วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เมื่อคนสูงอายุต้องกินยารักษา : Osteoarthritic Pain (1) (Drug Therapy Considerations in Older Adults)

Jun 23, 2013

ในปัจจุบัน ...
มีการอ้างว่า  ประเทศไทยเรามีคนสูงอายุมากที่สุดในกลุ่มประเทศเอเซียน
ไปซะแล้ว โดยกล่าวว่า มีคนสูงวัยมากกว่า 65  มีถึง 12.8 %
ของประชากรทั้งหมด

จากสถิติของสหรัฐฯ เขารายงานเอาไว้ว่า...
ในคนแก่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีโอกาสที่เกิดโรคข้อกระดูก
ชนิดไขข้ออักเสบ (arthritis) ถึง 44 %

ความเจ็บปวดเป็นอาการอันสำคัญ ที่ทำให้คนไข้มาพบแพทย์...
ในกรณีที่มีอาการเจ็บปวดอย่างเฉียบพลัน มักจะหายได้เอง
ส่วนความเจ็บปวดชนิดเรื้อรัง หมายถึงการมีความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน
เป็นเวลายาวนาน ซึ่งเราอาจพบ หรือไม่พบสาเหตุ
ซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้

โรคข้อเสื่อม หรือบางที่เราเรียก degenerative joint disease
เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเจ็บปวดในคนสูงอายุได้ถึงสองในสามของ
ความเจ็บปวดทั้งหลาย โดยความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ไม่มีวิธีตรวจ
เป็นการเฉาะ (no objective tests)  แต่เป็นเพียงคำบอกเล่าของผู้ป่วยว่า
เขามีความรู้สึกเจ็บปวดเท่านั้น

ความเจ็บปวดเรื้อรังเมื่อเกิดขึ้นกับใครก็ตาม...
สามารถทำให้สมรรถภาพในการทำงานในชีวิตประจำวันลดลงไป
พร้อมๆ กับทำให้คุณภาพชีวิตลดลงไปได้ด้วย

คนสูงอายุจำนวนหนึ่งคาดว่า... 
ความเจ็บปวดมักจะมาพร้อมกับอายุที่แก่ตัวขึ้น มันเป็นเรื่องปกติ  
ดังนั้นพวกเขาจึงไม่บ่น ไม่ไปพบแพทย์ เพราะกลัวว่าจะได้รับการตรวจ 
และกลัวว่า จะเกิดผลอันไม่พึงประสงค์จากการรักษา

ความเจ็บปวดเรื้อรังที่เกิดขึ้น อาจก่อให้เกิดความเครียด, ซึมเศร้านอนไม่หลับ
ม่มีสมาธิ, ไม่สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ,
และหมดความสนุกกับงานประจำของตัวเองไป

คนสูงอายุมักจะมีความทรมานจากโรคข้ออักเสื่อม... 
ซึ่งมีต้นเหตุให้เกิดความเจ็บปวดจากข้อเสื่อมนั่นเอง (arthritic pain)
และจากสถิติของสหรัฐฯ  มีรายงานเอาไว้ว่า 
มีคนทรมานจากโรคดังกล่าวถึง 21 ล้านคน  เป็นเพศหญิงได้มากกว่าเพศชาย 
โดยมีอายุมากกว่า 45 เป็นส่วนใหญ่ 

มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม...
เป็นต้นว่า อายุที่แก่ขึ้น และความอ้วน อาจนำไปสู่การเกิดโรคข้อเสื่อมของข้อเข่า ,
และข้อด้านล่าง,  บาดเจ็บจากอบุติเหตุ หรือจากเล่นกีฬา หรือในระหว่างการ
ปฏิบัติงาน, สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อเกิดโรคข้อเสื่อมได้

ความเจ็บปวดจากโรคข้อเสื่อม...
เป็นผลมาจากกระดูกอ่อนที่ปกคลุมข้อ (joint coverage) ถูกทำลาย
ซึ่งกระดูกอ่อนดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดการกระแทกของข้อ และกระดูก

เมื่อกระดูกอ่อนถูกทำลายไป...
เป็นเหตุให้ปลายกระดูกที่มาจรดกัน จะเกิดการเสียดสีกัน...
ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บปวด และลดการเคลื่อนไหวไปในที่สุด

ความเจ็บปวดของโรคข้อเสื่อมจะมีลักษณะเป็นการเฉพาะ...
นั่นคือ อาการจะเลวลงเมื่อมีการลงน้ำหนักบนข้อที่เสื่อม (osteoarthritis)
และอาการจะดีขึ้นเมื่อได้มีการพักผ่อน

ข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่...
ข้อเข่า, ข้อสะโพก, เท้า, ข้อเท้า  และข้อที่อยู่ใกล้ปลายนิ้วมือ

อาการคนที่เป็นโรคข้อเสื่อม...
เขาจะมีความรู้สึกข้อจัง (stiffness) ในตอนเช้า, กดเจ็บ , กระดูกข้อโตขึ้น,
และการเคลื่อนไหวข้อลดลง ซึ่งจะแตกต่างจากโรค “รูมาตอยดื”  
โดยที่โรคข้อเสื่อมจะมีการอักเสบเพียงเล็กน้อย
และอยู่ในตำแหน่งที่เสื่อมเท่านั้น


>> Next:  osteoarthritis : การรักษา( Treatment Strategies)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น