วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Alzheimer’s Disease (AD)3: การรักษาด้วยยา (Drug therapy)

 May 30,2013

Continued….
  
เมื่อหลายปีมาแล้ว  ปรากฏว่ามียาจำนวนหลายขนาน 
ได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาคนไข้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดต่างๆ 
เพื่อทำให้ความจำของเขาดีขึ้น และลดอาการสับสนลง ได้แก่:  
ergoloid myslates (Hydergine®ม, cyclanderlate (Cyclopasmol®), 
papaverine (Pavabid®), niacin, choline hydrochloride  
และ lecithin

แม่ว่าจะมีเอกสารจากการวิจัย  ได้ชี้แนะว่า  ยาต่างๆ เหล่านี้เป็นยาที่มี
ประสิทธิภาพในการรักษาภาวะสมองเสื่อม (dementia) ก็ตาม
แต่ก็ปรากฏว่า ไม่ได้รับความนิยมในด้านเวชปฏิบัติกัน

สาเหตุที่ยาต่างๆไม่ถูกนำไปใช้ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ 
เป็นเพราะการวิจัยหลายชิ้นที่กระทำขึ้นในอดีต  ปรากฏว่า
เป็นการวิจัยที่ใช้ในกลุ่มคนจำนวนน้อยมาก  และรูปแบบการวิจัยก็มีความ
บกพร่อง...จึงทำให้ผลงานไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ

Cholinesterase Inhibitors

ยาในกลุ่มนี้มีจำนวน 5 ตัวได้รับการรับรองให้นำไปใช้ในการรักษาคนไข้ที่
เป็นโรค “อัลไซเมอร์”  ได้แก่ Tacrine (Cognex®), donepezil
(Aricept®), และ galantamine (Reminyl®)

ยาในกลุ่ม cholinaseterase inhibitors จะทำหน้าที่ยับยั้งฤทธิ์ของเอ็นไซม์
ชื่อ acetylcholinesterase  หรือ butyrylcholinesterase
ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ  โดยทำหน้าที่ทำลาย acetylcholine
ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทภายในสมอง

ในปัจจุบัน ไม่มีการศึกษาเพื่อทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา
การตอบสนองต่อยา cholinesterase inhibitors อาจไม่บอกให้ทราบ
ถึงอาการของคนไข้ดีขึ้น แต่เป็นเพียงทำให้อาการทรงตัวชั่วระยะเวลาอันสั้น ๆ หรือทำให้อาการบางอย่างลดลงเท่านั้นเอง

ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า...
จากการใช้ดังกล่าว หนึ่งในสามของคนไข้จะแสดงให้เห็นถึงอาการที่ดีขึ้น
หนึ่งในสามจะอยู่ในสภาพที่คงที่ หรือเลวลง และอีกหนึ่งในสามจะไม่
เห็นว่ามีอาการดีขึ้น และจะมีอาการเลวลงอย่างต่อเนื่องอย่างช้าๆ

ถ้าคนไข้เคยได้รับยาตัวใดตัวหนึ่งในกลุ่ม cholinesterase inhibitors
โดยเฉพาะ rivastigmine ถ้าเขาหยุดยามานานเกิน 3 วัน
หากมีการเริ่มยากันใหม่  เขาจะต้องเริ่มต้นด้วยการให้ยาจากน้อยไปหามาก 
และควรตรวจเช็คอย่างใกล้ชิดเมื่อเขาใช้ยา

การให้ยา cholinesterase inhibitors อาจทำให้โรคประจำตัวของเขาเลวลงได้ 
เช่น โรคหืด(asthma), โรคระบบกระเพาะ-ลำไส้, โรคชัก(seizures), 
โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (incontinence), และกล้ามเนื้อหดเกร็ง 
(muscle cramps)

จากข้อมูลดังกล่าว หากเป็นไปได้...
เราควรหลีกเลี่ยงจากการใช้ยากลุ่ม anticholinergic drugs

Tacrine (tetrahydroaminacridine, THA, Cognex®)

สาร Tacrine ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคตั้งแต่ปี 1940s
เพื่อใช้ในการแพทย์หลายอย่าง เช่น รักษาอาการเพ้อคลั่ง
ซึ่งเกิดจากสารที่เป็น anticholinergic drugs

Tacrine สามารถทำให้การทำงานของสมอง (cognitive function) ดีขึ้นได้
ได้ถึง 30 % ด้วยการให้ยาขนาด 120 – 160 mg ต่อวัน 
แต่โชคไม่ค่อยดี ที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถทนต่อยาในขนาดดังกล่าว

เนื่องจากยา tacrine จะก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ (side effects) ได้บ่อย, 
เป็นยาที่ต้องรับประทานหลายครั้ง, มีโอกาสทำลายตับ (drug toxicity)  
ดังนั้นแพทย์จึงหันไปใช้ยาตัวอื่น 
ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาน้อยกว่าการใช้ tacrine

Donepezil (Aricept®)

Donepezil…
แม้ว่าผลที่ได้จากการรักษาคนไข้ “อัลไซเมอร” จะได้ผลดีพอประมาณก็ตาม 
แต่ก็เป็นยาที่ได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก เพื่อใช้รักษาคนไข้โรค “อัลไซเมอร์” 
ซึ่งจะออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลางได้ดีกว่าประสาทส่วนปลาย

