Dec. 14, 2013
คำถามจากสหายท่านหนึ่ง มีว่า...
"ผมไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด....ทำไมหมอจึงบอกว่า
....เป็นโรคไตเรื้อรัง ?"
โรคไตเรื้อรัง หมายถึง'''
(1) ไตถูกทำลายมาเป็นเวลานานตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
โดยให้คำจำกัดความของคำว่า มีความผิดปกติปรากฏในโครงสร้าง
หรือการทำงานของไตดานกรองของเสียออกจากร่างกายอาจลดต่ำลง
หรืออาจปกติได้ , ซึ่งอาจมีความผิดปกติทางพยาธิสภาพ หรือมีตัวชี้บอก
ให้ทราบถึงการทำลายของไต เช่น ความผิดปกติในเลือด และปัสสาวะ
หรือตรวจพบความผิดปกติจากภาพ ที่ตรวจด้วยวิธีพิเศษ (imaging tests)
(2) เมื่อ eGFR มีค่าตำ่่กว่า 60 โดยมีไตถูกทำลายหรือไม่มีการทำลายก็ได้
(ค่าของ eGFR หรือ สามารถคำนวณจาก plasma creatinine (P-crea),
age, Body weight in Kg, และ gender correction factor (GF) โดยใช้สูตร:
eGFR = (140 - Age) x Body Weight (Kg) x GF / P-crea x 72
ในการเกิดโรคไต...
มีปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งสามารถเพิ่มโอกาสให้เกิดโรคไตได้ ซึ่งได้แก่:
o อายุมากกว่า 65
o คนที่มีเชื้อสายจาก African-American ซึ่งมีโอกาสเพิ่มความ
เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตได้มากกว่าคนผิวขาวถึง 4 เท่า
o คนที่มีเชื้อชาติ Hispamic-American มีอากาสเพิ่มความเสี่ยง
ได้ถึงหนึ่งเท่า หรืองครึ่งเท่า)
o โรคเบาหวาน
o โรคความดันโลหิตสูง
o โรคในระบบหัวใจ แลเส้นเลือด, และหัวใจล้มเหลว
o โรคอ้วน
o โรคมะเร็งปอด หรือมโรคมะเร็งอย่างอื่นๆ, การอักเสบของปอด,
o หรือโรคตับ
o ระดับไขมัน cholesterol ในเลือดสูง
o การอักเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะ HIV หรือโรคตับอักเสบ
o โรคสมองเสื่อม (dementia)
o สูบบุหรี่เป็นิสัย
o ขาดน้ำ
o ได้รับการผ่าตัดมาใหม่ๆ
o สูญเสียเกลือ (salt)
o มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไต
o มีประวัติไตอักเสบติดชื้อต่างๆ หรือไตถูกทำลายจากการใช้
ยา หรือได้รับสารพิษ
o เพศชายมีโอกาสเกิดโรคไตภาวะสุดท้าย ESRD ได้สูงกว่า
เพศหญิงได้ถึง 50 %
o คออักเสบติดเชื้อ หรืออักเสบของผิวหนังจากเชื้อ streptococcal ในคนสูงอายุ
<<PREV NEXT >> Kidney Problems P 7 Symptoms &Warning
Signs of Kidney Disease
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น