วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Lung cancer: Treatments and drugs (6)

ความจริงอย่างหนึ่งที่แพทย์ได้รับจากการรักษาคนไข้ 
นั่นคือ “ความสุขใจ”  ที่เห็นคนไข้ได้รับผลดีจากการรักษา   ที่ตนให้แก่คนไข้
หากผลไม่เป็นตามคาดหมาย  ย่อมรู้สึกผิดหวัง 
พอไม่สมหวังบ่อยเข้า  ทำให้แพทย์เกิดความรู้สึก  ไม่สนุกกับงานที่ตนให้บริการ

ในการรักษามะเร็งปอด  เขามีหลักการอย่างไร ?
ในการรักษามะเร็ง  แพทย์มีแนวทางการรักษาโรค  โดยอาศัยปัจจัยหลายอย่าง 
เช่น  สุขภาพโดยรวมของคนไข้ (overall health)  ชนิด(type)  ระยะของโรค (type and stage)
และ ความพอใจของคนไข้เอง (preference) โดยมีทางเลือกหลายทาง 
เช่น  รับการรักษาเพียงวิธีเดียว  หรือหลายวิธีรวมกัน  เช่น ศัลยกรรม (surgery)
 เคมีบำบัด (chemotherapy)  การฉายแสง (radiation therapy)  หรือการรักษาโดยเล็งไปที่เป้าหมาย (targeted
drug therapy)

ระยะของโรคมะเร็ง กับ แนวรักษา
ระยะ (stage) I   ทางเลือก คือการผ่าตัด  หรือร่วมกับ เคมีบำบัด
ระยะ (stage) II  รักษาด้วยศับยกรรม + เคมีบำบัด + ฉายแสง
ระยะ (stage) III  A  รักษาด้วยเคมีบำบัด ร่วมกับ การฉายแสง  บางครั้งอาจเพิ่มการผ่าตัด  ...
                       IIIB  เคมีบำบัดอย่างเดียว   หรือร่วมกับฉายแสง
 ระยะ (stage) IV  รักษาด้วยเคมีบำบัด  ใช้ยามุ่งไปที่เป้าหมาย (targeted drugs)  และบรรเทาอาหาร

o   เคมีบำบัด (chemotherapy) เราจะให้ยาแก่คนไข้  เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ด้วยการทำให้เซลล์เจริญหรือแบ่งตัว  ซึ่งอาจให้ตัวเดียว  หรือให้หลายตัว  อาจให้ทางเส้นเลือด หรือให้เป็นเม็ดรับประทาน  
และการรักษาแบบนี้  จะให้เป็นชุด ๆ ละหลายสัปดาห์ หรือ หลายเดือน   มีการหยุดพักระหว่างชุด เพื่อให้คนไข้ฟื้นตัว
การรักษาด้วยเคมีบำบัด  เป็นทางเลือกอันดับแรกของการรักษา  หรืออาจให้ภายหลังการผ่าตัด  
บางราย  การรักษาด้วยวิธีดังกล่าว  อาจนำมาใช้เพื่อลดอาหารที่เกิดจากมะเร็งก็ได้

o   การฉายแสง (Radiation therapy)  การรักษาด้วยการ “ฉายแสง”  อาจเป็นการรักษาเพียงอย่างเดียว   หรือให้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ  บางครั้งเราให้พร้อมกับเคมีบำบัด (chemotherapy)

o   การรักษาด้วยการเล็งไปที่เป้าหมาย (targeted drug  therapy)  เป็นการรักษาด้วยการกำหนดเป้าหมาย   เป็นวิธีใหม่รักษาแบบใหม่เอี่ยม  ซึ่งแพทย์นำมาใช้ในการรักษามะเร็ง 
โดยมีการกำหนดเป้าหมายไปที่ความผิดปกติของเซลล์มะเร็ง 
 ที่เราควรรู้เอาไว้  ได้แก่

Bevacizumab (Avastin)  ยาตัวนี้นำมาใช้รักษารายที่ไม่ตอบสนองต่อเคมีบำบัด   สามารถยับยั้งมะเร็ง  โดย  ไม่ให้มะเร็งสร้างเส้นเลือด (antiangiogenic drug) ลำเลียงเสบียงอาหารไปยังตัวเซลล์มะเร็งได้
เหมือนการตัดเสบียงกองกำลังฝ่ายศัตรู...เมื่อศัตรูไม่มีเสบียงอาหาร  มันก็ตายไปเท่านั้นเอง
ยาตัวนี้  ถูกนำมาใช้ร่วมกับ “เคมีบำบัด” รักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็งชนิด  non-small cell lung cancer
ผลเสียของยาตัวนี้  คือ  ทำ ให้ความดันสูงขึ้น  มีเลือดจับตัวเป็นก้อน (blood clots) มีเลือดออก....ต้องระวัง 
o Erlotinib (Tarceva)  ยาตัวนี้สามารถระงับไม่ให้เซลล์มะเร็งส่งสัญญาณ (signals) ทำการแบ่งตัว  และเจริญเติบโต ( บล็อกที่ Epidermal growth factor receptor ) โตยยาตัวนี้ถูกนำมาใช้รักษาคนไข้เป็นมะเร็งชนิด non-small cell lung cancer ที่พัฒนาไปมากแล้ว  หรือให้ในรายที่มะเร็งพื้นตัวขึ้นมาใหม่  ผลเสียของการใช้ยาตัวนี้  ก็มีเหมือนกัน  เช่น เกิดผื่นตามผิวหนัง  และท้องล่วง
o   Radiofrequency ablation:  เป็นทางเลือก อีกวิธีหนึ่ง  ที่กำลังศึกษาเพื่อนำมาใช้รักษาโรคมะเร็ง  โดยเฉพาะรายที่เริ่มเป็น  ด้วยวิธีการง่ายๆ  ด้วยการแทงเข็มผ่านผิวหนังไปยังก้อนเนื้องอก  ซึ่งจำเป็นต้องพึงพา CT scans เป็นตัวนำ  จากนั้นก็ปล่อยคลื่นกระแสวิทยุผ่านปลายเข็ม ซึ่งจะมีความร้อนสู่ก้อนมะเร็ง  เป็นการใช้ความร้อนทำลายเซลล์มะเร็ง  พร้อมๆ กับปิดเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงมะเร็งด้วย  ซึ่งทำลายมะเร็งลงได้
o            Supportive care:  ในรายที่มะเร็งได้เป็นมากแล้ว  ไม่มีทางรักษาได้  การรักษาจะมุ่งเป้าหมายไปที่               การประคบประหงมคนไข้ให้สามารถอยู่ได้ไม่ทุกข์ทรมาน  ด้วยการรักษาตามอาการ

                ในการรักษาโรคมะเร็งนั้น  หากพูดถึงเรื่องการรักษาด้วยวิธีศัลยกรรม  เคมีบำบัด และการฉายแสง 
                ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา  แต่สำหรับการรักษาด้วยการกำหนดเป้าหมายให้ยาไปทำงานที่ตัวมะ   เร็งนี่ซิ...ถือเป็นมิติใหม่ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคมะเร็งเลยทีเดียว          

>>cont.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น