วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Diabetes (3) (common Geriatric disease): ทางเลือกในการรักษาโรคเบาหวาน (Treatment Options for Diabetes)

JUn 20,2013

มียาเม็ดลดระดับน้ำตาลสำหรับเบาหวานประเภทสอง ตามตาราง
ที่ 4 สามกลุ่มแรก จะทำหน้าที่กระตุ้นตับอ่อนให้ปลดปล่อย “อินซูลิน” ออกมา
เราเรียกยาพวกนี้ว่า insulin secretagogues

ในขณะที่เรามียาจำนวนมากมายให้เลือก เพื่อใช้รักษาคนเป็นโรคเบาหวาน
ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนในกลุ่มผู้ให้การรักษา รวมถึงตัวคนไข้
ว่าควรเริ่มต้นอย่างไร

มีแพทย์จำนวนไม่น้อย ใช้วิธีการรักษาตามขั้นตอน (stepped care approach) 
เหมือนกับการรักษาความดันโลหิตสูง:

ขั้นตอนที่ 1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Lifestyle Changes):
เป็นการรักษาด้วยการควบคุมอาหาร, ออกกำลังกาย (exercise), 
และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคหัวใจ และเส้นเลือดลง

อาหารการกิน และการออกกำลังกาย จัดเป็นส่วนสำคัญต่อการรักษาโรคเบาหวาน 
แม้ว่าเขาจะได้รับยาเม็ดลดน้ำตาลรักษาก็ตาม 
เรื่องอาหารก็ยังจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด 
ซึ่งนักโภชนาการสามารถให้คำแนะนำในเรื่องอาหารการกินที่ถูกต้องได้

อย่างไรก็ตาม มีหลักการพื้นฐานที่เราต้องติดตาม
โดยเราต้องวางแผนการรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน 
ซึ่งอาจมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นต้นว่า ปัจจัยทางวัฒนธรรม,
ปัจจัยทางสังคม และเศรษฐกิจ  ซึ่งในระยะแรก (ถ้าเป็นไปได้)  เราควรปรึกษา
นักโภชนาการ

ระยะห่างระหว่างเวลารับประทานอาหาร, สร้างความสมดุลในการ
รับประทานอาหาร โดยเฉพาะกระจายอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตตลอดทั้งวัน 
ถือว่าเป็นกลยุทธ์ง่ายๆ ที่คนไข้สามารถกระทำได้ไม่ยากนัก

อาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต จะถูกเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาล “กลูโกส”
ที่ไหลเวียนในกระแสเลือด  ดังนั้นอะไรก็ตาม
ไม่เพียงแต่คาร์โบไฮเดรตเท่านั้นหรอกที่เพิ่มน้ำตาลในกระแสเลือด 
ยังมีอย่างอื่นอีกมาก เช่น candy, cola และ ขนมหวานทั้งหลาย
สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในแสเลือดได้เช่นกัน ซึ่งคนไข้เบาหวานจะต้องระมัด
ระวัง และนำมาคำนวณวัดปริมาณคาลอรี่ที่ตนเองรับประทานด้วย

คนเป็นโรคเบาหวานประเภทสองส่วนใหญ่จะเป็นคนมีน้ำหนักเกิน 
เพียงแค่ลดน้ำหนักลง ประมาณ 10 – 20 ปอนด์ จะสามารถลดระดับน้ำตาล
กระแสเลือดได้อย่างดี และ ทำให้ความดันโลหิต
และระดับไขมันในกระแสเลือดดีขึ้นได้

ในขณะที่มีวิธีการลดน้ำหนักมากมาย...
การลดไขมันอิ่มตัว (saturated fats) ในอาหาร และการออกกำลังกาย
ด้วยการเดิน   มักจะให้ผลที่มีประสิทธิภาพต่อการลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี

ถ้าคนไข้สูบบุหรี่...เขา/เธอ ควรเลิกสูบบุหรี่เสีย
ซึ่งอาจแนะนำให้ไปพบกับแพทย์  เพื่อช่วยเหลือในการเลิกสูบบุหรี่

คนที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคหัวใจ หรือมีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
เช่น คนที่มีประวัติครอบครัวว่าเป็นโรคดังกล่าว,  สูบบุหรี่, ความดันโลหิตสูง,
โรคไต, อ้วน, มีอายุมากกว่า 30 ปี  และมีความผิดปกติในไขมัน cholesterol 
ในกระแสโลหิต... ADA แนะนำให้ คนเหล่านี้ รับประทาน แอสไพริน 
81- 325 mg/วัน

