วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ของยาในคนสูงอายุ ( 3)(Altered Drug Action in Aging) : Distribution

Jun  2013

Distribution
ภายหลังการดูดซึมของยา และเข้าสู่กระแสโลหิต...
มันจะกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ
ทั่วร่างกาย ซึ่งการกระจายตัวของยาในคนสูงอายุ จะมีความ
แตกต่างจากของคนหนุ่มแน่นทั้งหลายได้อย่างมาก

ความแตกต่างดังกล่าว จะสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ในส่วนประกอบของร่างกาย ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดในคนสูงวัย
ซึ่งเราจะพบว่า น้ำหนักตัวของคนสูงวัยจะลดลง มวลกล้ามเนื้อ
จะลดลง และจะมีไขมันเพิ่มขึ้น....
จากกรณีดังกล่าว ยาที่กระจายในกล้ามเนื้อ เช่นพวก digoxin
จะลดลง ส่วนพวกที่ละลายในไขมัน (fat soluble)
เช่น diazepam จะค่อนข้างกระจายในร่างกายเพิ่มมากขึ้น

นอกจากการเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบของร่างกายแล้ว
จำนวนน้ำของร่างกายโดยรวม (total body water) จะลด
ลง  ปริมาณของ serum albumin concentration จะลดลง
และมีการเพิ่ม α1-acid glycoprotein

การเปลี่ยนแปลงในปริมาณของน้ำในร่างกาย จะมีผลกระทบ
กับยาทีละลายในน้ำ (water soluble) เช่น lithium

การมีระดับของ serum albumin concentration ลดลง จะมี
บทบาทสำคัญสำหรับยาที่เป็นกรด (acidic drugs)
ซึ่งมันจะจับตัวกับ serum albumin  ส่วนยาที่เป็นยาที่เป็น
ด่าง (basic drug) จะจับตัวกับ α1 -acid glycoprotein

ในขณะที่ serum albumin concentration ลดลง จะ
ทำให้ระดับของยาที่ไม่จับตัวกับโปรตีน (free fration)
เพิ่มขึ้น  และเป็นตัวที่ออกฤทธิ์

ยกตัวอย่าง...
ในคนที่มีระดับของ serum albumin 4.4 mg/dL
เมื่อกินยา phenytoin จะพบว่า ส่วนของ phenytoin ที่ไม่จับ
ตัวกับ albumin  10 %

แต่หากระดับของ serum albumin ลดลงเหลือ 2.2 mg/dL
จะทำให้ phenytoin ที่ไม่จับตัวกับโปรตีนเพิ่มเป็น 20 %
ซึ่งหมายความว่า การให้ยาในคนที่มี serum albumin ลดต่ำ
ลงเหลือ 2 mg/dL จะทำให้ฤทธิ์ของยาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

โดยทั่วไป เราจะพบว่า น้ำหนักตัวของคนสูงอายุจะลดลง
ซึ่งมวลของกล้ามเนื้อตลอดร่างกายจะลดลงไป
และในขณะเดียวกันจะพบว่าปริมาณของไขมันที่สะสมใน
ร่างกายจะเพิ่มมากขึ้น

ผลที่ตามมา จะพบว่า ยาที่กระจายตัวตามกล้ามเนื้อ
ของคนสูงวัย เช่น digoxin จะลดลงไป

ส่วนยาที่ละลายในไขมัน (fat soluble drug)
เช่น diazepam จะมีการกระจายตัวในร่างกายเพิ่มขึ้น

นอกจากนั้น ยังพบว่า ปริมาณของน้ำในร่างกายของคนแก่จะลดลง 
และความเข็มข้นของ serum albumin ลดลงด้วย

สำหรับยาที่ละลายในน้ำ (water soluble drugs)
เช่น lithium จะทำให้การกระจายตัว (distribution) ในคนสูงอายุลดลง

ภายใต้ภาวะที่กระแสเลือดมี albumin ลดลง...
จะพบว่า ภาวะดังกล่าวมีผลกระทบต่อยาที่เป็นกรด (acidic drugs)
ซึ่งจะจับตัวกับสารโปรตีนตัวดังกล่าวได้สูงมาก

ในขณะความเข็มข้นของ albumin ในกระแสเลือดลดลง
จะทำให้ส่วนของยาที่ไม่จับตัว (free or unbound drugs)
จะพบเพิ่มขึ้น

ดังนั้น เมื่อยาที่อยู่เลือด (bound + unbound drugs)มีระดับความ
เข็มข้นลดลง  จะทำให้ปฏิกิริยาของยาเพิ่มขึ้น
ซึ่งเป็นผลมาจากส่วนของตัวยาที่เป็นอิสระ (unbound drug) ไม่จับตัว
กับโปรตีนเพิ่มขึ้น

จากความเป็นจริงดังกล่าว...
เราจึงต้องมีการปรับขนาดของยา ทั้งนี้เพราะการตรวจดูความเข็มข้นของยา
ในกระแสเลือด จะเป็นการตรวจหาความเข็มข้นของยาโดยรวม 
(total concentration) ซึ่งมีทั้ง bound และ unbound drugs
แต่ยาที่เป็นอิสระ ไม่เกาะตัวกับโปรตีนเท่านั้นที่จะเป็นตัวออกฤทธิ์

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น...
ให้ดูการใช้ยา phenyltoin เมื่อคนไข้รับประทานยาตัวดังกล่าว
ส่วนที่เป็นอิสระไม่จับตัวกับโปรตีน (albumin) มีเพียง 10 % เมื่อ
Albumin ในเลือดมีค่า 4.4 mg/dL

และยา phenyltoin ที่เป็นส่วนอิสระ (unbound) จะเพิ่มขึ้นเป็น
20 % เมื่อระดับของ serum albumin ลดต่ำลงถึงระดับ 2.0 mg/dL
ซึ่งหมายความว่า การให้ยาในคนที่มี serum albumin ลดต่ำ
ลงเหลือ 2 mg/dL จะทำให้ฤทธิ์ของยาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

เมื่อการกระจายตัวของยาลดลง การให้ยาในขนาดตอนเริ่มต้น
จะต้องน้อยลง  และกึ่งอายุ (half-life) ของยาจะสั้นลงด้วย

ถ้าเราไม่ทำการปรับขนาดของยาในตอนเริ่มต้น เพื่อเป็นการตอบสนองต่อ
การกระจายตัวของยาที่ลดลง จะทำให้ความเข็มข้นของยาเพิ่มขึ้น
เป็นเหตุให้คนไข้เกิดความเสี่ยงต่อพิษของยาได้

ในทางกลับกัน เมื่อยากระจายตัวเพิ่มขึ้น  เราจำเป็นต้องเริ่มให้ยา
ในขนาดที่สูงขึ้น เพื่อให้ได้ระดับความเข็มข้นของยาในกระแส
เลือด  และกึ่งชีวิตของยายาวขึ้น

การเปลี่ยนแปลงในกึ่งชีวิตของยาบางตัว จะกระทบกับการให้ยาว่า
จะต้องให้ถี่แค่ใด  โดยทั่วไป ยาที่มีกึ่งชีวิตยาว จะต้องให้น้อยครั้ง
เพราะผลของยาจะอยู่ในร่างกายยาวนาน

ส่วนยาที่มีกึ่งชีวิตสั้น (short half-life), ระยะเวลาการออกฤทธิ์จะสั้น

และยาในกลุ่มนี้จำเป็นต้องให้บ่อยครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น