Dec. 28, 2013
Behavioral symptoms
อาการทางพฤติกรรมของคนที่เป็นโรค “อัลไซเมอร์” จะก่อความ
ทุกข์ทรมานให้แก่คนไข้ได้มากกว่าอาการที่เกี่ยวกับกระบวนการรับรู้
และความที่ผิดปกติไ้ด้ แม้ว่าในรายที่เป็นไม่มาก คนไข้จะมีอาการ
กระสับกระส่าย, วิตกกังวล, และมีอาการฉุนเฉียว
ในการรักษาอาการทางพฤติกรรมดังกล่าว นอกจากใช้ยารักษาแล้ว
แพทย์อาจให้คนไข้ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
(behavioral modification therapies) ด้วย
Depression :
อาการภาวะซึมเศร้า มักจะเกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ของคนที่เป็นโรคสมองเสื่อม
ซึ่งอาจได้รับการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม(modified behavioral therapy)
และยา (medications) หัวใจของการรักษา คือ เราต้องรู้ว่าคนไข้เป็นโรค
สมองเสื่อมหรือไม่ เพราะอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นสามารถก่อให้เกิดอันตราย
ต่อคนไข้ได้ และการรักษาภาวะดังกล่าว เป็นเรื่องที่ควรกระทำ
ยาที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้า ได้แก่ selective serotonin reuptake
inhibitors หรือ SSRIs ซึ่งเป็นยาที่เหมาะสำหรับคนไข้ที่เป็นโรคสมองเสื่อม
ที่มีอาการซึมเศร้า และยาที่ใช้กันบ่อยได้แก่ fluoxetine (Prozac), sertraline (Zoloft),
paroxetine (Paxil), citalopram(Celexa) และ escitalopram (Lexapro)
มีวิธีการรักษาทางด้านพฤติกรรมหลายอย่าง ซึ่งมีประโยชน์ เพราะไม่มีผลข้างเคียง
เหมือนกับการใช้ยา และอาจแนะนำให้ใช้ในรายที่มีอาการซึมเศร้า
ในการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลง
สภาพแวดล้อม เช่น การแนะนำส่งเสริมให้ออกกำลังกาย, หลีกเลี่ยงจากตัวกระตุ้น
ให้เกิดความเศร้า, สอนให้รู้จักการอยู่ร่วมกับสังคม และสนับสนุนให้มีกิจกรรม
ที่สนุกสนานร่วมกับคนอื่น
<< PREV NEXT >> Dementia , P. 13: Life with dementia
http://www.uptodate.com/contents/dementia-including-alzheimer-disease-beyond-the-basics
สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณหมอ
ตอบลบขอบคุณสำหรับสาระดีๆเสมอมา
blog นี้เป็นประโยชน์มากๆ สำหรับการเรียนของหนูค่ะ
ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรง
มีแต่ความสุขในปีใหม่นี้ค่ะ
Happy New Year ค่ะ