Mr. Brown (Case I) เคยมีประวัติเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด 
ดังนั้น การที่เขากินยา aspirin ทุกวัน จึงมีเหตุผลสมควร 
ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้ภาวะหัวใจขาดเลือดเกิดขึ้นอีก

ขั้นตอนที่ 2 รับประทานยาเม็ดลดน้ำตาล 1 ขนาน
(เพิ่มอาหาร และการออกกำลังกาย)

เมื่อการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลใน
กระแสเลือดได้ตามเป้า  เราอาจเริ่มให้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลแก่คนไข้
เป็นการเพิ่มกับขั้นตอนแรก (ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย)
โดยมียาเม็ดรับประทานให้เลือกใช้...

Metformin (Glucophage®) เป็นยาที่นิยมเลือกใช้ในคนที่มีน้ำหนักเกิน (overweight) เพราะเป็นยาที่ไม่ทำให้มี่น้ำหนักเพิ่ม
ส่วน sulfonylureas, repaglinide (prandin®) และ nateglinide
(Starlix®) ต่างเป็นยาเม็ดลดน้ำตาลที่สามารถเพิ่มน้ำหนักตัว

ส่วนยากลุ่ม thiazolidinediones…
เมื่อมีการใช้ยาตัวนี้ จำเป็นต้องตรวจการทำงานของตับ (liver function test)
ทุกเดือนเว้นเดือนในปีแรกที่ใช้ยา
ยาในกลุ่มนี้จะถูกนำไปใช้ร่วมกับยาลดน้ำตาลตัวอื่น

ขั้นตอนที่ 3. ใช้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลด้วยการใช้ร่วมกัน
                    (Combination Oral Medications)

เมื่อการกินยาเม็ดลดน้ำตาล ไม่สามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลงสู่
ระดับเป้าหมายได้   เราจำเป็นต้องเพิ่มยาเม็ดน้ำตาลตัวที่สองเข้าไปอีก
เพื่อหวังผลในการลดน้ำตาลให้ลงสู้เป้าให้ได้

การให้ยาลดน้ำตาลมีหลักอยู่ว่า  เราจะต้องใช้ยาที่ออกฤทธิ์ในตำแหน่ง
ที่แตกต่างกัน และหากให้สองตัวแล้วไม่ได้ผล  เราจะต้องให้ยาเม็ดเพื่อ
ลดน้ำตาลตัวที่สามเข้าไป


ขั้นตอนที่ 4. ให้การรักษาด้วยยาเม็ดลดน้ำตาล + ยาฉีดอินซูลิน
                 (Oral Medication Therapy Plus Insulin)

 ในคนไข้โรคเบาหวานประเภทสอง เมื่อเวลาผ่านนานเข้า โดยธรรมชาติ 
โรคเบาหวานจะเลวลงไปเรื่อย ๆ ตับอ่อน (pancreas) จะผลิต “อินซูลิน”
ได้น้อยลง..และน้อยลง

และจากปรากฏการณ์ดังกล่าว UKPDS ได้ชี้ให้เห็นว่า...ทุก 4 – 6 ปีจะต้อง
มีการเพิ่มยาเม็ดลดน้ำตาลให้แก่คนไข้

ขั้นตอนที่ 5. การใช้ยาฉีดแต่เพียงอย่างเดียว (Insulin Alone)

มีคนเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง จำนวนไม่น้อยที่ใช้ยาฉีดอินซูลินแต่เพียง
อย่างเดียว เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้ลดลงสู่เป้าหมาย และ
 มีคนไข้เบาหวานประเภทสองบางราย ไม่เคยใช้ยาเม็ดลดน้ำมาก่อน...
ไม่เคยใช้ Metformin (Glucophage®)  หรือ thiazolidinedione
มาก่อนเลย แต่จะได้รับการรักษาด้วย “อินซูลิน” ตั้งแต่เริ่มแรก

ในกรณีที่มีการรักษาด้วย “อินซูลิน” การให้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาล
อาจช่วยส่งเสริมให้มีการควบคุมระดับน้ำตาล (glycemic control) ได้ดีขึ้น
และสามารถลดปริมาณ “อินซูลิน” ลงได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น