Dec. 2, 2013
ได้เห็นคนที่มีความทุกข์ทรมานจากการเป็นโรคไตวาย
ซึ่งต้องไปทำการฟอกเลือดเพื่อเอาของเสียออกกจากาย ได้เห็นแววตา
ของคนไข้เหล่านั้นแล้ว เราจะรู้สึกได้ว่า
เขามีความทุกข์ทรมานขนาดใหน .
โรคความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในสาเหตุหลํก
ซึ่งที่ทำให้เกิดโรคไตวาย (end-stage kidney disease) ทั้งนี้เป็นเพราะโรค
ความดันโลหิตสูง ได้ทำเกิดความเค้น หรือความเครียดขึ้นกับเส้นเลือดได้
ตลอดทั่วร่างกาย ในที่สุดก็ทำให้เส้นเลือดต่างๆ ได้รับบาดเจ็บ
รวมถึงเส้นเลือดของไตด้วย ยังผลให้ไตถูกทำลายไปในที่สุด
ซึ่งทำให้ไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกิต ไม่สามารถขับเอาของเสี
ยออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อไต ถูกทำลายถึงขั้นสุดท้าย (end stage) ซึ่งเป็นระยะที่ไตไม่สามารถ
กำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธี
การกรองเอาของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งมีชื่อเรียกว่า dialysis
หรือทำการปลูกถ่ายไตเทียมให้แก่คนไข้
ถ้าไตทั้งสองไม่สามารถขับเอาน้ำส่วนเกินออกจากกายได้ ย่อมเป็นเหตุ
ให้มีน้ำสะสมภายในเส้นเลือด ซึ่งจะทำให้ความดันที่สูงอยู่แล้ว
ยิ่งสูงเพิ่มขึ้นไปอีก...
ในระยะแรก ๆ ของการเป็นโรคไต (early stages)...
ท่านอาจไม่รู้ก็ได้ว่า ท่านเป็นโรคไต... แต่แพทย์สามารถตรวจเช็คเลือดของ
ท่านได้ด้วยการตรวจต่อไปนี้:
• Albumin (a protein in your urine)
• Creatinine level in your blood (creatinine clearance).
จากข้อมูลที่ได้เราสามารถนำมาคำนวณดูสภาพการทำงานของไต
ว่าอยู่ในระยะใด โดยการคำนวณหาค่า estimated Glomerular filtration rate
(eGFR) ได้จากสูตร (Cockcroft & Gault equation) ดังนี้:
CrCl = (140 - age) x IBW / (Scr x 72) (x 0.85 for females)
จากข้อมูลที่ได้ แพทย์สามารถตรวจสอบได้ว่า ไตของท่านอยู่ในสภาพปกติ
หรือเป็นโรคไตหรือไม่ (stage 1 > 90, Stage 2 60-89, Stage 3 30 -59,
Stage 4 15 - 29 และ Stage 5 < 15)
โดยทั่วไป การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และได้รับยารักษา...
ย่อมสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตของท่าน ให้ลดลงสูระดับปกติและสามารถป้องกันไม่
ให้เกิดปัญหาต่อไตของท่านได้ หรือชะลอการทำลายไต
ซึ่งเกิดขึ้นแล้วลงได้
สำหรับผู้สูงวัย ตั้งแต่ 85 ขึ้นไป ผู้ซึ่งมีโรคไต (CKD) ...
การรักษาตามที่กล่าวมา อาจทำให้ความเสื่อมของไตเกิดได้ช้าลง
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของการลดความดันโลหิต
ไม่ควรให้ลดต่ำเท่ากับความดันของคนหนุ่มเป็นอันขาด
<< PREV NEXT >> Part 9: High blood pressure and Anxiety
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น