วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กรณีศึกษา (3): Glycemic Control in Elderly : Case discussion


Jun 22,2013

จากกรณีศึกษา...
เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง ?

Mrs. AB เป็นตัวอย่างของคนสูงวัย  โดยมีอายุย่างเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต
ซึ่งเธออาจมีชีวิตยืนยาวต่อไปอีกหนึ่ง หรือสองทศวรรษได้
 เพราะเธอยังมีสุขภาพดี  ยกเว้นเฉพาะมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหวใจเท่านั้น

เธอมีอาการแสดง และอาการของ insulin resistance syndrome  และ
มีโรคหัวใจจากหลอดเลือดตีบ (CAD) 
ซึ่งเธอกำลังได้รับการรักษาทางยา

สิ่งที่เราควรพิจารณาเกี่ยวกับโรคของ Mrs. AB  คือ...
ความสัมพันธ์ระหว่าง การควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข็มข้น (tight glycemic
Control) กับ ความตาย (mortality) ที่จะเกิดจากโรคของเส้นเลือดใหญ่
(macrovascular disease)

Mrs. AB มีโรคของเส้นเลือด Lt. anterior descending artery ซึ่งมีลักษณะตีบแคบ
เป็นบางส่วน และ เป็นโรคเบาหวาน โดยมีระดับน้ำตาลในเลือด 168 mg/dL

ปัญหาของเธอที่กำลังเผชิญในขณะนี้  คือโรคหัวใจจากเส้นเลือดตีบ 
ซึ่งมีโอกาสเลวลงได้....
แล้วเราควรทำอย่างไร ?

เพื่อป้องกันไม่ให้โรคของหลอดเลือดหัวใจเลวลง...
เราสามารถกระทำได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข็มข้น (tight control)
ด้วยการทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ลดลงลงสู่ระดับปกติให้ได้
และควบคุมให้คงสภาพเชนนั้น (euglycemia) ตลอดไป
พร้อมๆ กับรักษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของโรคหัวใจ และเส้นเลือด ไปพร้อม ๆ กัน

นอกเหนือจากนั้น...
Mrs. AB เธอยังมีอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเส้นเลือดขนาด
เล็กถูกทำลาย (microvacular complication) โดยมี microalbuminuria เกิดขึ้น 
ซึ่งเป็นผลมาจากเส้นเลือดระดับ ”ไมโคร” ของไตถูกทำลาย เป็นเหตุให้มี
โปรตีนรั่วออกมาทางปัสสาวะตามที่กล่าว

ในประวัติของ Mrs. AB …
ในตอนแรก เธอไม่ได้รับการตรวจหาโรคเบาหวานเลย
โดยที่เธอมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมานาน
ก่อนที่จะเธอจะได้รับการวินิจฉัยโรคเสียอีก 

โดยมีหลักฐานสนับสนุนให้คิดว่า เธอเป็นโรคเบาหวานมานาน คือ...
เธอมีรอยโรคที่เกิดจากเส้นเลือดของม่านตา (non-proliferative diabetic retinopathy  
และมีรอยโรคเกิดขึ้นที่หน่วยเล็ก ๆ (glomeruli) ของไต
ซึ่งแสดงให้เห็นมีโปรตีนในปัสสาวะ
(urine microalbumin  1,993 microgram/dL)

เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ภาวะแทรกซ้อน ที่เกิดกับเส้นเลือดระดับไมโคร..เลวลงไปอีก  
Mrs. AB จะต้องได้รับการรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาล
อย่างเข็มค้น (tight glycemic control)
เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลลดลงสู่ระดับปกติ (euglycemic) ให้ได้

สิ่งที่ Mrs. AB ควรได้รับการพิจารณา  คือ ภาวะปัจจุบันของโรค, ยาที่เธอได้รับ, 
และความสามารถของเธอที่จะ “สังเกต” ได้ว่าภาวะ hypoglycemic
ได้เกิดขึ้นกับเธอได้เร็วที่สุด

นั่นคือแนวทางการควบคุมระดับน้ำตาลในคนสูงอายุ
ที่เป็นโรคเบาหวาน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น