วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Depression (6) : Case Discussion

Jun 22, 2013

Continued…

"อ้าว!.... ทำไมเป็นเช่นนั่น ?"
"มันเป็นเช่นนั้นเอง... "
นั้นเป็นส่วนหนึ่งของคำสนทนาของคนสองคน (หนุ่ม และแก่)

จากคำสนทนาของสองคนดังกล่าว...
ได้บอกให้เราได้ทราบถึงสัจธรรมอย่างหนึ่งของสิ่งที่มีชีิวิตทั้งหลาย 
ที่อยู่รอบตัวของเรา โดยสามารถพบเห็นได้ทุกขณะจิต  นั่น "ความเป็น คู่"  
เช่น ความดี & ความเลว, เห็นด้วย & คัดค้าน, ชอน & ไม่ชอบ และอื่น ๆ
ซึ่งความขัดแย้งเหล่านี้ จะปรากฏให้เห็นทั้งนอกตัว 
และภายในตัวของเราเอง...

จากกรณีศึกษา (case study)...
เราจะพบเห็นความขัดแย้งปรากฏอยู่ในแผนการรักษของ Mrs. Smith

Mrs. Smith (Case II) เธอเป็นโรคซึมเศร้า...
ได้รับยา ชื่อ fluoxetine ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม SSRI จัดอยู่ในอันดับแรก 
(first-line therapy) สำหรับใช้รักษาโรคซึมเศร้า 
โดยยาตัวนี้ มีผลกระทบต่อหัวใจ และผล anticholinergic effect นอ้ย

เมื่อพิจารณาดุูฤทธิ์ของยา Fluxetine จะพบ...
Fluoxetine (Prozac®) จะมีผลกระทบต่อเอ็นไซม์ cytochrome P450 3A4 
ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ ที่รับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงเคมีของยา warfarin 
เป็นเหตุให้ความเข็มข้นของยา warfarin ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น  เป็นเหตุ
ให้มีเลือดออก (bleeding) ได้  ประกอบกับยา fluoxetine  สามารถขัดขวาง
การทำงานของเกล็ดเลือดอีกด้วย ยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยง
ให้มีเลือดออกมากยิ่งขึ้น

เหมือนกับการดับไฟ....
คนหนึ่งพยายามดับไฟ  ส่วนอีกคนพยายามใส่ฟื้นเข้าไป
แล้วเมื่อไหร่ไฟมันจะดับ?

ในการรักษาโรคซึมเศร้าของ Mrs. Smith ก็มีลักษณะคล้ายๆ การดับไฟ
นั้นคือ ในขณะที่แพทย์กำลังรักษาภาวะซึมเศร้าของเธอ...
ตัวเธอเองดันไปซื้อยา Cimetadine (TagametHB® จากร้านขายยามารับประทาน
ซึ่งผลของยาดังกล่าว สามารถทำให้อาการซึมเศร้าของเธอเลวลงได้

โดยสรุป...
คนสูงอายุบางคน มีคุณภาพชีวิตลดลง และมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (suicide) จากโรคซึมเศร้า โดยไม่ได้รับการวินิจฉัย (underdiagnosed)
ซึ่งมีอุปสรรคขวางกั้นไม่ให้คนสูงอายุได้รับการรักษา เหมือนเส้นผมบังภูเขา...
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการเข้าใจว่า ภาวะซึมเศร้าเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาิติ
อย่างหนึ่งของคนที่มีอายุมากขึ้น ไมจำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด

นั่นเป็นความเข้าใจผิด...

ถ้าคนสูงอายุที่มีอาการซึมเศร้า ได้รับการวินิจฉัยซะ... และให้การรักษา
ได้อย่างเหมาะสม ภาวะซึมเศร้าของเขาสามารถรักษาให้หายได้

<< Prev. 

Sources:

·        Pharmacy.ca.gov

·        Mayoclinic


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น