วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เมื่อคนสูงอายุต้องกินยา (2 ) : Osteroarthritic Pain : Treatment strategies

Jun. 2013

การรักษา... 
โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้
และในการรักษาเราจะมุ่งไปที่ ลดความเจ็บปวด,  ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อ
ดีขึ้น  พร้อมๆ กับเพิ่มคุณภาพชีวิต ให้แก่คนไข้

แนวทางการรักษาประกอบด้วย...

§  บริหารร่างกาย เพื่อทำให้ข้อสามารถงอพักได้เป็นปกติ และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
  ด้วยการให้ยาลดความเจ็บปวด (analgesic or pain medication),
§  ประคบด้วยความร้อน หรือเย็น สามารถลดความเจ็บปวดลงได้,
§  ปกป้องข้อ ไม่ให้ข้อทำงานหนัก (reduce strain orstress) ด้วยการ ควบคุม
  น้ำหนักตัว ไม่ให้มีน้ำหนักตัวเกิน

การรักษาอย่างอื่นๆ (non-pharmacologic  treatment) ได้แก่...
กายภาพบำบัด และอาชีวะบำบัด รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ช่วย (assistive devices) 
เช่น brace และ footwear, การดึงข้อ (traction) และใช้อุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ข้อเคลื่อนไหว, รวมถึงการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า 
(transcutaneous electrical nerve)


MYTHS & FACTS

MYTH: มีการกล่าวว่า...ยากลุ่ม NSAIDs เป็นยาที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับรักษา
          คนสูงอายุที่มีอาการเจ็บปวดขนาดเล็กน้อย ถึงปานกลาง โดยมีสาเหตุ
          มาจากโรคข้อเสื่อม (osteoarthritic pain

FACT:  ความจริงมีว่า ในโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) จะมีการอักเสบ 
          (inflammation) เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยาอันดับแรก
          (first-line agent) ที่ถูกแนะนำให้นำใช้รักษาโรคดังกลา่่าว คือ
          acetaminophen เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด

MYTH: ยากลุ่ม opioids ไม่ควรนำมาใช้บรรเทาอาการปวด ขนาดปานกลาง
          ถึงรุนแรงของคนสูงอายุ ซึ่งเกิดจากโรคที่ไม่ใช่มะเร็ง

FACT:  ความจริงมีอยู่ว่า....
          ยากลุ่ม opioids เป็นยาที่ถูกแนะนำให้รักษา (บรรเทา) อาการปวด
          ซึ่งมีขนาดปานกลาง ถึงรุนแรงมาก โดยที่ยาชนิดอื่นไม่สามารถช่วยให้
           คนไข้หายจากความเจ็บปวดได้

          
MYTH:  มีการกล่าวกันว่า...
           ถ้าคนสูงอายุใช้ (กิน) ยา opiods รักษาอาการปวดจากโรคที่ไม่ใช้
   มะเร็ง...จะทำให้คนสูงอายุติดยา (addicted) ภายในไม่กี่วัน ถึงวัน
   อาทิตย์              
FACT:   ความจริงมีว่า...
           คนไข้จำนวนมากที่ใช้ (กิน) ยากลุ่ม opioids อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลด
           อาการปวดอาจจำเป็นต้องพึงพายาตลอดไปได้
           แต่การเสพติดยาเป็นได้น้อยมาก ซึ่งเภสัชกรสามารถแยกระหว่างการ
           พึ่งพายา (dependence) และการเสพติด (addiction)

 << Prev.  Next >> Osteoarthritis: Drug Therapy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น