วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Diabetes (4) (common Geriatric disease): ข้อที่ควรได้รับการพิจารณาในคนสูงวัย (Special Considerations in Elderly)

Jun 20,2013

Kidney and Liver Function

เมื่อเราเลือกยาเม็ดลดน้ำตาลสำหรับรักษาโรคเบาหวานประเภทสองในคนสูงอายุ  
เราจำเป็นต้องทำการประเมินการทำงานของไต (kidney) และตับ (liver)...

ยากลุ่ม sulfonylureas บางตัวเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (metabolized) และได้สารทีไม่มีฤทธิ์ต่อร่างกาย (metabolite)
เช่น glipizide และ tolbutamide, ,ระยะการออกฤทธิ์สั้น  เช่น
Tolbutamide และได้รับการศึกษาในคนไข้ที่เป็นโรคไต (เช่นglimepiride)  
ดังนั้น จึงเป็นยาที่ถูกนำมาใช้ในคนสูงอายุ

ส่วนยาในกลุ่ม sulfonylureas ที่ออกฤทธิ์ยาวนาน หรือสารที่ผ่าน
การเปลี่ยนแปลงทางเคมี (metabolism) ยังมีฤทธิ์ต่อร่างกาย 
สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง (hypoglycemia) 
ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง...ไม่ควรใช้ เช่น glyburide และ chlorpropamide 

ยา repaglinide (Prandin®) และ nateglinide (Starlix®)
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้สั้นมาก และได้รับการศึกษาในคนไข้ที่เป็นโรคไต 
ซึ่งทำงานได้น้อยลง... ยาในกลุ่มนี้อาจเป็นยาที่ควรได้รับการพิจารณา

Pioglitazone (Actos®) และ rosiglitazone (Avandia®)
อาจนำไปใช้ในคนไข้ที่เป็นโรคไตที่ทำงานได้น้อยลง
แต่ ไม่ควรใช้ในคนไข้ที่เป็นโรคตับ (Liver problems)

Acarbose (Precose®) และ meglitol (Glyset®)…
ไม่ควรใช้ในคนไข้ที่เป็นโรคไต  โดยมีระดับ serum creatinine มากกว่า 2.0 mg/dL

ในคนไข้ที่เป็นโรคไต ซึ่งการทำงานลดลงอย่างมาก...
เมื่อได้รับการรักษาด้วยการฉีด insulin จะทำให้ตัวยาอยู่ในร่างกายได้นาน 
ดังนั้น การให้ insulin ในกรณีดังกล่าว (โรคไต) อาจจำเป็นต้องลดขนาด
(dose) ลง

เราไม่ควรใช้ยา metformin (Glucophage®) ในคนไข้ที่เป็นโรคไต
หรือ โรคตับ และไม่ควรใช้ในคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว
หรือในคนที่เลือดเป็นกรด (acidotic condition)

เนื่องจาก Metformin (Glucophage®) จะถูกกำจัดออกจากร่างกายทางไตเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ในกรณีที่เป็นโรคไต (ไตทำงานได้น้อยลง) จะทำให้มียาเหลือค้าง
ในกระแสเลือด  และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดเป็นกรด
(lactic acidosis)

อย่างไรก็ตาม ภาวะ Lactic acidosis เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้น้อยมาก ๆ 
โดยมีการประมาณการเอาไว้ว่า มีอุบัติการณ์ได้ประมาณ 1 : 33,000
และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  
เพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติ:

§  Metformin (Glucophage®) ไม่ควรใช้ในชาย หรือหญิงที่มี
ระดับ Serum creatinine  ≥1.5 mg/dL หรือ  1.4 mg/dL ตามลำดับ

§  ในคนสูงวัย การตรวจ estimate creatinine clearance (โดยการใช้สูตรCockroft 
   และ Gault) อาจเป็นข้อชี้บ่งที่ดี   ซึ่งสามารถบอกให้ทราบถึงการทำงานของไตว่า 
   การทำงานของไตลดลงไปมากน้อยแค่ใด ?

Metformin ควรหลีกเลี่ยงในคนไข้ที่มีระดับ creatinine clearance
ต่ำกว่า 60 ml/min.

§  มีบางคนบอกว่า  ไม่ควรใช้ metformin(Glucopage®) ในคนไข้สูงวัย
ที่มีอายุมากกว่า 80  แต่ตามเป็นจริง เราสามารถใช้กับคนที่มีอายุมาก
กว่า 80 ได้  ถ้าไตของเขายงทำงานได้ดีอยู่

มีปัจจัยอย่างอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิด lactic acidosis…
เป็นต้นว่า  shock, acute heart attack, liver failure, surgery, severe infection, และโรคที่สามารถทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างมาก (sever dehydration), และดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก

Table 4. ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในโรคเบาหวานประเภทสอง

Class
Drug(s)
Primary Mechanism of Action

Sulfonylureas

glyburide (Micronase®, DiaBeta®)
glipizide (Glucotrol®)
glimepiride (Amaryl®)
tolazamide (Tolinase®)
tolbutamide (Orinase®)

stimulation of insulin release from the pancreas

Meglitinides
repaglinide (Prandin®)
stimulation of insulin release from the pancreas

Amino-acid derivatives
nateglinide (Starlix®)
stimulation of insulin release from the pancreas

Biguanides
metformin (Glucophage®)
reduction of glucose output from the liver

Thiazolidinediones
pioglitazone (Actos®),
rosiglitazone (Avandia®)

reduction of insulin resistance in the body


Alpha-glucosidase inhibitors
acarbose (Precose®)
miglitol (Glyset®)

delayed digestion and absorption of carbohydrates from meal


สรุป....

ในคนสูงวัยที่เป็นโรคเบาหวาน...
ส่วนใหญ่เขาจะมีโรคอย่างอื่นร่วมด้วยเสมอ เช่น เขาอาจมีโรคความดันโลหิตสูง, 
มีความผิดปกติในมัน cholesterol, โรคไต, และ/หรือโรคหัวใจ 
ดังนั้นคนไข้จึงอาจรับประทานยาหลายๆ ขนาน
และในฐานะที่เราเป็นผู้ให้การดูแลรักษา  จึงจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบ
การใช้ยาเป็นระยะ เพื่อประเมินความปลอดภัย และประสิทธิภาพของ
ยาทุกตัวที่คนไข้รับประทาน

<< Prev





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น