วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Osteoarthritis( OA) and Type 2 diabetes T2DM) (3)

เนื่องจากทั้งโรคไขข้อเสื่อม (osteoarthritis) และโรคเบาหวาน มักจะเกิดร่วมกัน
เมื่อพบเห็นคนไข้ ที่เป็นโรคทั้งสอง เราจะพบเห็นอะไรหลายอย่างเหมือนกัน
เช่น

Age: โรคข้ออักเสบแบบเสื่อมสลายตามอายุ หรือโรค OA เป็นโรคของความสึกหรอ ที่เกิดขึ้นกับคนเรา
คนยิ่งมีอายุมาก ย่อมมีโอกาสใช้ข้อมาก ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดโรคข้อเสื่อมขึ้น เหมือนกับล้อรถยนต์ที่ใช้กันเป็นเวลานาน
ส่วน Type 2 DM อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรค คืออายุที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้เพราะคนสูงอายุ มักจะไม่ค่อยออกแรง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มน้ำหนักตัว เป็นเหตุให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
เบาหวานขึ้น และคนเป็นโรคเบาหวาน T2DM มักจะเป็นในคนมีอายุมากว่า 55 ขึ้นไป

Weight: น้ำหนักตัวที่มากขึ้น จะเพิ่มแรงกดดันที่ข้อขึ้น น้ำหนักทุกหนึ่งปอนด์ที่คุณเพิ่มขึ้น
จพมีผลกระทบกับการทำงานของข้อที่รองรับน้ำหนัก นั่นคือ ทุกหนึ่งปอนด์ของน้ำหนักที่คุณมีเพิ่มขึ้น
จะเพิ่มแรงกดดันที่ข้อสี่เท่าตัว
ดังนั้น เมื่อเวลาผ่านเป็นเวลานาน จะเกิดผลกระทบต่อข้อ...
ทำให้มีการสึกหรอเร็วกว่าปกติ

ในทำนองเดียวกัน คนทีอ้วนมาก ๆ มักจะมีผลกระทบต่ออวัยวะภายในหลายอย่าง
เนื้อเยื้อที่ไขมันสูง จะสร้างสารเคมี ซึ่งทำให้เกิดภาวะ “ต่อต้านอินซูลิน” (insulin resistance)เพิ่มขึ้น
เป็นเหตุให้เกิดมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง ยากต่อการรักษา

ที่กล่าวมาทั้งหมด พอสรุปได้ว่า โรคไขข้อ ไม่ได้ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
และโรคเบาหวาน ก็ไม่ทำให้เกิดโรคไขข้อหรอก
เป็นเพียงเกิดร่วมกันเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม คนเป็นโรคเบาหวาน มักจะมีปัญหาเรื่องไขข้อด้วยเสมอ เช่น คนมีชีวิตนั่งโต๊ะ มักจะอืดอาด
ร่วมกับความอ้วน จะมีผลกระทบต่อโรคทั้งสอง (โรคข้อเสื่อม และเบาหวาน)

สุดท้าย โรคเบาหวานเอง มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
ซึ่งทำให้เราพบเห็นภาวะหลาย ๆ เกิดขึ้น เช่น คนไข้มีอาการชาตามมือตามเท้า
นิ้วติด (trigger finger) มือชา (carpal tunnel syndrome) ปวดไหล่ และอื่น ๆ

นั่นคือเรื่องราวของคนที่เป็นโรคเบาหวาน ร่วมกับโรคไขข้อ
ซึ่งอาจมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

www.arthritis.org/arthritis-and-diabetes.pth

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น