วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เมื่อท่านรับประทานยาหลายขนาน Part 5 : Keeping the elderly safe

Continued...
Dec. 8, 2013

ในการใช้ยาในคนสูงอายุ...เราต้องระมัดระวังในการจัดการกับอาการอัน
ไม่พึงประสงค์ (adverse reaction event) ได้ เพราะมีบ่อยครั้งที่เรา
ไม่สามารถแยกระหว่างผลอันไม่พึงประสงค์ (ADEs) กับ อาการของโรคได้ 
แต่เพื่อประโยชน์ของคนไข้เอง ให้พิจารณาอาการแสดงที่ได้ปรากฏขึ้น
เป็นผลมาจากกากรแพ้ยา (drug-related) เอาไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่า...
มันไม่ใช่ !

อาการทางกระเพาะอาหารที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน มักเป็นผลมาจาก
ยารักษา โดยมีผลจากการศึกษาพบว่า ผลอันไม่พึงประสงค์จากยาที่
เกิดในคนสูงอายุ  ที่พบได้บ่อยคือ คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วง, ท้องผูก,
และมีอาการปวดท้อง

เนืองจากคนสูงอายุมีความไวต่อยาได้มากกว่าคนหนุ่ม...
ยกตัวอย่าง ยาที่มีผลกระทบระบบประสาท (CNS) ซึ่งทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในสภาพของจิตใจ (mental status) ให้ถือเสียว่า
มันเป็นผลมาจากยารักษาเอาไว้ก่อน...

เช่น Long-acting benzodiazempines เช่น diazepam สามารถทำ
ให้เกิดอาการวิงเวียน, ความจำเสื่อม, อาการสับสน, และอาการง่วงซึม
เป็นเวลานาน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดหกล้ม
และทำให้เกิดกระดูกแตกหักได้

มียาหลายขนานถูกนำมาใช้ในคนสูงอายุ...
เป็นต้นว่า anti-depressants, muscle relaxants, antispasmodics,
และ antihistamines ซึ่งมีฤทธิ์เป็น anticholinergic (effect)
ดังนั้น การใช้ยาดังกล่าว จะทำให้เกิดอาการสับสน, สายตาพล่ามัว,
ปากแห้ง, วิงเวียนหน้ามืด, ท้องผูก, และปัสสาวะลำบาก
หรือไม่สามารถควบคุมปัสสาวะได้....ซึ่งมักจะเกิดในคนสูงอายุ

เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการอันไม่พึงปราถนา...ปลอดภัยจากการใช้
ยา ท่านจะต้องบอกให้คนไข้รับยาจากเภสัชกรคนเดิมทุกครั้ง
(ถ้าเป็นไปได้) ท่านต้องบอกให้คนไข้ได้ทราบถึงผลข้างเคี่ยงที่จะเกิด
จากการใช้ยา และบอกให้เขารายงานต่อแพทย์ทันที
เมื่อมีอาการไหม่ๆเกิดขึ้น

ถ้าท่านเป็นคนสั่งยาให้แก่คนไข้...
ท่านจำเป็นต้องลดความเสี่ยงจากการเกิดผลอันไม่พึงประสงค์จาก
การใช้ยาให้ได้ โดย “เริ่มจากใช้ยาขนาดต่ำๆ ก่อน และเพิ่มขนาด
ของยาอย่างช้า ๆ”

แม้ว่า ความต้องการของยาในคนไข้แต่ละคนมีแตกต่างกัน และ
ขนาดของยาในคนสุงอายุจะต้องลดลงเหลือ 1/3 หรือ ½ ของ
ขนาดที่ใช้ในผู้ใหญ่ (adult dose)

พยายามให้คนไข้ยาได้ง่ายที่สุดที่จะง่ายได้ เช่น ให้สั่งยาเพียงตัว
เดียวมากว่าที่จะใช้ยาหลายตัว เพื่อรักษาโรคๆ หนึ่ง หรือเลือกใช้
ยาวันละครั้ง หรืออย่างมากใช้วันละสองครั้ง มากกว่าที่จะใช้วันละ
สามครั้ง

มีการตรวจสอบการใช้ยาอขงคนไข้ และมีการกำจัดยาที่ออกฤทธิ์
คล้ายกันออกไป ซึ่งเกิดจากการสั่งของแพทย์หลายนาย และกำจัด
ยาที่ไม่มีผลในด้านรักษาออก หรือไม่มรข่อชี้บ่งให้ใช้
หลีกเลี่ยงจากการรักษาอาการแพ้ยา ด้วยการสั่งยาตัวที่สองแก่คน
ไข้...ที่ถกต้องควรเลิกใช้ยา หรือลดขนาดยาลง

โดยสรุป...การใช้ยารักษาได้พิสูจน์แล้วว่า ทำให้ชีวิตของคนไข้ดีขึ้น
หากสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม โดยไม่คำนึงว่า อายุ
ของคนไข้จะเป็นเท่าใด เพราะหากใช้ยาอย่างระมัดระวัง คนไข้ย่อม
มีโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้ยา โดยมีการตรวจสอบสิ่งที่
คนไข้รับทาน และมีความระแวดระวังต่ออาการอันไม่พึงประสงค์
ที่เกิดจากการใช้ยา...

<< PREV

http://www.modernmedicine.com/modern-medicine/news/polypharmacy-keeping-elderly-safe

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น