JUn 2013
การดูดซึม (Absorption)
การดูดซึม (Absorption)
เมื่อคนเรากินยา...
ยาจะถูกดูดซึมผ่านกระเพาะ
และลำไส้สู่กระแสโลหิต
การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่ปรากฏในกระเพาะ
และลำไส้ ซึ่งเกิดขึ้น
เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น สามารถกระทบต่อการดูดซึมของยา
ที่คนเรารับประทานเข้าไป
อัตราการดูดซึม
และปริมาณของยาที่เข้าสู่กระแสโลหิต จะถูกกระทบ
โดยปัจจัยหลายอย่าง
ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงในสรีระของ
กระเพาะ
และลำไส้ และการทำงานของมัน
การเปลี่ยนแปลงในการดูดซึมยา
จะมีผลกระทบกับปริมาณของยา และ
อัตราของยาที่ถูกดูดซึม
การเปลี่ยนแปลงในสรีระ...ของคนสูงอายุ
ซึ่งอาจกระทบกับการดูดซึมของยา
ได้แก่ อัตราการทำงานกระเพาะ
อาหาร
ที่ทำให้ยาผ่านไปได้ช้า, การเคลื่อนตัวของลำไส้ลดลง,
กระแสไหลเวียนของเลือดส่ำไส้น้อย
ตลอดรวมถึงผิวที่ทำหน้าที่เกี่ยว
กับการดูดซึมของลำไส้ลดลง
นอกเหนือจากนั้น
ปรากฏว่า
การเปลี่ยนแปลงใน
first-pass
metabolism ในตับในคนสูงอายุ
ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงสูง จะมีผลทำให้การดูดซึมของยาเพิ่มขึ้น
เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น...
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระหลายอย่างที่เกิดขึ้น
จะทำให้การตอบสนอง
ของร่างกายต่อยากเกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง
ในคนสูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงในการจัดการกับกับยา จะมีส่วน
สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบของร่างกาย
และการทำงานของอวัยวะ…
ตามปกติ
การเปลี่ยนแปลงในคนสูงอายุ
มักจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ
และจะเกิดตามหลังการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของคนสูงอายุ
ยิ่งไปกว่านั้น คนสูงอายุยังมีแนวโน้มที่จะเกิดพยาธิสภาพบาง
อย่างขึ้น ซึ่งสามารถทำให้ส่วนประกอบของยาเปลี่ยนแปลงไป
เช่น
โรคหัวใจ (congestive
heart failure)
คนสูงอายุอาจมีความไว
(sensitive)
ต่อยาบางชนิด.....
ซึ่งทำให้พวกเขามีความไวต่อผลของยาได้มากกว่าคนหนุ่ม
เป็นเหตุให้คนแก่...มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอันไม่พึงประสงค์
(adverse
effects) จากการใช้ยา ซึ่งใช้ในคนหนุ่มเขาใช้เป็นประจำ
โดยไม่มีปัญหาอะไร
ตามกรอบของความคิด...
ยาที่เราใช้รักษาคนไข้ทั้งหลาย มีทิศทางในการทำงานได้สองทาง:
ประการแรก-
ยาทำปฏิกิริยากับร่างกาย
และประการที่สอง-ร่างกายกระทำต่อยา
Pharmacodynamics
คือยากระทำต่อร่างกาย
ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของยาบางตัว
และการตอบสนองของคนไข้
และในทางกลับกัน
Pharmacokinetics
คือกระบวนการของร่าง
กายที่กระทำต่อยา
ซึ่งประกอบด้วยการดูดซึมของยา (absorption),
การกระจายตัว
(distribution)
ของยาสู่อวัยวะ แลเนื้อเยื่อต่าง ๆ,
การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
(metabolism)
ทำให้ยาเปลี่ยนเป็นสารอย่างอื่น (metabolites), และการกำจัดเอา metabolite และสารต่างๆ
ออกจากร่างกายโดยการทำงานของไต
กระบวนการทั้งสอง
มีความสัมพันธ์กัน...
กระบวนการณ์
pharmacokinetics
จะพิจารณาเกี่ยวกับปริมาณของยาที่
เข้าสู่กระแสโลหิต
และเดินทางถึงตำแหน่งที่ยาจะออกฤทธิ์
(site
of action)
ส่วนความเข็มข้นของผลที่เกิดจากยาที่กระทำต่อร่างกาย จะขึ้น
กับความเข็มข้นของยาที่อยู่ในตำแหน่งที่มันจะออกฤทธิ์
ดังนั้น
ในคนสูงอายุส่วนใหญ่ จะพบความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนอง
ของคนต่อความเข็มข้นของยา
โดยยามีความเข็มข้นสูง ย่อมก่อให้เกิด
ผลกระทบได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม
อัตราการดูดซึมของยา และจุดเริ่มต้นของการออกฤทธิ์
ในคนสูงอายุอาจยาวนาน
และปริมาณของยาที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงทาง
เคมีในตับ (first-pass
metabolism) อาจเกิดได้มากกว่าในคนหนุ่ม-สาว
ในคนสูงวัย
อาจมีแนวโน้มที่จะถูกกระทบโดยปัจจัยอย่างอื่น
ซึ่งสามารถทำให้เกิดการเปล่ี่ียนแปลงในการดูดซึมของยาได้
เป็นต้นว่า
การกินอาหารลำบาก, ภาวะขาดสารอาหาร,
พฤติกรรมการกินอาหารที่เอาแน่ไม่ได้, และมีปฏิกิริยาระหว่างยาที่ได้จากแพทย์
และยาที่นอกเหนือจากแพทย์สั่ง
(non-prescription)
มีโรคหลายชนิด...แม้แต่คนสูงอายุก็ไม่เว้น ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูดซึมของยา
เช่น
Crohn’s
disease, ulcerative colitis, celiac diseaseหรือการผ่าตัด
(gastrectomy or
small bowel resection)
ซึ่งสามารถกระทบกับการดูดซึมของยาได้
<< Prev. Next >> Distribution
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น