วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Alzheimer’s Disease (AD) 5: Case Discussion

May 30,2013

continued...

วิเคราะห์กรณีศึกษาของ Mrs. Young (Case III)

Mrs. Thelma Young อายุ 71 เกษียณอายุจากอาชีพครู
เธอได้รับการวินิจฉัยว่าอาจเป็นโรค “อัลไซเมอร”
ซึ่งมีอาการไม่รุนแรงนัก (mild-to-Moderate) สามีของเธอได้ไปซื้อยา Advil® 
และ vitamin E จากร้านขายยาให้แก่เธอ โดยหวังว่า
จะช่วยรักษาอาการขี้ลืมของเธอได้

Mrs.  Young ได้บอกกับเภสัชกรว่า เธอต้องตื่นกลางดึกจากการฝันร้ายทุกคืน
หลังตื่นขึ้นมาแล้ว เธอไม่สามารถหลับตาได้อีกเลย  ดังนั้น เธอจึงต้องพึ่งพายา
นอนหลับจากร้านขายยา เพื่อช่วยให้เธอได้นอนหลับบ้าง
แต่ผลจากการรับประทานยาแล้ว  ทุกเช้า เธอจะรู้สึกว่ามึนงง และรู้สึกสมองไม่
โล่ง หาคำมาพูดด้วยความลำบาก  แต่ก็ยังคงสามารถติดต่อสื่อสารได้

สามีของเธอเสริมขึ้นว่า ภรรยาของเขามีอาการหลงลืมบ่อย ๆ เป็นต้นว่า
ปล่อยให้หม้อ-กระทะถูกเผาไหม้ไปหลายครั้ง

สามีของเธอเกิดมีความสงสัยว่า...
ยาใหม่ ๆ ที่ผลิตออกมา เช่น Aricept® สามารถช่วยรักษาโรคของภรรยาของเธอ
ได้จริงหรือ?  และด้วยความไม่แนใจต่อยาที่แพทย์จ่ายให่้้ เขาจึงต้องหาซื้อยา
 Advil® และ vitamin E)  เพื่อช่วยภรรยาของเขา...
ด้วยหวังว่า  จะช่วยรักษาอาการขี้ลืมได้....แต่ก็ไม่แน่ใจ
จึงถามภสัชกรว่า  ช่วยคนไข้ได้หรือไม่ ?

Mrs. Young มีปัญหาถูกรบกวนด้วยความฝันร้าย ซึ่งอาจเป็นผลมาจาก
การได้รับยา donepezil ก่อนนอน  แต่ก็ปรากฏว่า
มีคนไข้หลายรายไม่เกิดอาการดังกล่าว เมื่อกินยาในตอนเช้าแทนเวลา
ก่อนนอน

ยานอนหลับที่ซื้อจากร้านขายยา ส่วนใหญ่จะมียาแก้แพ้ (antihistamine)
ซึ่งมี Diphenhydramine หรือ doxylamine เป็นส่วนประกอบ
โดยมีคุณสมบัติ anticholinergic effect
เป็นยาที่คนสูงอายุทั้งหลายควรหลีกเลี่ยงไม่ควรใช้

ถ้า Mrs. Young มีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ เขาควรไปพบแพทย์
น่าจะดีกว่าซื้อยากินเอง

คำถาม “ยา Aricept® ออกฤทธิ์เร็วแค่ใด ?”

ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ว่า...มีคนไข้บางรายที่ได้รับยา Aricept® แล้ว
ไม่ปรากฏว่าได้ผลดีเลย  แต่อย่างไรก็ตาม  การได้รับยาดังกล่าวแล้วไม่ทำ
ให้โรคไม่ได้เลวลง  ก็ถือว่า เป็นการตอบสนองต่อยาในระดับหนึ่ง 
ไม่ใช่ไม่ตอบสนองเสียเลย

เพื่อเป็นการตรวจสอบผลของยา...
Mr. Young ควรได้รับคำแนะนำให้สังเกตุอาการของภรรยาของเขา เป็นต้น
ว่า ความตื่นตัว (alertness) , ความกระตือรือร้น,และการช่วยเหลือตนเอง
ในชีวิตประจำวันอาจดีขึ้น

สำหรับอาการหลงลืม อาจดีขึ้น หรือไม่ดีขึ้นเลย
แพทย์บางท่านอาจให้ยา Aricept®  ต่อไปอีกถ้าพบว่า  อาการของเขา
ดีขึ้น  หรืออาการของเขายังไม่สามารถทำให้คงที่ได้ในใน 6 เดือน

ยากลุ่ม  NSAIDS….. หรือ  vitamin E ไม่สามารถทำให้ความจำ (memory)
และความคิด (cognition) ของคนเป็นโรค “อัลไซเมอร์” ดีขึ้นได้หรอก

ยากลุ่ม NSAIDs อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค “อัลไซเมอร์” ได้
แต่ยังเป็นเรื่องที่พิสูจน์กันต่อไป ซึ่งในขณะนี้ เราไม่ควรแนะนำให้ใช้ยากลุ่ม
NSAIDs เพื่อป้องกัน หรือรักษาโรค “อัลไซเมอร” เป็นอันขาด
เพราะยากลุ่มดังกล่าว มีความสี่ยงต่อการเกิดผลอันไม่พึงประสงค์ได้หลายอย่าง
เช่น กระเพาะอาหารเป็นแผล (gastric ulcers), มีเลือดออก (bleeding)


โดยสรุป...
ในคนสูงอายุวัย 65s มีโอกาสเกิดโรค “อัลไซเมอร์” ได้ประมาณ 10 %
และเมื่ออายุล่วงพ้น 85 ปี จะมีโอกาสเกิดโรคถึง 47 %

ข้อปฏิบัติสำหรับการดูแลคนเป็นโรค “อัลไซเมอรื”

1.   .ในการพูดกับคนเป็นโรค“อัลไซเมอร์” ให้พยายามพูดอย่างช้าๆ
ใช้ประโยคง่าย ๆ  และใช้เพียงคำถามเดียวในแต่ละครั้ง
หากต้องการทวนคำถาม ให้ใช้คำพูดเดิม

2.   เมื่อพบคนไข้มีความลำบากในแสดงความคิดเห็น เราอาจช่วยเขาด้วย
    คำพูดให้แก่เขา
ให้พยายามคาดเดาว่า คำที่เขาพูดหมายถึงอะไร ถามเขาว่า...มันถูก
ต้องหรือไม่....อย่ารีบร้อนเป็นอันขาด

3.   อย่าแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับคนไข้ เพราะจะนำไปความกังวลใจ
   ของคนไข้ได้

    ให้ระวังอย่าให้ข้อมูลแก่คนไข้ในแต่ละครั้งมากเกินไป
    อย่าไปขัดขวางความคิดเห็นของคนไข้ เพราะจะทำให้เขาสูญเสียสมาธิได้
    อย่าลืมว่า พฤติกรรมของคนไข้ เป็นผลมาจากโรคของเขา และคนที่อยู่รอยข้าง
    และ คนเหล่านั้น ไม่สามารถแก้ไขพฤติกรรมของเขาได้ และตามเป็นจริง  
    ความไม่พอใจของคนไข้ อาจทำให้อาการของเขาแย่ลงได้

§  จงทำตนให้อยู่ในความสงบ  ใช้คำพูดที่นุ่มนวลในทุกครั้งที่ติดต่อ
กับคนที่เป็นโรค “อัลไซเมอร์”


Source:
http://www.pharmacy.ca.gov/publications/health_notes_drug_therapy.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น