วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

MANAGEMENT OF COMMON GERIATRIC DISORDERS 1: Alzheimer’s Disease (AD) 1


June 2, 2013

ในยุคปัจจุบัน...
เราจะพบว่า การรักษาโรค “อัลไซเมอร์” ได้พัฒนาไปอย่างมาก 
โดยมียาที่ถูกนำมาใช้ 4 ขนานด้วยกัน ซึ่งได้รับการยอมรับว่า เป็นยาที่มีคุณภาพ
ในการรักษาอาการของคนไข้ที่เป็นโรคดังกล่าว

โรค “อัลไซเมอร” เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้
แต่ในขณะนี้  เราสามารถวินิจฉัย และให้การรักษาโรคดังกล่าวได้ทันทีด้วยการ
ใช้ยา (medications) ซึ่งได้รับความสนใจทั้งจากคนไข้ และผู้ให้การดูแลรักษา
ในประเด็นที่ว่า  เมื่อคนไข้ได้รับการรักษาด้วยยาแล้ว ปรากฏว่า...
มีคนไข้บางรายได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่บางรายกลับตรงกันข้าม 
ไม่ได้ผลเลย

จากกรณีศึกษา (case histories) ที่เสนอในตอนต้น...
Mrs. Thelma Young (Case III) ได้รับยารักษาจากทั้งแพทย์ (prescription),
และซื้อยากินเอง (nonprescription) รวมทั้งสมุนไพร (herbal)
โดยใช้ร่วมกันกับยาที่ได้จากแพทย์

ในฐานะแพทย์ผู้ให้การรักษา และเภสัชกรผู้ทำหน้าที่บริบาลทางเภสัชกรรม...
ทั้งสองต่างมีโอกาสได้ปฏิบัติตนด้วยการให้คำปรึกษาคนไข้เป็นอย่างดี

ก่อนเริ่มต้น เรามาทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า...
โรค “อัลไซเมอร์” คืออะไร ?

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคของระบบประสาท ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อ
เนื่อง (ไปในทางที่แย่ลง) เป็นเหตุให้สมอง (brain) ถูกทำลายอย่างกว้างขวาง 
พร้อมๆ กับทำให้เกิดความจำเสื่อมลง (memory loss)

ในการเปลี่ยนแปลงของโรค “อัลไซเมอร์”  (AD)…
มันจะดำเนิน หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ  โดยตัวคนไข้เองตระหนักรู้ด้วยว่า
เขามีปัญหาเรื่องความจำ (memrory) ไม่สามารถจำเป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไป,
หาคำพูดที่จะพูดด้วยความลำบาก, และทำงานที่เคยกระทำมาก่อนด้วย
ความลำบาก

ภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย เราเรียกว่า minimal cognitive impairment
ซึ่งมีลักษณะพิเศษด้วยอาการ “ความจำเสื่อม” เพียงเล็กน้อย (mild memory
Impairment) โดยไม่รุนแรงพอที่จะทำให้ความสามารถอย่างอื่นเสียไป  และ
คนที่อยู่รอบข้างเขา สามารถสังเกตพบเห็นความผิดปกติในตัวคนไข้ได้

มีการศึกษาจำนวนไม่น้อย...
ด้วยการให้คนไข้บางรายได้รับยา donepezil และ vitamin E 
เพื่อศึกษาดูผลของการรักษาว่า สามารถจัดการกับภาวะ minimal cognitive
Impairment หรือไม่ ?

เมื่อโรคได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป...
คนไข้ส่วนใหญ่เขาจะมีความผิดปกติหลายอย่างเกิดขึ้น เป็นต้นว่า 
บุคลิกภาพแปรเปลี่ยน, มีอาการสับสน, บกพร่องในการตัดสินใจ, และไม่สามารถ
ปฏิบัติตามคำสั่งง่าย ๆ ได้  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในแต่ละคน 
จะมีความแตกต่างกันไป  แต่ทุกคนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางความรู้คิด (cognitive function)  ซึ่งเกิดขึ้น
อย่างรวดเร็ว...ส่วนใหญ่จะมีต้นเหตุมาจากโรคอย่างอื่น
มากกว่าที่จะเป็นโรค “อัลไซเมอร์”

อาการประสาทหลอน (hallucination), หลงผิด (delusion), เดิน
กระตุกเหมือนโรค “พาร์กินสัน” สามารถพบในคนที่เป็นโรค “อัลไซเมอร์” 
ระยะสุดท้าย

ในที่สุด คนไข้ที่เป็นโรค “อัลไซเมอร์” ขั้นรุนแรง จะไม่สามารถปฏิบัติภารกิจ
ตามปกติของเขาได้  และสุดท้ายคนไข้ก็จะลงเอยด้วยความตาย
ซึ่งส่วนใหญ่มีต้นเหตุมาจากการอักเสบติดเชื้อ (infection)

