ความเจ็บปวด เป็นประสบการณ์ของทุกคน
บางท่านมีความเจ็บปวดน้อย บางท่านเป็นมาก แล้วแต่สถานการณ์ของแต่ละคน
เมื่อเกิดมีความเจ็บปวดขึ้น มันจะกระทบต่อกาย และจิตใจ การงานถดถอย รวมไปถึงการขาดงาน
หรือ งานไม่ขาดแต่ผลงานไม่มี รวมไปถึงคุณภาพชีวิตที่เลวลง
มีเงือนไขทางการแพทย์หลายอย่าง ที่เป็นเหตุให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น เช่น มะเร็ง โรคไขข้ออักเสบ
ปัญหาเรื่องกระดูกสันหลังส่วนล่าง (low back pain) โรเบาหวาน ปวดศีรษะ ไวรัส (งูสวัด)
และอื่น ๆ อีกมากมาย
นอกจากนี้ อาการเจ็บปวด ยังสามารถทำให้คนไข้มีอาการร่วมอย่างอื่นเกิดขึ้น
เช่น ความเครียด ความกังวล ความหดหู่
และคนไข้ที่ได้รับความเจ็บปวด มักจะไม่สนใจในสุขภาพของตัวเองเหมือนคนอื่นเขา
แพทย์ และเภสัชกรมีโอกาสได้ใกล้ชิดคนไข้ทีมีความเจ็บปวดเรื้อรัง ดังกล่าว
ดังนั้น พวกเขาจึงอยู่ในตำแหน่งที่สามารถวางแผนการรักษาคนไข้แต่ละรายได้ดีที่สุด
ประเภทของความเจ็บปวด
(categorizing pain)
ความเจ็บปวด สามารถแบ่งเป็นประเภทได้หลายรูปแบบ เช่น
ความเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน VS ความเจ็บปวดแบบเรื้อรัง
หรือ malignant vs non-malignant pain
หรือจะพิจารณาในแง่ของการอาการเจ็บปวดเช่น adaptive pain เป็นความเจ็บปวด
ที่เกิดเพื่อป้องกันร่างกายจากอันตราย และไม่ให้เป็นอีก
หรือเป็นพวก Mal-adaptive pain ซึ่งมีอาการปวด เสมือนกับเป็นโรคชนิดหนึ่ง
Adaptive pain: ประกอบด้วย nocieptive pain และ inflammatory pain
ซึ่งเกิดขึ้นที่ปุ่มประสาท (receptors) ที่รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
อย่างไรก็ตาม ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นแก่คนเรา ยังมีประโยชน์ต่อคนเราอยู่บ้าง
ในประเด็นที่ ทำหน้าที่เป็นระบบเตือนภัยให้ทราบถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเรา
>> Nociceptive process
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น