การวินิจฉัยโรค neuralgia นับเป็นเรื่องยากมาก
และอาจทำให้การวินิจฉัยโรคผิดได้สูงเช่นกัน
การวินิจฉัยโรคดังกล่าว จะเกี่ยวข้องกับการตรวจหาตำแหน่ง ของเส้นประสาทที่ถูกทำลาย (damage) ไป
ด้วยวิธีการกระตุ้นส่วนของประสาทที่ได้รับบาดเจ็บ หรือหาร่องรอยของความรู้สึก
ที่สูญหายไป (missing sensory function) ไป
วิธีการตรวจที่นำมาใช้ในการวินิจฉัยได้แก่ nerve conduction test
เช่นการทำ microneurography
........
Treatment:
ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคปวดประสาทจะเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อคนไขไปพบแพทย์
หรือผู้บริการด้านสุขภาพแล้ว
แพทย์จะทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดการรักษา โดยคำนึงถึงสาเหตุ ระยะเวลา และความรุนแรงของโรค
โดยมีเป้าหมายของการรักษา มุ่งตรงไปที่บริหารจัดการกับอาการปวด รวมไปถึงการรักษาโรคที่
อยู่เบื้องหลังที่ทำให้เกิด (ถ้ามี) หรือโรคที่มีส่วนร่วมกับการทำให้เกิดอาการปวดประสาท?
การรักษาประกอบด้วย การรักษาด้วยยา (medications) รักษาทางศับยกรรม (surgery)
และการฉีดยาชาเฉพาะที่ และการรักษาทางเลือก
การรักษาที่คนไข้ได้รับ ขึ้นกับสาเหตุ และ (หากรู้) ระยะเวลา และความรุนแรงของอาการ
ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็น ซึ่งแพทย์นำไปพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
เป้าหมายของการรักษาโรค อยู่ที่การลดความปวด และรักษาโรคที่อยู่เบื่องหลัง (ถ้ามี)
หรือโรคที่เกิดร่วมกับการเกิดอาการ ถ้าเป็นไปได้
การรักษาประกอบด้วย medications surgery local injection และ การรักษาทางเลือก
เช่น acupuncture, biofeedback, massage
Medications:
ยาที่แพทย์นำมาใช้ในการรักษาอาการปวดประสาท ประกอบด้วย
o Narcotid nalgesics เช่น codeine, fentanyl และ oxycontin
o Antiseizer medications เช่น gabapentin phenytoin cabarmazepine pregablin
o Antidepressant โดยเฉพาะ tricyclic antidepressant เช่น emitriptylline
o Antiviral Medication ( เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัส Herpes zoster เกิดซ้ำขึ้นมาอีก)
o Topical creams containing capsaicin
o ยาที่คนไข้สามารถหาซื้อเองได้(Over-the-counter analgesics) เช่น aspirin acetaminophen หรือ ibuprofen
การรักษาอย่างอื่นที่อาจช่วยให้อาการปวดดีขึ้น เช่น
o Control blood sugar (เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคของเส้นประสาท Neuropathy ในรายที่เป็นโรคเบาหวาน)
o ฉีดยาชาเฉพาะที่ตรงบริเวณที่เส้นประสาทที่เป็นต้นเหตุ เพื่อลดความเจ็บปวด(Local injection of anesthetics)
o Nerve Block
o กายภาพบำบัด (Physical therapy)
o ทำลายเส้นประสาทที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ด้วยคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงใช้(Radiofrequency) ความร้อน (heat) หรือฉีดทำลายด้วยสารเคมี เป็นต้น
o ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอก หรือเส้นเลือดที่กดทับเส้นประสาท Complementary treatment
บางคนมีความประสงค์เลือกการรักษาทางเลือก ร่วมกับการรักษาอย่างอื่น เช่น
o การฝังเข็ม
o การนวด
o โยคะ หรือการปฏิบัติธรรม ดูกายและใจ
นั่นคือการรักษาคนไข้ที่มาด้วยอาการปวดประสาทอย่างย่อ ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น