วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เมื่อท่านมีอาการปวด (เรื้อรัง) ทีบริเวณข้อไหล่: (2) แพทย์ให้การรักษาท่านอย่างไร ?

Aug. 17,2013

ยารักษา ( MEDICATIONS)

การใช้ยาควบคุมอาการปวด เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการรักษา...
ซึ่งมียาหลายอย่างถูกนำมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
เช่น ACETAMINOPHEN, NSAIDS หรือยากลุ่ม OPIATE ที่ออกฤทธิ์สั้น

ในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนให้ใช้ยา NSAIDS ว่ามีความเหนือกว่า
ยาแก้ปวดธรรมดา เพื่อรักษาอาการปวดเรื้อรังในบริเวณของข้อไหล่เลย
ดังนั้น ก่อนที่ท่านจะใช้ยากลุ่มดังกล่าว ควรพิจารณาถึงผลเสีย และผลดี
ของยาในแต่ละกลุ่มให้ดีเสียก่อน

กายภาพบำบัด (PHYSICAL THERAPY)

เป้าหมายของกายภาพบำบัด คือ
การทำให้การเคลื่อนไหวข้อไหล่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มที่ 
(FULL RANGE OF MOTION)

Go to...http://www.sportsmedicineclinicdelhi.com

ซึ่งมีรูปแบบของการรักษาเพื่อลดความเจ็บปวด เช่น ประคบด้วยความร้อน
และความเย็น, อัลต้าสซาวด์, การใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นยาให้ผ่านผิวหนัง 
(IRONPHORESIS), การบำบัดด้วยความร้อน (อินฟาเรด), การยืดเส้น,
และการบริหารกล้ามเนื้อเพื่อความแข้งเรง โดยมีเป้าหมายเพื่อ
ลดอาการเจ็บปวด และสุขภาพโดยรวมให้ดีขึ้น

การใช้รูปแบบของการกายภาพบำบัด จะขึ้นตรงกับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเป็นสำคัญ 
ผลจากการศึกษาพบว่า การยืดเส้น และการบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง 
สามารถทำให้ฟื้นตัวในระยะสั้น และในระยะยาวสามารถ
ทำให้การทำงานของคนไข้โรค rotator cuff ได้

ยาฉีด (INJECTIONS)

ในกรณีที่คนไข้ปวดไหล่ชนิดเรื้อรัง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามรูปแบบอนุรักษ์ 
การใช้ยาฉีด CORTICOSTEROIDS ร่วมกับยาชา โดยการฉีดเข้าสู่บริเวณ
ซึ่งก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด เช่น SUBACROMIAL SPACE, AC JOINT 
หรือข้อไหล่(GLENOHUMERAL JOINT) เอง

มีการศึกษาเกี่ยวกับการฉีดยาเข้าบริเวณ SUBACROMIAL SPACE ซึ่งผล
ที่ได้มีความเห็นนต่างกัน โดยมีทั้งสนับสนุนว่าได้ประโยชน์ และปฏิเสธว่า
ได้รับประโยชน์จากการฉีดสาร STEROIDS เข้าบริเวณดังกล่าว

การฉีดยาเข้าไปในบริเวณ SUBACROMION SPACE ได้รับการสนับสนุน
โดย the American Academy of Orthopedic Surgeons (AAOS) ซึ่งได้ประ
โยชน์ในระยะสั้น ๆ สามารถลดอาการเจ็บปวด และเพิ่มสมรรถภาพการ
ทำงานได้เป็นอย่างดี

นอกจากนั้น คนไข้ที่เป็น ADHESIVE CAPSULITIS จะตอบสนองต่อการ
ฉีดสาร STEROID เข้าข้อไหล่ โดยเฉพาะในรายที่ได้รับกายภาพบำบัด
ร่วมกับการรักษาดังกล่าว...แต่วิธีการดังกล่าว ไม่ได้รับการสนันสนุนโดย AAOS

ผลจากการศึกษาด้วยการฉีดสาร hyaluronic acid เข้าข้อไหล่
ซึ่งเป็นโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) ปรากฏว่าได้ผลดีเป็นที่พอใจ ...
แต่ในปัจจุบัน AAOS ไม่แนะนำวิธีการรักษาดังกล่าว

ส่วนการฉีดยา steroids เข้าข้อ AC (acromio-clavicular osteoarthritis)
ได้รับการสนับสนุนจาก AAOS ทั้งๆ ที่มีการศึกษาที่สับสนุนเรืองดังกล่าว
ไม่มากนักก็ตาม

ในการฉีดยา (steroid + anaesthesic) เข้า AC joint...
จะให้ข้อมูลช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยโรค AC osteoarthritis พร้อมกับให้
ดีผลในระยะสั้นได้ สามารถลดความเจ็บปวด  และช่วยทำให้การทำงานได้ดี 
คนที่ไม่สามารถสวิงกอล์ฟได้  ก็สามารถกลับไปเล่นกอล์ฟได้อีก

เมื่อถีงคราวต้องผ่าตัดรักษา (SURGICAL REFERRAL)
แม้ว่าคนที่มีปัญหาข้อไหล่ชนิดเรื้อรัง สามารถรักษาได้ด้วยกรรมวิธีอนุรักษ์ก็ตาม
 (activity midification, oral medications, physical therapy, และ
Corticosteroid injection)

แต่มีบางรายจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยกรรมวิธีการผ่าตัด (surgical intervention)
เช่น ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามวีอนุรักษ์, ไร้สมรรถภาพในการทำงาน
เพราะความเจ็บปวด, ข้อไหล่ยังอยู่ในภาวะที่พร้อมจะเคลื่อนหลุดได้ (instability)
ได้ทุกเมื่อ

<< Prev. Next >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น