยา (substrates) ได้ด้วย
ยกตัวอย่าง คนชาวเอเชีย 0 – 1 % และชาว caucasians 5% ถึง 10%
จะมีเอ็นไซม์ CYP2D6 ที่มีศักยะภาพต่ำ (little activity) จึงเป็นเหตุให้
เอ็นไซม์ CYP2D6 ทำการเปลียนแปลงยาทางเคมีได้ไม่ดี
และผลที่ตามมา จึงเป็นเหตุให้ยา (substrate) ต้องขึ้นกับเอ็นไซม์ตัว
อื่นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยาต่อไป
Previous Section: P. 5: Pharmacokinetic Interactions- Distribution interactions
Next Section: P. 7: Pharmacokinetic Interactions- Elimination interactions.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น