วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เมื่อท่านรับประทานยาหลายขนาน Part 4: Keeping the elderly safe

Dec. 8, 2013

เราสามารถปกป้องคนสูงอายุให้รอดพ้นอันตรายจากการใช้ยา
หลายขนาน  โดยการรู้ว่า มียาตัวใหนบ้างที่ก่อให้เกิดปัญหาในคนสูงอายุ
สาเหตุของปัญหาที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งบ่งชี้โดย Beers Criteria
ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1991 ว่าเป็นยาที่เป็นอันตรายต่อคนสูงอายุ

มีหน่วยงานทางการแพทย์จำนวนไม่น้อยได้ใช้ Beers Criteria
ประเมินการใช้ยาในคนไข้สูงอายุ แต่เราต้องจำเอาไว้ด้วยว่า ข้อบ่งชี
ในการใช้ยา (criteria) ไม่ได้ห้ามให้ใช้ยาบางอย่างเป็นการเฉพาะสำหรับ
คนสูงอายุ แต่ให้หลีกเลี่ยงการใช้ยา เพราะยาไม่มีประสิทธิภาพ
และมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย แต่ให้ใช้ยาที่ปลอดภัย

นอกจากนั้น แพทย์ที่ทำหน้าที่รักษา จำเป็นต้องรู้สภาพของคนไข้
และอาการทางคลีนิค เป็นต้วพิจารณาว่า ควรใช้ยาอะไร ?
ซึ่งแพทย์สามารถกระทำเช่นนั้นได้ โดยการซักประวัติการใช้ยาของคน
สูงอายุอย่างละเอียด มีการตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการใช้ยารักษา
ของคนไข้ทุกชิ้น รวมทั้งยา และสมุนไพรที่คนไข้ซื้อรับทานเอง
โดยคนไข้อาจไม่ตระหนักรู้ด้วยซ้ำว่า มันไม่ใช่ยา

มีการตรวจสอบยาแต่ละขนาน และข้อชี้บ่ง (indication) การใช้ยาว่า
ถูกต้องหรือไม่...มีการตรวจสอบจากแพทย์ท่านอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับการสั่งยาให้แก่คนไข้ด้วย

มีวิธีการตรวจสอบการใช้ยาอย่างหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า “brown bag” method
โดยการให้คนไข้นำยาทุกชนิดที่กำลังรับประทานอยู่มาให้แพทย์ทำการ
ตรวจนสอบ ซึ่งจะดีกว่ารายงานที่บันทึกเอาไว้เป็นหลักฐาน
จากเวชระเบียนของโรงพยาบาล

ทำการตรวจสอบว่า คนไข้กินยาตามขนาดที่กำหนดหรือไม่ ?
จากการวิจัยพบว่า 40 % ของคนสูงอายุไม่รับทานยาตามแพทย์สั่ง

ท่านจะต้องรู้ด้วยว่า  ยาแต่ละตัวมีผลข้างเคียงอย่างไร
และท่านควรระวังด้วยว่า มีภาวะอะไรบ้างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ
การเกิดปฏิกิริยาระหว่าง “ยา กับ ยา” (drug-drug reactions)

ยกตัวอย่าง ยา sildenafil (Viagra) เป็นยาที่เหมาะกับคนสูงอายุ
ที่มีปัญหาเรื่องหมดสมรรถภาพทางเพศ   แต่หากคนไข้เป็นโรคหัวใจ
และกำลังกินยา nitrate เช่น nitroglycerin หรือ isosorbide...
เมื่อรับทานยาร่วมกัน ( sildenafil + nitrate)  จะทำให้ระดับความดันลดลงถึง
ระดับที่น่ากลัว...ดังนั้นจึงเป็นข้อห้ามที่ไม่ควรใชยาดังกล่าว

เนืองจากอายุที่แก่ขึ้นมี่ผลกระทบต่อการกำจัดยาออกจากร่างกาย...และ
เพื่อช่วยให้คนไข้สูงอายุใช้ยาได้อย่างปลอดภัย เราจะต้องตรวจสอบผล
การตรวจเลือดบางอย่าง...เช่น การตรวจผลการทำงานของตับ
(liver function tests) และตรวจการทำงานของไต ดูระดับของ creatinine
ซึ่งเป็นตัวชี้บอกให้ทราบถึงการทำงานของไตว่า ไตทำงานได้ดีแค่ใด

ในการตรวจหาค่าของ creatinine ในเลือดซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการ
เปลี่ยนแปลง (by-product) ของกล้ามเนื้อ
ซึ่งคนไข้สูงอายุจะมีมวลกล้ามเนื้อน้อยกว่าคนหนุ่ม ดังนั้นการตรวจหา
ค่า creatinine ในคนสูงอายุอาจเป็นค่าที่สูงไป ดังนั้น เราควรใช้สูตรของ
Cockcroft-Gault ซึ่งเอาค่าของอายุ, เพศ, และน้ำหนักตัวมาคำนวณค่าของ
Estimate creatinine clearance

eGFR =    (140 - age) x Body Weight in Kg / 72 x Pcr


<< PREV   NEXT >> Part 5 :Keeping the elderly safe

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น