ใครก็ตามที่เกิดเป็นโรค “อัลไซเมอร์” จะมีชีวิตยืนยาวประมาณ 7 ปี
โดยนับเวลาจากวันที่ได้รับการวินิจฉัยโรค (เฉลี่ย  2 – 20 ปี)
ระบบประสาทถูกทำลายจากโรค “อัลไซเมอร์”   จะพบได้ประมาณ
50 % ของคนที่เป็นโรคสมองเสื่อม (dementias)

คนที่เป็นโรค “อัลไซเมอร” ร่วมกับ “vascular dementia”
จะเกิดได้ประมาณ 25 % (ซึ่งแต่ก่อนมา  เราเรียกพวกนี้ว่า multi-infarct
dementia)  และ  โรคสมองเสื่อมที่เกิดจาก Lewy body  และ
frontotemporal Dementia จะพบได้ประมาณ 15 %

ส่วนที่เหลืออีก 10 % จะเป็น Pick’s disease, Parkinson”s disease,
Huntington’s chorea, Creutzfelf Jakob disease และ
Mad cow Disease (a new variant of Cretzfeld-Jakob disease)

จากรายชื่อ dementias จำนวนมากมายที่เสนอมา...
บอกให้ทราบว่า เมื่อเราเรียกว่า dementia ไม่จำเป็นต้องหมายถึง
โรค อัลไซเมอร์” เสมอไป  เป็นสมองเสื่อมจากสาเหตุอะไรก็ได้

จากประสบการณ์ในการวินิจฉัยโรค และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่
และการตรวจด้วยภาพ (imaging) ทำให้เราสามารถวินิจฉัยโรคได้ง่ายขึ้น
ซึ่งสามารถทำให้การรักษาโรคได้ดีขึ้น

ในขณะ  “อัลไซเมอร์” สามารถเกิดได้ทั้งคนสูงอายุ และคนหนุ่ม
แต่ส่วนใหญ่จะตรวจพบได้ในคนที่มีอายุมากกว่า 65 ขึ้นไป
ยกเว้นเฉพาะในกรณีที่ความผิดปกติทางพันธุกรรมเท่านั้น

มีความเชื่อว่า  การมีนิสัยเป็นเรียนรู้ตลอดชีวิต, เพศชาย, ได้รับฮอร์โมน
Estrogen เสริม, และใช้ยา NSAIDs เป็นประจำ
อาจมีส่วนป้องกันไม่ให้เกิดโรค “อัลไซเมอร์” ได้

อย่างไรก็ตาม...
การรักษาด้วยฮอร์โมน estrogen (estrogen therapy) ไม่ปรากฏว่า
สามารถรักษาโรค “อัลไซเมอร์”  ได้

เคยมีการกล่าวว่า ยากลุ่ม NSAIDs สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
“อัลไซเมอร์” แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้นจริง

จากความจริงดังกล่าว...
เภสัชกรจึงได้บอก Mrs. Thelma Young และสามีของเธอว่า
ไม่มีหลักฐานใดยืนยันว่า ยา ibuprofen สามารถทำให้ความจำของ Mrs.
Young  ดีขึ้นได้

หลักฐานจากการศึกษาจำนวนมากมาย ที่พบความจริงว่า ยากลุ่ม NSAIDs  
ไม่สามารถรักษาโรค”อัลไซเมอร์” ได้จริง  และการรับประทานยาในกลุ่ม
ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นตัวใด  จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดผลอันไม่พึงประสงค์
ได้มากกว่า...

ผู้ให้การดูแลรักษา, สมาชิกในครอบครัว หรือผู้ให้การรักษาคนอื่น ๆ ต่าง
ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการดูแลรักษาคนเป็นโร “อัลไซเมอร”
ซึ่งเราจะพบว่า ประมาณ 50 % ของคนเหล่านั้นจะมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยง
ต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า (depression) และภาวะต่างๆ ที่สัมพันธ์
กับความเครียด

เราจะเห็นว่า...
บทบาทที่สำคัญของเภสัชกร ต่อคนที่เป็นโรค “อัลไซเมอร”.
คือให้คำแนะนำแก่คนที่เป็นโรค โดยคำนึงถึงการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ
และความปลอดภัยจากการใช้ยาเป็นประการสำคัญ

หลักในการให้คำแนะนำให้แก่คนไข้โรคอัลไซเมอร์:

ควรใช้ประโยคสั้น ๆ หลีกเลี่ยงจากการใช้คำยากๆ, เป็นประโยคที่
ชัดเจน แต่สั้น ให้เป็นเรื่องเดียว อย่าให้มีหลายเรื่องเป็นอันขาด
อย่าลืมว่า คนเป็นโรค “อัลไซเมอร์” โดยเฉพาะในระยะเริ่มต้นของโรค
คนไข้มักจะเครียด และกังวล, ซึมเศร้า, หงุดหงิด, ขี้โมโห
รวมไปถึงมีความสับสน

เภสัชกร ผู้ทำหน้าที่บริบาลคนไข้...
ไม่เพียงแต่จะให้ความใส่ใจเฉพาะคนไข้อย่างเดียว เธอควรสน
ใจในตัวผู้ให้การดูแล (caregivers) คนไข้ด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น