วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

สำหรับท่านที่เป็นโรคพาร์กินสัน P. 2 :: LEVODOPA

Dec. 30, 2013

ยา หรืออาวุธประจำกายของแพทย์...ผู้รักษาโรคพารกินสัน
 มีให้เลือกใช้ด้วยกัน 6 กลุ่ม  ซึ่งมีจำนวนมากพอๆ กับอาวะคู่มือของคน
เล่นกอล์ฟทั้งหลายให้เลือกใช้ตามสถานการณ์...

ในจำนวนยาทั้งหลาย  ต่างมีคุณสมบัติที่ผู้ใช้ควรเรียนรู้ เพื่อใช้ให้ถูกต้อง
ต่างมีคุณสมบัติในการออกฤทธิ็แตกต่างกันไป
ที่พวกเราในฐานะคนทั่วไปควรรู้มีดังต่อไปนี้ :

 Levodopa
 dopamine agonist (DAs)
 inhibitors of enzymes that inactivate dopamine (ซึ่งได้แก่
 MOA B inhibitors และ COMT Inhibitors)
 Anticholinergics
 Amantadine

LEVODOPA:
Levodopa จัดเป็นยาที่ใช้รักษาอาการของโรคพาร์กินสัน ที่มีประสิทธิภาพ
มากที่สุด โดยมีประสิทธิภาพในการรักษาการเคลื่อนไหวผิดปกติของส่วน
ต่างๆ ของร่างกาย (akinesia) รวมถึงอาการแข็งเกร็งของกล้ามเนือได้ดีที่
สุด

อาการสั่นของร่างกาย (tremor) รวมถึงการยืน (standing)และการ
ประสานกันในการทำงาน จะไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา levodopa
เท่าที่ควร

ยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม levodopa ถูกผลิตขึ้นหลายรูปด้วยกัน และใน
แต่ละสูตร จะมีส่วนประกอบของยาตัวอื่น (carbidopa) ที่มีความเข็ม
ข้นที่แตกต่างกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสาร levodopa และเพื่อ
ลดผลข้างเคียงอันจะเกิดจากยา levodopa สำหรับสาร carbidopa
เพียงตัวเดียวจะไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด

 ในสหรัฐฯ...ยา carbidopa-levodopa มีชื่อเรียก Sinemer®
หรือ Parcopa® ยา Sinemet® เป้นยาเม็ดสำหรับกลืน ส่วน
Parcopa® เป็นยาอมใต้ลิ้น

ยา Sinemet® ถูกผลิตออกมาในสามสูตรดัวยกัน: 10/100,
25/100 และ 25/250 (เลขตัวเศษ เป็นจำนวนมิลลิกรัมของ
สาร carbidopa ส่วนตัวส่วนเป็นของ levodopa)

นอกจากนั้น ยังมีสูตรยาชนิดที่ออกฤทธืนาน (slow release)
จำนวนสองขนาน: Controlled release carbidompa-levodopa
(CR Sinemet®) 25/100 และ 50/200

 ใน Canada และ Europe จะมีสูตรยาที่แตกต่างออกไป โดย
 มีส่วนผสมเป็น levodopa กับ benserazide (Madopar®
หรือ Prolopa®)

ขนาดยาที่ใช้ต่อครั้ง (Dosing)
โดยทั่วไป การรักษาโรคพาร์กินสัน เราจะเริ่มต้นด้วยการให้ยาเม็ดออก
ฤทธิ์เร็ว รับทานวันละ 2 – 3 ครั้งพร้อมอาหาร หรือของว่าง เพื่อลดผล
ข้างเคียง (คลื่นไส้) ซึ่งมีการเพิ่มขนาดยาในภายหลัง โดยคำนึงถึง
ความสามารถของคนไข้ที่จะทนต่อการใช้ยาได้ และใช้ขนาดของยาให้
ต่ำสุด เพื่อควบคุมอาการต่างๆ ของคนไข้

ในยบางราย...อาจมีการเปลี่ยนยาที่ออกฤทธิ์ช้า (slow-released pill)
ซึ่งนอกจากจะลดขนาดของยาลงแล้ว ยังอำนวยความสดวกด้วยการ
รับทานยาเพียงวันละครั้งเท่านั้น

ผลข้างเคียง (Side effects)
ผลข้างเคียงจากการใช้ levodopa ทีพบได้บ่อย คือ คลื่นไส้, ง่วงนอน,
วิงเวียน, และปวดศีรษะ...นั้นเป็นขขนาดเบา
ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ อากาสับสัน (confusion,ประสาทหลอน
Jallucination), อาการหลงผิด (delusion), กระสับกระส่าย (agitation),
และความผิดปกติของจิต (psychosis)

อาการต่างๆ ที่กล่าวมากมักจะเกิดขึ้นกับคนสูงอายุเสียเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยง หรือลดอาการข้างเคียงดังกล่าวได้
โดยเริ่มด้วยยี่มีขนาดต่ำ ๆ และค่อยๆ เพิ่มขนาดยาอย่างช้า ๆ

Motor complications
ในการรักษาคนเป็นโรคพาร์กินสัน...
มีเป็นจำนวนไม่น้อยที่ได้รับการรักษาด้วยยา levodompa เป็นเวลา
นาน 5 – 10 ปีผ่านไป มักจะปรากฏมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้น โดยฃ
คนไข้ตอบต่อยาได้ไม่สม่ำเสมอ (fluctuation) มีการเคลื่อนไหวผิด
ปกติ (dyskinesias) มีการกระตุกของกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว (rapid
Jerking) หรือกล้ามเนื้อเหยียดเกร็งอย่างช้าๆ

การเกิด Motor fluctuation และ dyskinesias จากการใช้ยา levodopa
ในระยะยาวนั้น สามารรถพบได้ประมาณครึ่งหนึ่ง

ในการใช้ยา levodopa เพื่อรักษาโรคพาร์กินสันนั้น...
ได้ก่อให้เกิดความกังวลใจในประเด็นที่ว่า ยา levodopa มีฤทธิ์ไปเพิ่ม
การทำลายเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้าง dopamine ในสมอง...แต่ไม่มีหลัก
ฐานเพียงพอที่จะให้เลิกการใช้ยาตัวดังกล่าว เพราะยังใช้ได้ผลดีในคน
ส่วนใหญ่ ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ยังคนใช้สาร levodopa
เมื่ออพบว่า อาการของโรคกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้

ในปัจจุบัน ยังคงมีการดำเนินการทดลองการใช้ยา levodopa
เพือตรวจสอบประโยชน์ที่พึงได้ กับอันตรายที่ได้จากการใช้ยา
ดังกล่าว


   <<  PREV        NEXT >>>  : สำหรับท่านที่เป็นโรคพารกินสัน P. 3 : MAO B INHIBITOR

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น