Dec.8, 2013
เราจะทำให้คนสูงอายุได้รับการดูแลรักษา โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาด้าน
สุขภาพหลายชนิด ให้ดีขึ้นได้อย่างไร ?
เกี่ยวกับเรื่องนี้ หน่วยงานที่ชื่ว่า The American Geriactric Society
ได้เสนอหลักการสำหรับแพทย์ให้ใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุ
ซึ่งควรพิจารณาดังต่อไปนี้:
• พิจารณาตามความพึงพอใจของคนไข้
(Considering Patient preference)
แพทย์ผู้ทำหน้าที่รักษาผู้สูงอายุ นอกจากจะช่วยเหลือคนไข้แล้ว
ในบางครั้งจะต้องช่วยเหลือครอบครัว หรือเพื่อนของเขา ให้ตระหนัก
ถึงทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับคนไข้
เมื่อแพทย์เข้าใจในทางเลือกของคนไข้แล้ว ทั้งคนไข้ และแพทย์
ผู้ทำการรักษาควรต้องทำงานร่วมกัน เพื่อวางแผนตามแนวทางที่คนไข้
ได้เลือกไว้
อย่างไรก็ตาม มีคนไข้จำนวนไม่น้อยเลือกที่จะจัดการกับปัญหาของเขาเอง
แต่ก็มีไม่น้อยเช่นกัน ที่จำเป็นต้องให้แพทย์, สมาชิคในครอบครัว
รวมถึงเพื่อนของเขามีส่วนร่วมในการตัดสิ้นใจด้วย
• พิจารณาข้อมูลจากผลวิจัยทางการแพทย์
(Considering available medical research)
ผู้ทำการรักษาจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากผลวิจัยที่มีอยู่
เพื่อนำมาประกอบในการพิจารณาว่า การรักษาที่ได้ให้แก่
คนไข้นั้นเหมาะสมหรือไม่ ?
ผู้ให้การรักษาจะต้องเข้าใจด้วยว่า การรักษาที่คนสูงอายุได้รับไปนั้น
มีความไม่แน่นอนมากน้อยแค่ใหน ?
เมื่อตัดสินใจว่าจะให้การรักษาด้วยวีใดแล้ว ทั้งแพทย์และคนไข้
จะให้ความใสใจกับผลที่จะเกิดขึ้นร่วมกัน
ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนไข้ที่ได้รับการรักษา...
• การตัดสินเลือกแนวทางการรักษา จะขึ้นกับความเสี่ยง (risks) ,
ประโยชน์ (benefis), และการคาดการณ์ (prognosis) ที่พึงเกิด
กับคนไข้
ในการรักษาคนไข้...
เมื่อมีทางเป็นไปได้... แพทย์ และคนไข้ควรถกถึงปัญหาที่อาจ
เกิด หรือไม่เกิดขึ้นในขณะที่ได้รับการรักษาแต่ละอย่าง
นอกจากนั้น แพทย์ควรบอกให้คนไข้ได้ทราบว่า ผลที่จะได้รับ
จากการรักษาของแต่ละวิธีต้องใช้เวลานานเท่าใด ?
เพราะข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยให้คนไข้ได้ตัดสินใจว่า
วิธีการรักษาใดเหมาะสำหรับเขา
• ทำการประเมินแนวทางการรักษา...
(Assessing treatment options)\
แพทย์ผู้ทำการรักษา จะต้องตระหนักด้วยว่า
คนไข้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเลิกปฏิบัติตามแนวทางการรักษาเสมอ
โดยเฉพาะ การรักษา ซึ่งทำความยุงยากให้แก่คนไข้ จะก่อให้
เกิดความสับสน หรือเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นได้
• ทำให้แผนการดูแลรักษาเหมาะสมสำหรับคนไข้
(Optimizing treatments and care plans)
แพทย์ผู้ให้การดูแลรักษาคนไข้ ควรพยายามทุกวิถีท่าที่
จะให้คนไข้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรักษา และลดผลอันไม่พึง
ปราถนาลงให้มากที่สุด
ในขณะเดียวกัน แพทย์ควรแนะนำให้คนไข้ได้รับการรักษา
ด้วยวิธีที่ไม่ต้องใช้ยา (non-drug treatments) ซึ่งสามารถลดความเสี่ยง
จากการเกิด ปฏิกิริยาระหว่างยา และผลข้างเคียงอย่างอื่น...
แนวทางการรักษาแต่ละอย่างที่กล่าวมา สามารถทำให้การ
ดูแลคนสูงอายุที่มีหลายโรค ให้ได้รับประโยชน์สูงขึ้น
โดยที่แต่ละคนต่างมีความเป็นเอกลักษณ์ และมีความพึงพอใจ
ที่แตกต่างกัน
<< PREV NEXT >>เมื่อปัญหาสุขภาพรุมเร้า Part 3: What You Can Do ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น