วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Neuropathic pain: Pathophysiology (3)

Pathophysiology

ปัญหาเกิดขึ้นว่า อะไร ที่ทำให้คนไข้เกิดมีอาการดังที่กล่าวมา?
เช่น มีอาการปวดเรื้อรัง ปวดแสบปวดร้อน โดยสิ่งเร้านั้นน้อยมาก
เช่นเกิดในขณะสรวมใส่เสื้อผ่า หรือนอนพลิกตัวไปมา
มันเกิดได้อย่างไร ?

การเกิดอาการดังกล่าว ปรากฏว่า มีการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทส่วนปลาย
หลายประการ เช่น

o Ectopic and Ephaptic conduction:
ภายหลังจากเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บขึ้น
เยื้อหุ้มประสาท (axon) ซึ่งทำหน้าที่เป็นฉนวน ถูกทำลายไปด้วย ทำให้เกิดภาวะทีเราพบเห็นในไฟฟ้าลัดวงจร
ภายในประสาทก็เช่นเดียวกัน
นอกจากนั้น ยังปรากฏว่า จะมีปุ่มเกิดขึ้นบนประสาทเหล่านั้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของ sodium channel มีเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมาย
และปุ่มดังกล่าว จะทำให้เกิดมีคลื่นกระแสประสาทขึ้นตามกระบวนการของ depolarization &repolarization

จากกรณีดังกล่าว จะมีมีคลื่นกระแสไฟฟ้าถูกผลิตขึ้นจากปุ่มดังกล่าว ซึ่ง ถูกปล่อยออกมาเป็นระยะ ๆ
และจะก่อให้เกิดมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรระหว่างเส้นประสาทขึ้น...
นั่นคือ ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดแบบ neuroipathic pain ขึ้น

o Alteration in ions channel. เป็นที่รับรู้กันแล้วว่า sodium channel
บนเยื้อหุ้มเซลล์ประสาท จะมีบาทบาทสำคัญต่อการเกิดคลื่นประสาท (โดยปรากฎการณ์ Depolarization
และ repolarization) เมื่อมีบาดเจ็บเกิดขึ้นบนใยประสาท ปรากฏว่า sodium channel ดังกล่าว
จะเกิดขึ้นอย่างมากมายตลอดความยาวของเส้นประสาทที่ไดรับบาดเจ็บ
ดังนั้น การเกิดคลื่นประสาทจากปุ่มมี่เกิดขึ้นใหม่ (ectopic placemaker)
จึงเป็นต้นตอของความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นใน neuropathic pain

สาเหตุอย่างอื่นนอกเหนือจากปุ่ม (sprout) ของ sodium channel แล้ว ยังปรากฏว่า เส้นประสาทที่ถูกทำลาย มีปุ่มประสาทงอกขึ้นมา (neuroma)
ซึ่งพบได้ทั้งของ primary afferent neuroma และ sympathetic neuroma
ซึ่งทั้งปุ่มประสาท ที่เกิดขึ้นนั้น ไวต่อกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งนั้น
เมื่อรวมกับสารเคมีที่ถูกปล่อยออกจากประสาทที่ถูกทำลาย...จะเป็นเหตุให้ปลายประสาท
มีความไวต่อการกระตุ้นได้อย่างมากมาย (sensitization)

นั่นแหละ คือกลไกที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดแบบ Neuropathic pain ล

>> cont.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น