วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Neuropathic pain (2): Nociceptive process

Norciceptive process

กระบวนการณ์ทางเคมีของความเจ็บปวด nociceptive pain มี 4 ขั้นตอนด้วยกัน

• Transduction: เป็นกระบวนการณ์ที่เกิดขึ้นจาก ตัวเร้าที่เป็นอันตราย (noxious stimulus)
ถูกเปลี่ยนแปลงไป ให้กลายเป็นคลื่นประแสไฟฟ้าในประสาทนำเข้า (afferent primary peripheral neurons)
• Transmission: เป็นกระบวนการณ์การเดินทางของคลื่นประสาทจากตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บ (transduction) สู่มอง
• Perception: เป็นการแปลผลของคลื่นประสาท โดยสมอง ...

• Modulation: หมายถึงกระบวนการณ์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง หรือการยับยั้งความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น

ความเจ็บปวดจากการอักเสบ (inflammatory pain) จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของคนเรา
ต้องการเปลี่ยนแปลงให้กลับสู่สภาพเป็นปกติเหมือนเดิม หายจากอาการบาดเจ็บ
ยกตัวอย่าง ตรงบริเวณได้รับบาดเจ็บแล้ว จะอยู่ในลักษณะที่ไวเพิ่มต่อบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นอีก
ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้คนไข้มีความระมัดระวัง และปกป้องบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ

ยกตัวอย่าง คนที่ได้รับกระดูกแขนหัก เขาจะปกป้องแขนที่กระดูกแตกหัก ไม่ให้ได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอีก
โดยจะมีความไวต่อสิ่งเร้าทุกชนิด แม้กระทั้งการสัมผัส หรือกดเบา ๆ เขาจะสดุ้ง หรือร้อง หรือถอยหนี
นั่นคือกลไกการปกป้องตนเองที่เห็นได้ชัดเจน

Maladaptive pain: (mal- ไม่ปกติ adaptive- ปรับตัว หรือเปลี่ยนแปลงได)

Neuropathic pain เป็นตัวอย่างที่ดีของ Maladaptive pain
The international Association for the study of Pain (IASP)
ได้ให้คำจำกัดความของ neuropathic pain ว่า
เป็นความเจ็บปวดที่เริ่มขึ้น หรือ มีสาเหตุมาจากบาดเจ็บเป็นเบื้องต้น หรือเป็นเพราะระบบประสาท
ทำงานผิดปกติไป บาดแผลดังกล่าว อาจปรากฏที่ระบบประสาทส่วนปลาย หรือประสาทส่วนกลาง
และส่วนใหญ่จะมีรอยโรคปรากฏทั้งสองระบบ (PNS & CNS)

คนไข้หลายรายที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับความเจ็บปวด “เรื้อรัง” อาจมีเพียงบางส่วน (partially)
หรือทั้งหมด จะเป็นอาการเจ็บปวดแบบ meuropathic แทบทั้งนั้น
ยกตัวอย่าง ได้แก่ phantom pain, spinal cord injury, painful diabetic neuripathy, potherpetic neuralgia,
Sciatica, trigeminal neuralgia และผลจากยารักษา drug-induced neuropathy.

นาย Backonja ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับ Neuropathic pain เอาไว้ ดังนี้:

o เป็นความเจ็บปวด และความรู้สึก ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ภายหลังจากแผลได้หายไปแล้ว

o เป็นความรู้สึกที่ผิดปกติ ที่ตรวจพบจากการตรวจร่างกาย ซึ่งมีอาการเจ็บปวด เมื่อมีการกระตุ้น จากสิ่งเร้า ที่ไม่น่าจะทำให้เกิดความเจ็บปวด เช่น การสัมผัสอย่างแผ่วเบา จากการใส่เสื้อผ้า
หรือ จากการพลิกตัวไปมาบนที่นอน และอื่น ๆ
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าเหล่านี้ แล้วก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น เรียก allodynia

o มีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นเอง เป็นไปตามธรรมชาติ โดยไม่มีความตั้งใจให้เกิด ไม่สามารถพบได้
แต่เป็นการบอกเล่าจากตัวคนไข้เอง ว่า มีอาการปวดแสบปวดร้อน
เหมือนไฟฟ้าช็อต หรือถูกไฟฟ้าดูด

o จะพบเห็นในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน ที่เป็นโรค diabetic neuropathy เขาจะเล่าให้ฟังว่า
เขาจะมีความรู้สึกเจ็บปวดที่ฝ่าเท้า เหมือนกับเดินเหยียบเศษแก้วแตก

>> continue

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น