วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Prostatic Cancer: Treatment (5)


อาวุธของคนเล่นกอล์ฟ  มีไว้เพื่อจัดการกับลูกกอล์ฟ ให้ลงหลุม...มี 14 ชิ้น
ส่วนอาวุธของแพทย์ที่มีไว้เพื่อการรักษาโรคงมะเร็ง ก็มีสามวิธีใหญ่ ๆ
เป็นสามวิธีหลัก  ที่เราใช้ในการรักษาคนไข้จนกระทั้งปัจจุบัน 
นั่นคือ  การผ่าตัด (sugery)  การรักษาด้วยรังสี (radiation) และ เคมีบำบัด (chemotherapy)
สำหรับการรักษาอย่างอื่น ๆ   อาจจำเป็นต้องนำมาใช้ในบางราย   เช่น
 
การรักษาด้วยฮอร์โมน 
การบำบัดทางชีวะ (Biological therapy) 
และการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell transplant)

ในการรักษามะเร็งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญทาวเนื้องอกโดยเฉพาะ (oncologists) 
ซึ่งบางท่านชำนาญในทางศัลยกรรม  บางท่านชำนาญทางเอกซเรย์  และบางท่านชำนาญทางยา
ท่านเหล่านี้  มีหน้าที่วางแผนการณ์  ตัดสินใจในการรักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็ง
การรักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็ง  เป็นการรักษาคนไข้เป็นราย ๆ ไป โดยอยู่บนพื้นฐานของคนไข้รายนั้น ๆ เองว่า 
มะเร็งที่เกิดขึ้นกับเขานั้น  เป็น

§  มะเร็งชนิดใด (type of cacer)
§  รูปลักษณ์ของมะเร็ง (cancer’s  characteristics)
§  ระยะของมะเร็งมันพัฒนาไปถึงใหนแล้ว (stage f cancer)      และ
§  สถานการณ์ของตัวคนไข้เอง  รวมถึงความต้องการของเขาด้วย (personal situation and wish)

ขอให้ทราบไว้เถิดว่า  บางครั้งคนไข้ที่เป็นมะเร็งเหมือนกัน  อาจได้รับการรักษาที่แตกต่างกัน
เป้าหมายของการรักษา
(Treatment goals)
แพทย์ผู้ให้การรักษามะเร็ง  เขาอาจมีเหตุผลมากมาย  ซึ่งจะทำให้เราที่ไม่รู้เรื่องงุนงงกับการตัดสินใจของเขา 
ซึ่งบางครั้ง  เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า  เป้าหมายของการรักษาของเขาจะเปลี่ยนไป...
ไม่มีคำว่าตายตัว 
นั่นแหละคือ ความมีชีวิตชีวาของการรักษาละ...
เป้าหมาของการรักษาได้แก่:

§  การป้องกัน (prevention)   การรักษาที่ให้ไปนั้น  เป็นไปเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งมีการเจริญขึ้น 
หรือกำจัดเนื้อเยื้อที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็ง (precancerous…)  ออกทิ้งไป
§  รักษาให้หายขาด (cure)-  เป็นการรักษาหลัก  หวังให้ผลการรักษานั้น  ทำใหดรคหายขาด
§  ควบคุม (control)- การรักษาที่ให้ไปนั้น  เป็นการหยุดยั้งเซลล์มะเร็งจาก  การเจริญขึ้น 
และไม่ให้มีการแพร่กระจาย  นอกนั้น  ยังลดอัตราเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของแซลล์มะเร็งอีกด้วย (recurring)
§  บรรเทาอาการของคนไข้ (palliation)- เมื่อเราไม่สามารถรักษาโรดหายขาดได้ 
การรักษาที่เราจะให้ได้ คือ
-ทำให้มะเร็งหดเล็กลงได้ชั่วขณะ
-ลดอาการต่าง ๆ ลง เช่น เลือดออก  เจ็บปวด  และอาการที่เกิดจากการกดทับ
-แก้ปัญหาที่เกิดจากมะเร็ง  หรือที่เกิดจากการรักษา  สุดท้าย
-ช่วยทำให้คนไข้อยู่กับโรคอย่างมีความสุข (อยู่ได้อย่างสบาย  ไม่ทรมาน)
พร้อมกับทำให้คุณภาพชีวิตของเขาดีขึ้น

แผนการรักษา
(Treament plans)

