วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เมื่อท่านรับประทานยาหลายขนาน Part 3: Aging affects drug sensitivity

Dec. 8, 2013

เราจะเห็นว่า คนไข้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์
จากการใช้ยา (adverse drug event) เป็นเพราะคนสูงอายุนั้นมีการเปลี่ยน
แปลงในสรีระ...ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อผลของยาได้ไวกว่าปกติ
โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อ “การที่ร่างกายมีปฏิกิริยา
ต่อยา (pharmacokinetics) และยาทำปฏิกิริยาต่อร่างกาย (pharmacodynamics)

ปฏิกิริยาของร่างกายที่มี่ต่อยา (pharmacokinetics)...
ปรากฏว่า มีสามประการด้วยกัน นั้นคือ การดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย (absorption),
การกระจายตัว (distribution), และการกำจัดออกจากกาย (clearance)

การดูดซึมของยา (absorption)
การดูดซึม โดยเฉพาะภายหลังการรับทานเข้าไปแล้ว จะมีผลกระทบน้อยสุด
แต่ในคนสูงอายุจะพบว่า การดูดซึมของยาจะดำเนินไปอย่างช้าๆ แต่สามารถ
ดูดซึมได้หมด ส่วนการดูดซึมของยาผ่านผิวหนัง พบว่าอาจเพิ่มมากขึ้นได้
เพราะผิวหนังของคนสูงอายุบางมาก

แต่ในการรับทานยาหลายขนานพร้อมกัน
การดูดซึมของยาตัวหนึ่งอาจมีผลกระทบกับการดูดซึมของยาตัวอื่นได้

การกระจายตัวของยา (distribution)
เมื่ออายุย่างสู่วัยชรา จะมีผลกระทบต่อการกระจายตัวของยาไปตาม
ส่วนต่างๆ ของร่างกาย การกระจายตัวสู่ส่วนที่เป็นไขมัน หรือส่วนที่
เป็นน้ำ ย่อมขึ้นกับลักษณะทางเคมีของยา...

เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น เราจะพบว่า ปริมาณของไขมันในร่างกายจะเพิ่มขึ้น
ดังนั้น ยาที่จัดอยู่กลุ่มละลายในไขมัน (fat-soluble) เช่น diazepam
(valium) อาจอยู่ในร่างกายได้นานกว่าปกติ เพราะมันจะสะสมในไขมัน

และเนื่องจากคนสูงอายุมีส่วนของน้ำน้อยกว่าคนหนุ่ม...
จึงเป็นเหตุให้ยาที่ละลายในน้ำ (water-soluble) เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่าง
กายจึงอาจมีความเข็มข้นสูงกว่าปกติ

นอกจากความเปลี่ยนแปลงในปริมาณของไขมัน และน้ำภายในร่างกาย
ของคนสูงอายุดังกล่าว เมื่อนำมาร่วมกับ “การจับตัวของยากับโปรตีน
(protein binding)” จึงทำให้ยากต่อการคาดการณ์ได้

การกำจัดยาออกจากร่างกาย (Clearance)
คนที่มีอายุสูงขึ้น ย่อมมีผลกระทบต่อการกำจัดเอาสารที่เปลี่ยนแปลง
ในตับ (metabolized) และในไต ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สารดังกล่าวจะถูกกำจัดทิ้งไป 
โดยเราจะเห็นว่า เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น จะเห็นว่าการไหลเวียนของเลือด
สู่ตับจะลดลง ซึ่งสามารถลดการกำจัดยาออกจากร่างกายได้ถึง 30 % - 40 %

นอกจากนั้น เรายังพบว่า Cytochrome P450 enzyme system เป็นเอ็นไซม์
ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง (metabolized) ของยาภายในตับ
 ซึ่งมักจะถูกทำลายได้ง่ายในคนสูงอายุ เป็นเหตุให้การเปลี่ยนแปลง
ของยาภายในตับช้าลง หรือเปลี่ยนแปลงได้ไม่ดีเที่ควร

เรายังพบอีกว่า...
ขนาดของไตในคนสูงวัยจะเล็กลง ไม่แต่เท่านั้น การไหลเวียนของเลืด
สู่ไตก็ลดลงด้วย เป็นเหตุให้การกำจัดเอายาออกจากร่างกายลดลงได้
ถึง 50 % ของคนที่มีอายุย่างเข้าสู่วัย 75

ปฏิกิริยาของยาที่มีต่อร่างกายของมนุษย์ (Pharmacodynamics)
อายุที่แก่ตัวยังมีผลต่อฤทธิ์ของยาที่มีต่อร่างกายของมนุษย์ด้วย

โดยมีหน่วยที่เราเรียกว่า ตัวรับยา (drug receptors)
ซึ่งมันจะเปล่ยนแปลงตามอายุที่แก่ตัวขึ้นเช่นกัน  จึงเป็นเหตุให้ร่างกาย
มีความไวต่อตัวยาบางชนิดเปลี่ยนแปลงไป

ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท และสมอง...
จะมีผลกระทบต่อสมองของคนสูงอายุได้มากกว่าคนหนุ่ม  เพราะมี
การเปลี่ยนแปลงใน “ตัวกั้นระหว่างเลือด และสมอง (blood-brain barrier)”

การเปลี่ยนแปลงใน pharmacokinetics และ pharmacodynamics
จะเพิ่มความเสี่ยงขึ้นในคนสูงอายุ โดยเกิดขึ้นทั้งปฏิกิริยาระหว่าง “ยา-ยา”
และ “ยา-โรค”...

Drug-Drug interactions:

โดยปฏิกิริยาระหว่าง “ยา – ยา” มักจะเกิดขึ้นเมื่อคนสูงอายุรับประทานาย 2
ขนาน ซึ่งมีข้อชี้บ่งในการใช้ยาต่างกัน แต่มีผลทางเภสัชวิทยาร่วมกัน
ยกตัวอย่าง...คนไข้ได้รับแก้ปวด (analgesic analgesic) และยารักษาอาการ
ท้องร่วง (antidiarrheal agent) โดยยาทั้งสองจะใช้ด้วยเหตุผลต่างกัน
แต่ยาทั้งสองสามารถทำให้เกิดท้องผูกได้

Drug-disease interactions:

ปฏิกิริยาระหว่างยา และโรค ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเพราะยาที่คน
ไข้รับทานทำให้โรคแย่ลง ซึ่งมักจะเกิดในคนสูงอายุ
ตัวอย่างที่เห็นได้แก่ การใช้ยากลุ่ม anticholinergic drugs สามารถ
ทำให้โรค glaucoma, Alzheimer’s disease และ โรคต่อมลูกหมาก
โตมีอาการเลวลงได้


<< PREV      NEXT>> Part 4: Know what to look for, how to help

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น