วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ของยาในคนสูงอายุ 1: (Altered Drug Action with Aging)

Jun 2013


ท่านเคยได้ยินประโยคต่อไปนี้มาบ้างหรือไม่ ?
สอง บวก สอง มีค่าไม่เท่ากับ สี่... ?
ฟังแล้วอาจทำให้หลายท่านงุนงง...ก็ได้

เรื่องที่จะนำเสนอ ไม่เกี่ยวกับอำนาจของมนุษย์ ที่สามารถบงการให้
ใคร ๆ ปฏิบัติตาม แต่มันเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในคนไข้ผู้สูงวัย
นั่นคือ เมื่อเขาได้รับยารักษาโรค ปรากฏว่าผลที่เกิดขึ้นไม่ตรงไปตรงมา  
ซึ่งพอจะอนุโลมได้ว่า  2 + 2 ไม่ใช้ 4
แต่อาจเป็นเท่าไหร่ก็ย่อมได้ 

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นละ ?

เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น...
เราจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายหลายประการ
หรือพูดตามภาษาแพทย์ว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ...
ยังผลให้เกิดมีการกระทบกับยา ที่คนสูงอายุรับประทานเข้าไปได้ไม่มาก
ก็น้อย 

การเปลี่ยนแปลงภายในองค์ประกอบทั้งหลายที่เกิดในกาย รวมถึงการทำงาน
ของอวัยวะต่าง ๆ ได้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ
ตามอายุที่แก่ตัวขึ้น

ไม่เพียงเท่านั้น...
ร่างกายของคนสูงอายุยังมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย
ซึ่งเมื่อมีโรคเกิดขึ้น ยิ่งทำให้ส่วนประกอบของยาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอีก

ในคนไข้ผู้สูงวัย (geriatric patients)...
พวกเขาอาจตอบสนองต่อยาได้ไว (more sensitive) กว่าคนหนุ่ม-สาว
ซึ่งเป็นเหตุให้คนสูงอายุมีความเสี่ยงต่อการแพ้ยา (side effect)
ได้มากกว่าคนหนุ่ม-สาว ที่ใช้ยาในขนาด (dose) เดียวกัน

ตามทฤษฎี...
เมื่อคนเรารับประทานยา จะเกิดปรากฏการณ์สองประการขึ้น

ประการแรก: ยาออกฤทธิ์ต่อร่างกาย หรือที่เรียกตามศัพท์แสงด้านเภสัช...
และด้านการแพทย์ว่า “pharmacodynamics)

ประการที่สอง: เมื่อคนเรารับประทานยา จะมีกระบวนการหลายอย่าง
ซึ่งร่างกายกระทำต่อตัวยา หรือจะเรียกว่า pharmacokinetics
ซึ่งเป็นกระบวนการทีประกอบด้วยการดูดซึมของยา (absorption),
การกระจายตัว (distribution) ของยาสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย, มีการเปลี่ยน
แปลงทางเคมี (metabolism) ของยาให้เป็นสารอย่างอื่น (metabolites),
และสุดท้ายเป็นการขจัดออกจากร่างกาย(elimination)
โดยอาศัย "ไต" เป็นตัวรับผิดชอบต่องานดังกล่าว

ในปรากฏการณ์ทั้งสอง...
จะมีความสัมพันธ์ต่อกัน โดย pharmacokinetics บ่งบอกให้เราได้ทราบ
ถึงปริมาณของยา ที่เดินทางผ่านกระแสเลือด และสู่ตำแหน่ง
ที่ยาจะออกฤทธิ์

ส่วน pharmocodynamics จะเกี่ยวข้องกับปริมาณความเข็มข้นของยา
ตรงตำแหน่งที่ยาจะออกฤทธิ์

ดังนั้น เราจะเห็นความสัมพันธ์ในปรากฏการณ์ทั้งสอง โดยคนไข้จะตอบ
สนองต่อยาที่มีความเข็มสูงได้ (เมื่อผลของการดูดซึมของยาสูงนั้นเอง)



>> Next : Absorption

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น