วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เมื่อท่านมีอาการปวด (เรื้อรัง) ทีบริเวณข้อไหล่: (4) แพทย์ให้การรักษาท่านอย่างไร ?

Aug. 17,2013

GLENOHUMERAL OSTEOARTHRITIS


Go to...     http://www.orthoteam.com

ภาวะข้อไหล้อักเสบแบบเสื่อมสภาพ (GLENOHUMERAL OSTEOARTHRITIS)
พบได้ไม่บ่อยนัก  แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมาน
และทำให้กลายเป็นคนไร้สมรรถภาพไปได้

ในการรักษา ื จะโฟกัสไปที่การคงสภาพการเคลื่อนไหวข้อไหล่เอาไว้
โดยการควบคุมอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ซึ่งเริ่มต้นด้วยการให้ยาแก้ปวด 
หรือยาลดการอักเสบ (NSAIDS)

ถ้าไม่สามารถควบคุมอาการปวดได้ การฉีดยา (STEROID)เข้าข้อ
สามารถลดอาการปวดลงได
การฉีดยาเข้าข้อเป็นกรรมวิธีที่ได้รับการสนับสนุนน้อยมาก...
และไม่ได้รับความยินยอมจาก AAOS อีกด้วย

ส่วนรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัดสามารถคงสภาพการทำงานของข้อไหล่
เอาไว้ได้ก็ตาม แต่ควรกระทำด้วยความระมัดระวัง เพราะในคนไข้ดังกล่าว
เราจพบว่า ผิวของข้อจะไม่เรียบ การพยายามเพิ่มขอบเขตการเคลื่อนไหวข้อ
มากเกินไป แทนที่จะเป็นประโยชน์ สามารถทำให้กลับกลายเป็นผลตรงข้ามได้

การควบคุมโรคที่เกิดร่วมกับภาวะข้อไหล่อักเสบ เช่น โรคเบาหวาน
หรือโรครูมาตอยด์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ การส่งต่อ (REFERRAL) ให้ศัลยแพทย์
เพื่อพิจารณาผ่าตัด จะต้องกระทำเมื่อคนไข้ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์

ช่วงเวลาแห่งการส่งต่อ...ย่อมขึ้นกับระดับของโรค 
ซึ่งทำให้เกิดภาวะไร้สมรรถภาพ (DISABILITY)

ในการรักษาด้วยข้อไหล่อักเสบจากการเสื่อมสภาพ (OA) ด้วยวิธีทางศัลยกรรม 
จะมีให้เลือกตามความเหมาะสมหลายรูปแบบด้วยกัน เป็นต้นว่า
การทำผ่าตัดด้วยกล้อง... CAPSULAR RELEASE & DEBRIDGEMENT;
ผ่าตัดใสข้อเที่ยม โดยอาจเป็น HEMIARTHROPLASTY หรือทำ
TOTAL SHOULDER ARTHROPLASTY ตามความเหมาะสม


 Go to...     http://tradgang.com

ในปัจจุบันเรายังไม่พบผลของการเปรียบเทียบระหว่างการรักษาด้วยกรรมวิธีอนุรักษ์
และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ (ARTHROPLASTY)

ROTATOR CUFF DISORDERS

ในคนไข้ที่มีความเจ็บปวดเรื้อรังจากโรคของ ROTATOR CUFF
ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับผลดีจากการรักษาด้วยการผสมผสานกันระหว่างวิธีอนุรักษ์ต่างๆ
โดยเริ่มต้นจะเกี่ยวข้องกับการปรับเปลียนกิจกรรมประจำวัน, กายภาพบำบัด
และใช้ยาลดการอักเสบ และยาแก้ปวด

เป้าหมายของกายภาพบำบัด...
คือ การทำให้การทำงานของข้อไหล่สามารถทำงานได้ดีขึ้น โดยการ
ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง, การเคลื่อนไหวของไหล่, 
รวมถึงการรับรู้การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ดีขึ้น

ถ้าคนไข้ไม่ตอบสนองต่อการรักษา (ภายใน 2-3 อาทิตย์) หรือตอบสนองได้
ช้ามาก หรือคนไข้มีความเจ็บปวดมากจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เท่าที่ควร
แพทย์อาจพิจารณาฉีด CORTICOSTEROID เข้าบริเวณที่เจ็บปวด
ซึ่งสามารถควบคุมอาการเจ็บปวดได้ และทำให้การเคลื่อนไหวข้อได้ดีขึ้น
ทำให้กายภาพบำบัดดำเนินไปได้โดยไม่ยากนัก

ในกรณีที่คนไข้ไม่ตอบสนองต่อการรักษา (12 อาทิตย์)...
ก็ถึงเวลาที่ต้องส่งต่อให้แพทย์เฉพาะทางต่อไป โดยเฉพาะในรายที่มีการ
ฉีกขาดของเอ็น ROTATOR CUFF ซึ่งคนไข้ดังกล่าวมักจะมีการอ่อนแรง
ของกล้ามเนื้อของไหล่ร่วมด้วย (SUPRASPINATUS, INFRASPINATUS,
หรือ SUBSCAPULARIS)

การรักษาทางด้านศัลยกรรม มีให้เลือกหลายอย่าง
เช่น OPEN, MINI-OPEN หรือ ARTHROSCOPIC DECOMPRESSION 
หรือทำการเย็บซ่อมเอ็นฉีกขาด (ROTATOR CUFF TEAR)

การพยากรณ์โรค (Prognosis)

ผลของการรักษาคนไข้ที่เป็นโรค ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังที่บริเวณไหล่
จะขึ้นกับโรคที่เป็นต้นเหตุ...แต่ส่วนใหญ่แล้วจะตอบสนองต่อ
การรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์

ผลของการรักษาที่ได้จาก nonoperative management โรคที่ทำให้เกิด
ความเจ็บปวด ปรากฏว่ามีการวิจัยกันน้อยมาก  แต่ดูเหมือนว่า 
ในรายที่ค่อยๆ เกิดขึ้น, มีอาการยาวนาน, และมีอาการเจ็บปวดมากมักจะลงเอย
ด้วยความยืดเยื้อ

โดยทั่วไป การฟื้นตัว หายจากภาวะเจ็บปวดเรื้อรังของข้อไหล่ จะดำเนินไป
อย่างเชื่องช้า และผลจากการศึกษาพบว่า...
คนไข้ที่มีอาการปวดไหล่ชนิดเรื้อรังสามารถรักษาให้หายได้ภายในหนึ่งเดือน
มีเพียง 23 % และหายภายใน 18 เดือนพบได้ 59 % เท่านั้น

<< Previous

http://www.aafp.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น