วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เล่นอะไรไม่เล่น...ดันไปเล่นกับเชื้อ HIV ? P 6 :Human trials of PEP

Dec. 18,2013

มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการใช้ยา (antiretroviral drugs)
 เพื่อป้องกันไม่ใหเกิดติดเชื้อหลังการสัมผัสเชื้อเอชไอวี  (PEP)  โดยติดตาม
ผลของบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับคนไข้ที่ติดเชื้อ HIV

ตามปกติแล้ว เราจะเห็นว่า บุคลาการทางการแพทย์มีเสี่ยงต่อการติด
เชื้อเอชไอวีได้สูง เพราะงานของเขาเอื้อให้เป็นเช่นนั้น โดยมีโอกาส
ได้สัมผัสกับเข็มทีปนเปื้อนเชื้อถูกทิ่มแทงเอาได้

เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น...
ยาต้านไวรัส  ที่แพทย์จะสั่งให้แก่บุคลากรที่สัมผัสกับเชื้อเอชไอวี
คือ zidovudine  ซึ่งเป็นยาหลักเพียงตัวเดียวที่ได้รับการทดลองให้ใช้กับ
บุคลากรทางการแพทย์ในสมัยเริ่มแรก...   แต่มาในสมับปัจจุบัน การให้ยา
เพื่อปัองกันหลังการสัมผัสส่วนใหญ่จะเป็นให้ยาหลายขนานร่วมกัน
ซึ่งได้แก่ zidovudine,  lamivudine และ nelfinavir โดยมีความเชื่อว่า... การให้
ยาสามขนานร่วมกันจะได้รับผลดีมากกว่าการให่ยา Zidovudine เพียงตัวเดียว

มีผลการศึกษาในบุคลากรทางการแพทย์รายหนึ่ง ซึ่งสัมผัสกับเชื้อเอชไอวี
ได้รับยาต้านไวรัส zidovudine จนครบ (course)ปรากฏว่า  สามารถลดความ
เสี่ยงต่อการเกิดโรคเอชไอวี (HIV infection)ได้เพียง  81 % เท่านั้น....

เกี่ยวกับเรื่องนี้ จะถือเป็นเรื่องจริงไม่ได้ เพราะมีรายงานอย่างน้อย 13 ราย
ของคนที่ทำงานด้านการแพทย์ทั่วโลก ซึ่งได้รับยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
หลังการสัมผัสโรค (PEP) แล้วก็ตาม ยังปรากฏว่าประสบกับความล้มเหลว

ในจำนวนที่เสนอมานั้น มีบางรายไม่สามารถอธิบายได้เลยว่า  ทำไมการ
ให้ยาต้านไวรัสไปแล้ว ไม่สามารถป้องกันไม่ให้ติดเชื้อได้  และได้นำไป
สุ่ข้อสปรุปว่า   การให้ยาหลังการสัมผัสโรคไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรค
เอชไอวีได้ 100 %

มีการศึกษาชิ้นหนึ่ง มีปริมาณของผู้ได้รับ PEP หลังการสัมผัสโรคจาก
การมีเพศสัมพันธ์ หรือจากการฉีดยา โดยคนในกลุ่มดังกล่าวได้รับยา
หลายขนาดร่วมกัน เช่น zidovudine, lamivudine, stavudine และ
Didanosine....ทุกรายได้รับยาครบเป็นเวลา 28 วัน....

ในจำนวน 700 ราย ได้กลับมาทำการตรวจแล้วปรากฏว่า มี 6 รายพบว่า
เป็นโรค HIV ภายใน 12 อาทิตย์หลังสัมผัสกับโรค

อย่างไรก็ตาม เขายังรายงานอีกว่า ใน 6 รายดังกล่าว ก่อนที่จะเริ่มรับ
ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ (PEP) ปรากฏว่า เขาได้สัมผัสกับโรคนานถึง
6 เดือน ดังนั้น จึงเป็นการยากที่จะบอกว่า เวลาที่สัมผัสโรค กับการให้
ยาเพื่อปัองกันการติดเชื้อควรเป็นเวลาใดจึงจะประสบผลดี

มีรายงานชิ้นหนึ่งจาก South African มีเหยื่อจำนวน 480 ที่ถูกข่มขืนชำเรา และ
ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ (PEP) เป็นเวลา 6 อาทิตย์
ปรากฏว่า มีเพียงหนึ่งรายเท่านั้นที่เกิดเป็นโรค HIV

ผลจากการศึกษาจากหลายสำนักสรุปว่า...
การให้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ (PEP) สามารถลดความเสี่ยงจาก
การติดโรคเอชไอวีได้จริง แต่ไม่สามารถสามารถป้องกันได้อ 100 %

โดยสรุป...
การให้ยาต้านไวรัสเอชไอว๊เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ (PEP)
ไม่เป็นการเพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายเชื้อโรค มัน
เป็นเพียงแค่ป้องกันโรคในระยะสั้นๆ เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การให้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวี
เป็นวิธีหนึ่ง  ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดการติดเชื้อเอชไอวีได้
โดยเฉพาะในรายที่ถูกข่มขืนชำเราทางเพศ   หรือในรายที่ทราบว่า
คู่ร่วมเพศสัมพันธ์+ของตนเป็นโรคเอชไอวี...

<< PREV    NEXT >> P. 7: HIV Treatment as Prevention

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น