วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เมื่อท่านมีอาการปวด (เรื้อรัง) ทีบริเวณข้อไหล่: (3 ) แพทย์ให้การรักษาท่านอย่างไร ?

Aug. 17,2013

อาการปวดเรื้อรังจากโรคข้่อ AC อักเสบ ACROMIOCLAVICULAR OSTEOARTHRITIS
จัดเป็นโรคเกิดร่วมกับภาวะ IMPRINGEMENT SYNDROME ของไหล่
ซึ่งสามารถพบได้บ่อยพอสมควร

หัวใจของการรักษาในการรักษาโรคชนิดดังกล่าว
คือการควบคุมความเจ็บปวด และการปรับเปลี่ยนกิจกรรมประจำวัน
และในการควบคุมความเจ็บปวด อาจทำได้ด้วยการใช้ยา NSAIDS หรือยาบรรเทาอาหารปวด
ส่วนการฉีดด้วย STEROID จะสงวนเอาไว้ใช้ในรายที่มีอาการปวดรุนแรง
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาระยะสั้นเท่านั้น

ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อกรรมวิธีดังกล่าว (ข้างบน)
ถือว่ามีเหตุผลสมควรต่อการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยการตัดเอากระดูกไหปลาล้าส่วนปลาย
ออกทิ้งไป (RESECTION DISTAL CLAVICLE)
ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับผลดี สามารถลดอาการเจ็บปวดลงได้

โรคข้อไหล่ติดแข็ง (ADHESIVE CAPSULITIS)

Go to...http://www.eorthopod.com/
       
ในการรักษาข้อไหล่ติดแข็ง...
ถือว่าเป็นความท้ายทาย และกรรมวิธีการรักษาต่างทำให้เกิดความเจ็บปวด
ผลจากการศึกษา และติดตามผลในระยะยาว พบว่า
โรคข้อไหล่ติดแข็ง สามารถหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษาใด ๆ เลย
แม้ว่า การเคลื่อนไหวข้ออาจไม่ฟื้นสู่สภาพเดิมได้โดยไม่ทำให้กิจกรรมเสียไป

ในการรักษาโรคดังกล่าว จะโฟกัสไปที่อาการเจ็บปวดลดลง
ซึ่งประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนกิจกรรม...เพือลดอาการเจ็บปวดในระยะแรก ๆ ลง,
มีการให้ยาบรรเทาอาการปวดด้วยยาแก้ปวด, และการยภาพบำบัด
โดยทำการยืดกล้ามเนื้อ และเอ็น ซึ่งท่านสามารถกระทำได้ด้วยตัวเอง

ถ้าปรากฏว่า ภายในระยะเวลา 6 อาทิตย์ อาการไม่ดีขึ้น...
แพทย์จะทำการฉีดสาร STEROIDS เข้าข้อ สามารถทำให้ผลของกายภาพบำบัดดีขึ้น
ผลของการฉีด CORTICOSTEROID + LIDOCAINE เข้าข้อ พบว่า
ในระยะสั้นจะได้ผลดี โดยทำให้อาการปวดลดลง สามารถทำงานได้ดีขึ้นใน 6 อาทิตย์
ซึ่งอาจเป็นผลมาจากเยื้อหุ้มข้อถูกทำให้ยืด (distended) และ
รวมไปถึงผลของ STEROIDS ที่ทำให้การอักเสบลดลง

หลังการฉีดยาเข้าข้อได้หนึ่งอาทิตย์...
คนไข้จะต้องเริ่มบริหารข้อไหล่ด้วยการยืดข้อ (STRETCHING EXERCISES)
คนที่เป็นโรคชนิดนี้ ไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เพราะโดยตัวของโรคเองสามารถ
หายได้เอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างใด

ยกเว้นเฉพาะกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาภายใน 6 เดือน
คนไข้จะได้รับการพิจารณาดัดข้อ JOINT MANIPULATION และการผ่าตัด
ด้วยกล้อง(ARTHROSCOPIC CAPSULAR RELEASE) ทั้งทางด้านหน้า
และด้านหลัง (glenohumeral ligaments)

 Go to...http://www.mendmeshop.ca


GLENOHUMERAL JOINT INSTABILITY

เมื่อท่านมีออาการปวดไหล่จากการมีข้อเคลื่อนหลุดมาก่อน
หรือเยื้อหุ้มข้อหย่อนยานของคนหนุ่ม ซึ่งเกิดจากการใช้งานหนักซำ้ๆ กัน
คนไข้ประเภทนี้ ควรปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสม ร่วมกับ
โปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อของไหล่ให้แข็งแรง
การบริหารกล้ามเนื้อ ROTATOR CUFF และกล้ามเนื้อของกระดูกสะบัก
จะช่วยได้มาก โดยเฉพาะในนักกีฬาที่มีข้อไหล่เคลื่อนหลุดได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยกรรมวิธีอนุรักษ์ ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร...
คนไข้ส่วนใหญ่จะได้รับคำแนะนำให้ไปพบแพทย์เฉพาะทาง (ORTHOPEDIST)
เพื่อพิจารณารักษาด้านศัลยกรรมต่อไป โดยเฉพาะในรายที่เป็นข้อไหล่หลุดบ่อยๆ
( RECURRENT DISLOCATION) หรือข้อไหล่หลุดบางส่วน ( SUBLUXATION)

ในคนไข้ข้อไหล่เคลื่อนหลุด ซึ่งมีอายุมากกว่า 40 พบว่า
มีอากาสเกิดการฉีกขาดของเอ็น ROTATOR CUFF ได้สูงมาก
นอกจากนั้น ภายหลังจากได้รับบkดเจ็บของข้อไหล่  หรือได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับ
ข้อไหล่  อาจมีโอกาสเกิดข้อไหล่อักเสบแบบเสื่อมสภาพ (GLENOHUMERAL 
OSTEOARTHRITIS)  ได้เช่นกัน

<< Prev. Next >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น