อย่างที่กล่าว  การรักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็งนั้น  จำเป็นต้องขึ้นกับตัวคนไข้เป็นหลัก
มีบ่อยครั้ง  ที่พบว่า ในการรักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็งนั้น  เราใช้เพียงวิธีเดียวเท่านั้นก็เพียงพอ 
และการรักษาวีดังกล่าวเรียกว่า “การรักษาแบบปฐมภูมิ” หรือ primary treatment
ส่วนรายอื่น ๆ   การรักษาเพียงอย่างเดียว  ไม่เพียงพอเสียแล้ว 
เราต้องให้การอย่างอื่นๆ  เพิ่มเข้าไป  จึงจะทำให้ผลของการรักษาดีขึ้น 
และสามารถควบคุมมะเร็งได้

§  Neoadjuvant-  การรักษาชนิดนี้  ได้แก่  “เคมีบำบัก”  และ “การฉายแสงรัสี” 
เราจะให้ก่อนที่การรักษาหลัก (primary treatment) จะเริ่มขึ้น  เป็นการทำให้ก้อนมะเร็งหดเล็กลง 
ทำให้ง่ายต่อการผ่าตัด  ซึ่งจะกระทำขึ้นในภายหลังจากการทีได้รับการรักษาด้วยวีดังกล่าวแล้ว
§  Adjuvant-  เป็นการรักษที่เราให้ภายหลังจากการรักษาหลักได้กระทำไปแล้ว 
โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการรักษนั้นประสบผลดี  เป็นการทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลือ
หรือป้องกันไม่ให้มะเร็งเกิดซ้ำขึ้นมาได้

เมื่อเราพูดถึงการรักษาแล้ว  เราอาจแบ่งการรักษาอย่างกว่างได้ ดังนี้:

Local therapy:
Local therapy  เป็นการรักษาที่มุ่งไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นการเฉพาะ 
และมักจะใช้ในกรณีที่มะเร็งมีจำกัดตัวของเองอยู่ในบริเวณนั้น  ไม่ได้แพร่กระจายไปที่อื่น
การรักษาชนิดนี้ได้แก่  “การผ่าตัด”  และ  “การฉายแสงรังสีเพื่อการรักษา”
ทั้งสองวิธีที่กล่าวมา  ต่างเป็นการรักษาเฉพาะที่ด้วยกันทั้งนั้น

Systemic Therapy:
เป็นการรักษาเกี่ยวกบร่างกายทั้งร่าง  โดยยาที่ให้เพื่อการรักษานั้น 
จะเดินทางไปตามกระแสเลือดบรรลุถึงเซลล์มะเร็งได้  โดยที่มะเร็งนั้นจะอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
ยาที่ใช้ในเคมีบำบัด (chemotherapy) จำนวนมากที่แพทย์ใช้  ต่างเป็น systemic therapy  ทั้งนั้น 
ซึ่งยาจะถูกดูดซับโดยเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
การรักษาแบบนี้  ส่วนใหญ่เราใช้ในกรณีที่มะเร็งได้กระจายไปทั่วตัว (several parts of the body) 
และใช้เพื่อลดโอกาสไม่ให้มะเร็งย้อนกลับมาอีก
Targeted therapy:
เป็นการรักษาที่น่าสนใจอีกวีหนึ่ง  เป็นการักษาที่มุ่งเป้าไปที่ตัวเซลล์มะเร็งโดยตรง 
โดยไม่ไปกระทบกระเทือนต่อเซลล์ปกติแต่ประการใด
การรักษาแบบมุ่งเป้า  มีการใช้สารทางชีวิเคมี (biological agent)  ซึ่งสามารถจัดการกับเซลล์มะเร็ง

ผลอันไม่พึงประสงค์จากการรักษา
(Side effects of treatment)
หลายท่านอาจไม่ทราบว่า การรักษาทุกชนิดที่เราให้แก่คนไข้ 
ต่างมีผลอันไม่พึงประสงค์ได้ทั้งนั้นในการรักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็งก็เป็นเช่นเดียวกัน 
ผลข้างเคียงสามารถเกิดขึ้นกับการรักษาทุกชนิด  ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบใด  ชนิดใด 
การแพ้ของแต่ละคน  ไม่เหมือนกัน  บางคนเกิดอาการแพ้ในระหว่างให้การรักษา 
อีกคนจะเกิดอาการแพ้หลังการรักษา
อาการแพ้อาจหายไปอย่างรวดเร็ว   หรือคงสภาพของอาการแพ้ยาเป็นเวลานานได้
อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากการรักษาโรคมะเร็งได้พัฒนาไปเรื่อยๆ  มีวิธีการหลายอย่างที่เรามี 
 และนำมาใช้จัดการกับอาการแพ้ หรือผลอันไม่พึงปราถนาได้ดี  ตลอดรวมไปถึงการทำให้
คุณภาพชีวิตของคนไข้ที่เป็นมะเร็งดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น