วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Carpal Tunnel Syndrome (2 ) : เมื่อญาติของท่านปวด-ชาที่มือ

Aug. 21,2013

(continued       

Carpal Tunnel Release
เมื่อญาติผู้มีอายุของท่านมีอาการปวด-ชา ที่บริเวณมือ 
โดยมีสาเหตุมาจากเส้นประสาท “มีเดียน”ถูกกดทับ และไม่สามารถตอบสนอง
ต่อการรักษาด้วยยา, กายภาพบำบัด  และฉีดยา cortisone เข้า carpal tunnel 
ปรากฏว่า ไม่สามารถทำให้อาการหาย   ในกรณีเ
ช่นนี้ควรได้รับการพิจารณาผ่าตัด
Go to link:      http://kamistad.net/carpal.html

ในการผ่าตัดรักษาโรค carpal tunnel syndrome...
กระทำได้ด้วยการตัดเอ็นพังผืด ของข้อมือ ชื่อ transverse carpal ligament
ให้ขาด ซึ่งจะลดแรงกดที่มีต่อเส้นประสาท "มีเดียน" ลง

โดยทั่วไป การผ่าตัดดังกล่าว นอกจากจะทำการผ่าตัดตามมาตรฐาน (เปิด)
เรายังสามารถผ่าตัดด้วยกล้อง (endoscipic surgical release) ได้
ซึ่งสามารถกระทำในคนไข้ไปกลับ

แต่ผลเสียที่เกิดจากการผ่าตัดตามวิธีมาตรฐาน (open carpal tunnel release) 
จะมีแผลเป็นที่บริเวณฝ่ามือ...และกว่าจะฟื้นตัวสู่สภาพเดิมต้องกินเวลานาน 
และมีบางรายตรงรอยแผลผ่าตัด จะมีความไวต่อการสัมผัสมากเป็นพิเศษ
ทำให้เกิดเป็นอุปสรรคต่อการทำงานได้  กว่าจะหาย...
อาจต้องเสียเวลาหลายอาทิตย์

ในปัจจุบัน...เทคโนโลยี่ทางด้านศัลยกรรมกระดูกได้พัฒนาไปไกล
แพทย์สามารถทำการผ่าตัดด้วยกล้อง  ตัดเอ็นพังผืดที่ข้อมือ
โดยการใช้กล้อง ซึ่งมีการดัดแปลง  และปรับให้เหมาะกับการผ่าตัดเอ็นพังผืด
ซึ่งกดเส้นประเสาทมีเดิียน

เทคนิคในการใช้กล้องเพื่อ carpal tunnel release...
กระทำได้ด้วยการ...กรีดผิวหนังตามแนวขวางในบริเวณข้อมือทางด้านฝ่ามือ  
ยาวประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้น แพทย์จะสอดกล้องเข้าไปใต้เอ็นพังผืด  transverse carpal 
ligament และ สอดท่อพลาสติกขนาดเล็ก (cannula) เข้าไปในมือ...ตรงตำแหน่ง
ที่ต้องการตัดเอ็นพังผืด...


Go to link:  http://www.eorthopod.com

แพทย์จะมองผ่านกล้อง และใช้มีดพิเศษขนาดเล็กสอดผ่านทางท่อพลาสติก
เข้าไปตัดเอ็นพังผืดที่กดเส้นประสาท.ให้ขาด..เป็นการปลดปล่อยเส้นประสาท "มีเดียน"
ให้หลุดพ้นจากการกดทับได้อย่างง่าย ๆ ทำให้คนไข้หายจากอาการเจ็บปวดได้

การผ่าตัดด้วยกล้อง (endoscopic carpal surgery)...
เป็นกรรมวิธีรักษาคนไข้ชนิดไป-กลับ ซึ่งกระทำได้ด้วยการใช้ภายใต้การฉีดยาชา และ...
หลังการผ่าตัดดังกล่าว ให้ประคองข้อมือด้วยเฝือก (splint) ประมาณหนึ่งอาทิตย์ 
ต่อจากนั้นให้เริ่มทำกายภาพบำบัด คนไข้สามารถใส่เฝือกได้ชัวคราว

<< Prev 


http://www.scoi.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น