วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อาการเจ็บปวดจากความผิดปกติทางจิต (Psychogenic pain)

Aug. 26,2013



ตามคำจำกัดความ...Psychogenic pain เป็นคำอธิบายความสำหรับ
อาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากปัจจัยทางจิต (psychological factors)
เช่น ความเครียด (anxiety), ภาวะซึมเศร้า (depression) ซึ่งเป็น
อาการปวดเรื้อรัง

Psychogenic pain ส่วนมากจะรักษาได้ยากกว่า nocieptive pain
หรือ neurogenic pain

Nociceptive pain เป็นอาการปวดที่รับได้โดยเส้นประสาทรับความรู้สึก
ซึ่งมีลักษณะพิเศษ เรียก nociceptors ซึ่งมีอยู่ในผิวหนัง, กล้ามเนื้อ และ
อวัยวะภายใน โดยแบ่งออกเป็นสองชนิด: somatic pain จะเป็นความ
รู้เจ้บปวดที่มาจากข้อ, กระดูกกล้ามเนื้อ, และเนื้อเยื่อต่าง ๆ

ความเจ็บปวดชนิดที่สอง คือ visceral pain เป็นอาการปวดที่มาจาก
อวัยวะภายในร่างกาย

ส่วน neuropathic pain เป็นคำที่บอกถึงความเจ็บปวดที่เกิดจาก
เส้นประสาทถูกระคาย, เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ หรือถูกทำลาย

ยาแก้ปวดที่เคยใช้เพื่อรักษาอาการปวด ซึ่งมีต้นเหตุมาจากปัญหา
ทางร่างกาย  เช่น การอักเสบ หรือเส้นประสาททำงานผิดปกติ
อย่างไรก็ตาม  อาการปวดจากความผิดปกติทางจิตใจ 
ซึ่งไม่มีความผิดปกติทางกายนั้น จะตอบสนองต่อการรักษาที่ไม่ต้องใช้ยา 
 เช่น รักษาด้วย TENS และ Distraction

TENS หมายถึง transcutaneous electrical nerve stimulation
ซึ่งแค่ดูชื่อน่ากลัวกว่าที่เป็นจริง เป็นการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า
โดยการวาง electrode ไว้ในตำแหน่งที่มีความเจ็บปวด เมื่อ
ปล่อยกระแสไฟฟ้าระดับอ่อน ๆ ให้วิ่งผ่านผิวหนังไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่
ใต้ผิวหนัง ซึ่งจะทำให้มีความรู้สึกซ่า รู้สึกเหมือนเข็มทิ่มแทงเอา...

เราเชื่อว่า TENS ทำงานโดยไปทำลายคลื่นความเจ็บปวด
โดยคลื่นกระแสไฟฟ้าที่แตกต่างจากสัญญาณความเจ็บปวด โดยทำ
ให้คลื่นของความเจ็บปวดลง...ซึ่งบางท่านกล่าวว่า
การรักษาด้วย TENS เป็นการปิดประตู ไม่ให้คลื่นความเจ็บปวดส่ง
ไปยังสมองได้ (close pain gate)

อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาจากหลายสำนักกล่าวว่า...
ผลของการรักษาโดย TENS จะไม่ดีไปกว่าการรักษาแบบหลอก ๆ

ท่านอาจคิดว่า...
ไม่มีอะไรสามารถทำให้ท่านเบี่ยงเบนไปจากความปวดเรื้อรัง ซึง
กำลังรบกวนท่านอยู่...แต่ความจริงมีว่า เมื่อท่านกำลังปวดศีรษะ ใน
ขระเดียวกัน ท่านดูโปรแกรมโทรทัศน์ที่น่าสนใจ ท่านอาจลืมความ
เจ็บปวดลงได้

จากความจริงดังกล่าว ได้ปรากฏว่า มีเทคนิคในการรักษาความปวดเรื้อรัง
ด้วยกลวิธีที่เรียกว่า distraction technuques ซึ่งเป็นวิธีการแบ่งปัน
ความสนใจไปให้สิ่งอื่นที่น่าภิรมณย์กว่านั้นเอง

ในบางครั้ง ท่านอาจคิดว่า ความเจ็บปวดจะอยู่ภายในศีรษะของท่าน
ตามเป็นจริง...ท่านคิดถูกเพียงส่วนเดียว
ความเจ็บปวดที่ท่านได้รับจะอยู่ทางด้านนอกของร่างกาย 
โดยส่งผ่านเซลล์ประสาทชื่อ nociceptors ไปยังสมอง...
จากนั้น...สมองเองจะทำหน้าที่แปลผลว่า มีความเจ็บปวดเกิดขึ้น

คำถามมีว่า...ในการแปรผลสัญญาณที่ส่งมาจาก nociceptors...
บางครังยังต้องขึ้นกับสิ่งอื่นๆ ด้วย เช่น ในขณะที่ท่านมีอาการเจ็บปวด...
ท่านถูกห้อมล้อมด้วยเหตุการณ์หลายอย่าง ซึ่งท่านต้องให้ความใสใจ
เช่น ท่านกำลังอยู่ที่สนามบิน จะทำให้ท่านรู้สึกเกี่ยวกับอาการเจ็บปวดแตกต่าง
ไปจากความรู้สึกเจ็บปวดขณะที่ท่านอยู่ในห้องมืด 
โดยไม่ต้องมีอะไรดึงดูดความสนใจของท่านเลย

สมองของคนเรายังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับส่วนอื่นๆ อีกมากมาย...
โดยสัญญาณความรู้สึกเจ็บปวด  จะต้องแข่งขันกับสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวของท่าน...
และสมองเองจะให้ความสนใจกับสัญาณความเจ็บปวดได้มากน้อยแค่ใหน 
ย่อมขึ้นกับระยะเวลาที่ท่านได้รับการบาดเจ็บ
รวมถึงอารมณ์ของท่านในระยะนั้น...

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น...
ถ้าท่านมีความเจ็บปวดเป็นเวลานาน โดยไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้
แต่ท่านอาจใช้กรรมวิธีอย่างอื่น  เพื่อรักษาอาการเจ็บปวดให้ดีขึ้นด้วยการเบี่ยงเบน
ความสนใจจากความเจ็บปวด สู่สิ่งอื่นที่ให้ความเพลิดเพลินกว่า (distraction)

ทุกคนต่างมีกรรมวิธีทำให้หายจากความเจ็บปวดได้ต่างกัน 
ซึ่งคล้ายกับการใช้ยารักษาอาการเจ็บปวด....
โดยแต่ละคน  ต่างมีวิะีการที่เหมาะสมจัดการกับอาการเจ็บปวด
ที่ท่านกำลังประสบอยู่  เช่น:

• ดูรายการโทรทัศน์ที่ท่านสนใจ
• ชวนเพื่อน...และคุยเริ่องที่น่าสนใจ
• อ่านหนังสือ
• มีส่วนร่วมกับงานอดิเรก
• ทำงานที่ ท้าทาย
• ฟังเพลง
• เล่นเกม และ
• อื่น ๆ

โดยสรป...
แม่ว่ากลวิธีเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่สิ่งที่เพลิดเพลินกว่า จะไม่ทำ
ให้ความเจ็บปวดหายได้ร้อยเปอร์เซนต์ก็ตาม แต่มันสามารถทำให้ท่าน
ทำงานอย่างอื่นได้ และบางที มันอาจทำให้การรักษาอาการปวดได้ง่ายขึ้น
โดยเฉพาะเมื่อท่านต้องมีชีวิตร่วมกับความเจ็บปวดเรื้อรัง


http://pain.about.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น