Dec. 7, 2013
ในสังคมของคนสูงอายุ...
ไม่ว่าจะเป็นของชนชาติใด ปรากฏว่า มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อย ต่างต้อง
ดำเนินชีวิตร่วมกับโรคประจำตัว ซึ่งเป็นโรคโรคเรื้อรังกันหลายชนิดไปจนกว่า
ร่างกายของเราจะหมดสภาพไป...
จากรายงานที่พอเชื่อได้ กล่าวว่า...
ในคนวัย 65 หรือมากว่าพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่ง มีโรคประจำตัว 3 ชนิด
หรือมาก โดยเป็นโรคเรื้อรัง ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา
โรคที่พบในคนสูงอายุที่พบกันบ่อย ได้แก่:
โรคหัวใจ (Heart diseases), โรคเบาหวาน (diabetes), โรคข้ออักเสบ (arthrtis)
หรือ โรคความดันโลหิตสูง (high blood pressure)
ในการดูแลรักษาคนสูงอายุ ผู้ซึ่งมีปัญหาด้านสุขภาพหลายอย่าง จะเห็นว่า
ผู้ดูแล (health provider) ต้องอาศัยประสบการณ์กันพอสมควร เพราคนสูงอายุ
จำเป็นต้องได้รับยาหลายขนาน ซึ่งหากไม่ระมัดระวังให้ดี ยาที่คนสูงอายุ
ได้รับอาจทำปฏิกิริยาต่อกันและกัน... เป็นอันตรายต่อคนสูงอายุได้
ไม่แต่เพียงเท่านั้น...
แนวทางการรักษาคนไข้ ซึ่งมีไว้เพื่อเป็นหลักในเวชปฏิบัติ จะโฟกัสไปยังวิธี
การการรักษาโรคเพียงหนึ่งโรคเท่านั้น...ไม่ใช้หลายโรค
นอกจากนั้น ผลวิจัยทางการแพทย์ ที่เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของคนสูงอายุ
ยังมีไม่มากนัก ไม่ว่าจะป็นยาที่ผลิตออกมา หรือแนวทางการรักษา รวมถึง
ผลกระทบที่เกิดขึ้น เมื่อเทียบกับคนทั่วไปแล้ว มีน้อยมาก
ซึ่งหมายความว่า เราไม่มีข้อมูลทางการแพทย์เพียงพอ จึงจำเป็นต้อง
อาศัยประสบการณ์เป็นส่วนประกอบในการดูแลรักษาคนสูงอายุเหล่านั้น
>> NEXT Part 2 : Guiding Principles on Caring for Older Adults
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น