วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เวชศาตร์ผู้สูงอายุ (Geriatrics) Part 3 : The Team Approach

Dec. 7, 2013

ในการดูแลคนสูงอายุ (Geriatrics)...
เพื่อให้คนไข้ได้รับประโยชน์สูงสุด จำเป็นต้องทำงานเป็นทีมเวิร์ค
ซึ่งเหมือนกับการเล่นฟุตบอลลฉันใด งานดูแลคนไข้สูงอายุก็เป็นเช่น
เดียวกัน โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ ประโยชน์ของคนไข้เป็นสำคัญ

ไม่เพียงแต่ดูแลรักษาคนสูงอายุเท่านั้น แพทย์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับคน
สงอายุ และทีมเวิร์ค ยังต้องทำงานให้การสนับสนน และส่งเสริมด้วย
การให้ให้ความรู้กับสมาชิคในครอบครัวของคนไข้, เพื่อน และผู้ดูแลคนอื่น ๆ
ให้รู้เรื่องเกี่ยวกับการดูแลคนไข้อีกด้วย

สมาชิคในทีมเวิร์ค ที่จำเป็นต่อการดูแลคนสูงอายุ จำเป็นต่อการดูแล
คนสูงอายุ ประกอบด้วยบุคลากรต่อไปนี้ :

แพทย์ทางเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (Geriatrician)
• พยาบาล (Nurse)
• ผู้ช่วยแพทย์ (Physician assistant)
• นักสังคมสงเคราะห์ (Social worker)
• เภสัชกรผู้ให้คำแนะนำปรึกษา (consultant pharmacist)
• นักโภชนาการ (Nutritionist)
• นักกายภาพบำบัด (Physiotherapist)
• นักอาชีวะบำบัด (Occupational therapist)
• ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกพูด & ฟัง (Speech and hearing specialist)
• จิตแพทย์เฉพาะผู้สูงวัย (Geriatric phychiatrist)

บุคลากรเหล่านี้ มีหน้าที่รับผิดชอบต่องานที่ตนเองมีความชำนาญ
ซึ่งรวมงานกันแล้ว จะทำให้คนคนสูงอายุสามารถดำเนินชีวิตในสังคม
ได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ โดยไม่เป็นภาระของสังคม

หน้าที่ของทีมแพทย์ผู้ดูแลรักษาคนสูงอายุ:

• ทำหน้าทีประเมินสถานภาพทางสังคม และการดำเนินชีวิตของคนไข้
• พิจารณาความสามารถของคนไข้ว่า สามารถประกอบกิจวัตรประจำวัน
เป็นต้นว่า การอาบน้ำ, การแต่งตัว และการรับทานอาหาร
• ให้ความสนใจเป็นพิเศษในความพอใจของคนไข้ รวมถึงการวางแผน
การเพื่อดูแลคนไข้

นอกจากนั้น ทีมงานยังให้ความสนใจต่อสุขภาพอย่างอื่นๆ ของคนสูงอายุ
เป็นต้นว่า การกลั้นปัสส่าวะไม่อยู่ (incontinence), หกล้ม (falls), ความ
จำเสื่อม (memory problems), รวมไปถึงการรักษาโรคเรื้อรังอื่น ๆ
และยาที่เขาต้องใช้ในการรักษาด้วย


<< PREV

http://www.healthinaging.org/aging-and-health-a-to-z/topic:geriatrics/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น