Jun 20,2013
โรคเบาหวานเป็นสภาวะอย่างหนึ่ง
ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เรา
โดยที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมน
หรือตอบสนองต่อ“อินซูลิน” ได้ตามปกติ
ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวจะทำหน้าที
ทำให้น้ำตาลในกระแสเลือด (glucose)
เคลื่อนตัวเข้าสู่เซลล์
เพื่อใช้เป็นพลังงานต่อไป
เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่พอ
หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินที่มีตามปกติ
จะเป็นเหตุทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น
และ...
เมื่อปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาพเช่นนั้นเป็นเวลานาน
ๆ จะทำให้มี
ภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัวเกิดขึ้น เป็นตันว่า เกิดโรคหัวใจ, โรคตา, โรคไต,
และโรคเส้นประสาทถูกทำลาย
ปัจจุบัน
เราจะพบว่ามีคนเป็นโรคเบาหวานกันมากพอสมควร และดูเหมือนว่า
ตัวเลขของคนเป็นโรคเบาหวานจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
จากสถิตของไทยพบว่า
คนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นเบาหวาน
ได้
9.6
% และในจำนวนคนที่เป็นเบาหวาน ประมาณ 50 %
จะไม่รู้ตัวมาก่อนว่า
ตนเองเป็นโรคเบาหวาน เป็นเหตุให้เขาเหล่านั้น
สูญเสียโอกาสที่จะได้รับ หากเขาได้รับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนได้
คนที่เป็นโรคเบาหวานส่วนใหญ่ จะเป็นเบาหวานประเภท 2 (T2DM)
ซึ่งในสมัยก่อนเราเรียกว่า
non-insulin
dependent diabetes
หรือ
adult
Onset diabetes เป็นโรคที่เกิดขึ้นในคนที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว
ส่วนอีกประเภทหนึ่ง
เรียก insulin-dependent
diabetes หรืออีกชื่อเราเรียกว่า
Juvenile
onset diabetes ซึ่งเป็นโรคที่เกิดในเด็ก
มีการประมาณการว่า
หนึ่งในสามของคนที่เป็นเบาหวานประเภทสอง(T2DM)
จะไม่รู้ตัวมาก่อนว่า ตนเองเป็นโรคเบาหวาน (สถิติของสหรัฐฯ)
จากกรณีศึกษาในคนที่เป็นเบาหวาน
Mrs. Smith (Case II)...
เธอเล่าว่า
มีอาการของโรคเบาหวานหลายอย่าง เป็นต้นว่า กระหายน้ำ,
ตาฟ้าฟาง
และปัสสาวะในตอนกลางคืนบ่อยครั้ง
อาการของโรเบาหวานที่พบได้เสมอ
ๆ ได้แก่:
§ ปัสสาวะบ่อย (polyuria)
§ กระหายน้ำมาก
(polydipsia)
§ หิวข้าวอย่างมาก
(extreme
polyphagia)
§ น้ำหนักตัวลด (usual weight loss)
§ รู้สึกเหนื่อยเพลีย
(increase
fatigue)
§ ตามัว (blurred vision)
§ หงุดหงิด-รำคาญ (irritability)
ในคนที่เป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1DM) มักจะมีอาการดังกล่าว ซึี่งเกิดขึ้น
อย่างฉับพลัน
และรุนแรง โดยอาการที่กล่าวมักจะเกิดก่อนได้รับการวินิจฉัย
ส่วนเบาหวานประเภทสอง
(T2DM)
อาการดังกล่าว จะค่อยๆ
เกิดขึ้นอย่างช้าๆ
และไม่รุนแรงเหมือนกับเบาหวานประเภทหนึ่ง
ซึ่งเกิดในคนอายุน้อย
จึงเป็นเหตุทำให้เราคิดว่า อาการที่เกิดขึ้นนั้น เป็นอาการของโรคอย่างอื่นไป
ยกตัวอย่าง...
ในคนสูงอายุอาจมีปัญหาเรื่องสายตา
(vision
problems), ความรู้สึกอยาก
ปัสสาวะบ่อยขึ้น
(increased
need to urinate), และรู้สึกเหนื่อยเพลีย (fatigue)
ซึ่งมักเป็นอาการที่ปรากฏในคนสูงอายุ เป็นเหตุให้ไม่พบหมอ หรือไปพบแล้ว...
หมออาจบอกคนไข้ว่า... “คนแก่ก็เป็นเช่นนั้นเอง...ไม่มีอะไรหรอก.”
จึงเป็นเหตุให้คนแก่ไม่ได้รับการวินิจฉัย....
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวาน...
§ มีประวัติของสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
เช่น พ่อแม่,
พี่น้องเป็นโรคเบาหวาน
§ น้ำหนักเกิน
§ งานนั่งโต๊ะ...ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย
§ เชื้อชาติ(African-Americans,
Hispanic-Americans, Native
Americans, Asian- Americans, and
Pacific Islanders)
§ มีประวัติ impaired fasting
glucose หรือ impaired glucose
tolerance ซึ่ง ADA ได้แนะนำให้ใช้คำว่า pre-diabetes ในคน
ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ
แต่ยังไม่สูงพอที่จะวินิจฉัย
เป็นโรคเบาหวาน
§ ความดันโลหิตสูง≥
140/90
mmHg
§ ไขมันในเลือดสูง
(dyslipidemia)
หรือ คลอเลสเตอรอลผิดปกติ
(HDL-cholesterol ≤35
mg/dL and/or
a triglyceride level ≥250
mg/dL)
§ มีประวัติเป็นโรคเบาหวานในขณะตั้งท้อง
หรือ คลอดบุตรที่มีน้ำ
หนักมากกว่า 9 ปอนด์
ตารางที่
2
American Diabetes Association
Glycemic
Goals
Index
|
Normal
|
Goal
|
Additional
Action Suggested
|
Premeal
glucose (mg/dL)
Blood
Plasma
|
<110
<110
|
80-120
90-130
|
<80
or >140
<90
or >150
|
Bedtime
glucose (mg/dL)
Blood
Plasma
|
<110
<120
|
100-140
110-150
|
<100
or >160
<110
or >180
|
A1C
(%)
|
<6
|
<7
|
>8
|
Note:
A1C is referenced to a non-diabetic range of 4-6 percent.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น