วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เล่นอะไรไม่เล่น...ดันไปเล่นกับเชื้อ HIV ? P. 3: Effectiveness of PEP

Dec. 19, 2013

Post-exposure prophylaxis...
ในการป้องกันการติดเชื้อ HIV หลังการสัมผัส (PEP) ได้มีการทดลอง
ทั้งในสํตว์  และในคน และจากผลที่ได้รับมีมากพอที่จะยืนยันได้ว่า
การป้องกันหลังติดเชื้อเอชไอวี มีประสิทธิภาพพอที่จะลดความเสี่ยงจาก
การเกิดโรค HIVได้

ผลที่ได้จากการศึกษา  ได้สรุปเป็นที่ยอมรับของหลายๆ ประเทศ พร้อม
กับมีการเสนอให้เป็นแนวทางในการปัองกันหลังสัมผัสเชื้อไวัสดังกล่าว ให้แก่
บุคลากรที่ทำงานในสถานพยาบาล และคนทั่วไป   ซึ่งถูกข่มขืนทางเพศ
รวมไปถึงกลุ่มคนผู้ซึ่งไม่ระมัดระวังตนให้พ้นจากการสัมผัสเชื้อเอชไอวี

อย่างไรก็ตาม...
แม้ว่าการป้องกันหลังติดเชื้อดังกล่าว จะไม่ได้ผล 100 % ก็ตาม  แต่จากความ
เห็นของคนกลุ่มหนึ่ง มีความเห็นว่า การป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลังการสัมผัส (PEP)
น่าจะดีกว่าไม่ทำอะไรเลย แตในขณะเดียวกัน ก็มีอีกกลุ่มกับมีความเห็นว่า
ควรสงวน PEP เอาไว้เป็นวิธีสุดท้าย ?

ในกรณีที่มีการใช้ PEP พบว่า มีปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งมีผลกระทบต่อการผลของให้
ยาต้านไวรัสได้ (effectiveness)  เป็นต้นว่า

o Delayed initiation:
ในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลังการสัมผัสเชื้อ (PEP) ถ้าจะให้ได้ผล...
ยา (anti-retrovial drugs) จะต้องให้เร็วที่สุดที่จะกระทำได้ นั้นคือ ภาย 72 ชั่วโมงหลัง
การสัมผัสเชื้อ HIV แต่ถ้าให้หลังจากนั้น ผลที่ได้จะลดลงอย่างมาก(severly diminished)
ไม่คุ้มกับความกับอันตรายที่จะเกิดจากยา !

o Resistance virus:
ในคนที่เป็นโรคเอชไอวี (ต้นตอ) อาจเป็นเชื้อที่ต้านต่อยารักษา(drug-resistant HIV)
ดังนั้น สุภาพบุรุษท่านใดไปเจอกับเชื้อไวรัสที่มีความสามารถต้านยาดังกล่าว
การป้องกันหลังสัมผัสเชื้อเอชไอวี (PEP) ไม่น่าจะได้ประโยชน์

o Adherence:
ในการรับทานยาป้องกันการติดเชื่อหลังการสัมผัส (PEP)
หากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ให้การรักษาอย่างเคร่งครัด  ผลการรักษา
อาจประสบกับความล้มเหลวได้

สาเหตุที่ทำให้คนที่สัมผัสเชื้อ HIV ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ ก็เนื่องมาจากผล
ข้างเคียงของยาเป็นสำคัญ ทำให้คนไข้ไม่สามารถปฏิบัตตามได้ครบ 28 วัน...
.ผลที่ได้จึงเสียเปล่า.... !


<< PREV   NEXT >> P. 4 : Who can benefit from PEP?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น