Jun 22, 2013
เราไม่สามารถทราบได้อย่างแน่ชัดว่า
อะไรคือสาเหตุทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า แต่มีปัจจัยหลายอย่าง
อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าได้ เป็นต้นว่า:
§ ความแตกต่างทางชีวภาพ (Biological differences)-
ในคนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้า เราจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในสมอง
ของพวกเขา ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังไม่สามารถบอก
ได้ชัดว่า เป็นสาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้าหรือไม่ แต่อย่างน้อย
อาจเป็นข้อมูลนำไปสู่สาเหตุที่แท้จริงได้
§ สารสื่อปกระสาท (neurotransmitters)-
มีสารสื่อประสาทหลายชนิดที่เกิดภายในสมอง ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์
กับอารมณ์ ซึ่งเชื่อว่า สารสื่อประสาทดังกล่าว
อาจมีบทบาทโดย
ตรงกับการทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้
§ ฮอร์โมน (Hormones)-
เมื่อความสมดุลของฮอร์โมนหลายอย่าง ที่อยู่ในร่างกายเสียไป
อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้
เช่นปัญหาของต่อมไทรอยด์, หมดประจำเดือน และปัญหาอื่น ๆ
§ ความผิดปกติทางพันธุกรรม.
เราจะพบว่า มีคนเป็นโรคซึมเศร้าหลายคนปรากฏในครอบครัวเดียวกัน
ซึ่งนักวิจัยเกิดความสงสัยว่า ความผิดปกติในพันธุกรรม อาจมีส่วน
ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
§ ประสบการณ์ของชีวิต-
เหตุการณ์บางอย่าง เช่น
ความตาย หรือการสูญเสียคนที่เรารัก,
ปัญหาด้านการเงิน,
ความเครียด, สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะ
ซึมเศร้าในคนบางคนได้
§ การใช้ชีวิตที่ผิด หรือการสูญเสียพ่อแม่ในวัยเด็ก อาจทำให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงในสมองได้
ซึ่งอาจทำให้เขาเกิดภาวะซึมเศร้าได้
การวินิจฉัย
(Diagnosis)
เราสามารถให้การวินิจฉัยโรคดังกล่าวได้ไม่ยาก โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากคนไข้
ที่มีอาการเป็นการสูญเสียความสนใจ, ความพอใจ,
หรือมีอารมณ์หดหู่ เป็นเวลาอย่างน้อย 2 อาทิตย์
พร้อมกับมีอาการอย่างอื่นอีกอย่างน้อยอีก
5
อย่าง เช่น
§ น้ำหนักตัวลด
(weight
loss)
§ นอนไม่หลับ
หรือหลับมากเกิน (insomnia
or hypersomnia),
§ หงุดหงิด-งุ่นง่าน
(agitation)
หรือ ปัญญาอ่อน (retardation)
§ อ่อนแอ (decreased energy)
§ รู้สึกผิด (feeling of guilt)
§ ไม่มีสมาธิ (inability to
concentrate)
§ มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
(thoughts
of suicide)
ภาวะซึมเศร้า
ในคนสูงอายุมักจะไม่ได้รับการวินิจฉัย และไม่ได้รับการรักษา
ได้เท่าที่ควร ทั้งๆ ที่อาจมีคนเป็นโรคดังกล่าวเดินผ่านหน้าเราทุกวัน
หากเราสามารถให้การวินิจฉัยได้ เราสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้
โดยเรามียาใหม่ ๆ (antidepressants) ให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
อุปสรรคที่ขัดขวางการวินิจฉัยภาวะ
(โรค) ซึมเศร้า ได้แก่:
§ ความเข้าใจของแพทย์,
ตัวคนไข้เอง, และผู้ให้การดูแลรักษาต่าง
เข้าใจว่า ภาวะซึมเศร้าที่เกิด
เป็นส่วนหนึ่งของคนสูงอายุ
ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ใช้เรื่องผิดปกติ
§ ภาวะซึมเศร้า
ที่เกิดร่วมกับโรคต่าง ๆ เช่น โรคสมองเสื่อม (dementia),
และความเครียด
อาจบดบัง หรือทำให้การวินิจฉัยโรคได้ยากขึ้น
หรืออาจทำให้ผู้ให้การรักษาไม่ให้ความสนใจต่อภาวะดังกล่าวเท่าที่ควร
§ ยารักษา (medications) ซึ่งใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง,
ความเจ็บปวด, โรคพาร์กินสัน, โรคข้ออักเสบ
อาจทำให้การวินิจฉัยโรคผิดพลาดไป หรืออาจเป็นต้นเหตุทำให้เกิด
ภาวะซึมเศร้าเสียเอง
§ คนสูงอายุที่เป็นโรคจิตประสาท
ถูกวินิจฉัยเป็นอาการของโรคจิตประสาท
หรือแพทย์ที่ทำการตรวจรักษาโรคทางกาย ให้ความสนใจเฉพาะ
ความผิดปกติของกายเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ใส่ใจต่อภาวะซึมเศร้า
ซึ่งเป็นความผิดปกติทางจิตเท่าที่ควร และประการสุดท้าย
§ คนสูงอายุส่วนใหญ่...มีโอกาสที่จะสัมผัสกับความรู้สึกของการสูญเสีย
เป็นต้นว่า
สูญเสียคนที่เขารัก, สูญเสียที่อยู่อาศัยที่เคยอยู่
รวมถึงปัจจัยกดดันอย่างอื่น
เช่น มีปัญหาทางด้านเงินทอง
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้
อย่างไรก็ตาม
ภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียคนรัก หรือสูญเสียที่อยู่
อาศัย
ควรได้รับการรักษา โดยเฉพาะในรายที่มีอาการซึมเศร้าที่เกิดนานกว่า
2 เดือน
ปัจจัยอย่างอื่น
ๆ ที่ขัดขวางการรักษาคนสูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า คือ
การขาดการศึกษา
และขาดข้อมูลเกี่ยวกับคนสูงอายุที่เป็นโรคดังกล่าว
โดยเฉพาะในกลุ่มคนสูงอายุมากกว่า
85
เมื่อคนสูงอายุเป็นโรคซึมเศร้า
ได้รับยารักษาในช่วงหลังของของวัยชราภาพ
เราจะพบว่า
กว่าจะเห็นผลของการรักษาจำเป็นต้องใช้เวลานานหน่อย
อย่างน้อย
ๆ ต้องกินเวลา 12 อาทิตย์ (สามเดือน)
ในราย
(คนสูงอายุ) ซึ่งได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
จะได้รับผลดีเท่าๆ กับ
การรักษาคนหนุ่มที่เป็นโรคเดียวกัน โดยทำให้อาการ
และอาการแสดง
ของภาวะซึมเศร้าลดลง, คุณภาพชีวิตดีขึ้น, ลดโอกาสที่จะเกิดซ้ำขึ้นอีก,
และลดอัตราฆ่าตัวตายลง
<<
Prev. Next >> : Drug therapy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น