ผลจากการศึกษาพบว่า...
ยา donepezil จะให้ผลดีในด้านความคิด (cognition)
แต่มีผลกระทบต่อภารกิจในชีวิตประจำวันได้น้อย

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา donepezil ที่พบได้บ่อยได้แก่  อาการคลื่นไส้,ท้องร่วง, 
เบื่ออาหาร   เราสามารถหลีกเลี่ยงอาการดังกล่าวได้
ด้วยการเริ่มรับประทานยาจากขนาดน้อย ๆ และเพิ่มยาอย่างช้า ๆ

อาการนอนไม่หลับ ซึ่งอธิบายโดยคนไข้จำนวนหนึ่งว่า...
เขาจะตื่นกลางดึกจากการฝันร้าย
ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการสับเปลี่ยนเวลารับประทานยา โดยให้รับประทาน
ในตอนเช้าแทน สามารถแก้ปัญหาได้

เพื่อหลีกเลี่ยงอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา donepezil…
ควรเริ่มให้ยาจากน้อยไปหามาก โดยเริ่มต้นจาก 5 mg ในตอนเย็น
วันละครั้ง  และให้เปลี่ยนเป็นให้ในตอนเช้าแทน

ในรายที่มีอาการนอนไม่หลับ  และขนาดสูงสุด (maximum  10 mg ต่อวัน)
ซึ่งจะต้องกินเวลานานถึง  4 – 6 อาทิตย์

อาจมีคนไข้บางคนไม่สามารถทนต่อขนาดยา 5 mg/ วันได้
ซึ่งในกรณีดังกล่าว เขาอาจเริ่มใช้ยาขนาด 2.5 mg/ วัน
จากนั้นให้เพิ่มยาอย่างช้า ๆ

ในกรณีที่คนไข้มีอาการทางกระเพาะ-ลำไส้...
เพื่อให้คนไข้ได้รับยาถึงระดับ therapeutic dose สามารถกระทำได้
ด้วยการแบ่งรับประทานยาเช้าเย็น สามารถแก้ปัญหาได้

Rivastigmine (Exelon®)

Rivastigmine เป็น carbamate derivative เป็นสารที่ออกฤทธิ์ได้นาน,
เป็น noncompetitive acetylcolinestrase inhibitor
ซึ่งออกฤทธิ์ต่อเอ็นไซม์ทั้ง cholinesterase และ butyrylcholinesterase

เมื่อเปรียบเทียบกับ Tacrine จะออกฤทธิ์ที่ butyrylcholinesterase
ส่วน donepezil จะยับย้งเอ็นไซม์ตรงตำแหน่งของ acetylcholinesterase
แม้ว่า ยาแต่ละตัวออกฤทธิ์ในตำแหน่งที่แตกต่างกัน
แต่ยังไม่มีใครอธิบายถึงความสำคัญของตำแหน่งที่ยาออกฤทธิ์ได้

Rivastigmine  มี half-life สั้น แต่ฤทธิ์ของมันกลับยาวนาน
ดังนั้น เขาจึงให้ยาดังกล่าววันละสองครั้ง และขนาดของยาเพียงแค่ 6 mg
ก็สามารถให้ผลทางการรักษา (therapeutic Effect) โดยมีคนไข้บางคนได้
ยาขนาด 6 -12 mg ต่อวัน สามารถทำให้ความคิดดีขึ้น
(cognitive improvement)

ผลอันไม่พึงประสงค์จากยา rivastigmine จะสัมพันธ์กับขนาดของยา
ซึ่งเป็นผลจากการให้ยาขนาดสูงเกินไป หรือเพิ่มขนาดของยาเร็วไป
ที่พบมากที่สุด ได้แก่ อาการคลื่นไส้ (nausea), อาเจียน (vomiting),
เบืออาหาร (anorexia), และปวดกระเพาะ (dyspepsia)
อาการเหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้ไม่นานก็หายไป และไม่รุนแรงเท่าใดนัก
ยกเว้นเฉพาะในกรณีที่เพิ่มขนาดยาอย่างรวดเร็วเท่านั้น

เพื่อหลีกเลี่ยง หรือลดดีกรีของผลอันไม่พึงประสงค์จากยา...
เขาแนะนำให้รับประทานยาพร้อมอาหาร วันละสองครั้ง สามารถลดอา
การทางกระเพาะ-ลำไส้ได้  โดยที่ยายังสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต
ได้ตามปกติ

ถ้าคนไข้มเป็นโรคตับ และไต (heptic & renal impairment)  
จำต้องลดขนาดของยาลง ซึ่งรวมถึงยาทุกตัวในกลุ่ม cholinesterase 
inhibitors (tacrine, Donepezil และ galantamine

Galantamine (Reminyl®)

ยาจะออกฤทธิ์โดยเป็น selective, competitive actylcholinesterase
Inhibitors และทำหน้าที่เป็น modulator สำหรับ nicotinic receptors)…

ผลจากการทดลองเมื่อไม่นานมานี้...
พบว่า ยา galantamine ขนาด  16-24 mg/วัน สามารถทำให้ระดับความคิด,
การทำงานในชีวิตประจำวัน, และอาการทางพฤติกรรมดีขึ้น
และหากให้ขนาดน้อย และเพิ่มขนาดอย่างช้า ๆ 
จะทำให้คนไข้ทนต่อผลข้างเคียงได้เป็นอย่างดี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น