วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประเมินความเสี่ยง และประโยชน์ อันพึงได้จากการใช้ยารักษา (3) : Use Evidenced-based Medicine to Determine First-Line Agents


Jun  2013 ในปัจจุบันเรามีระบบที่เรียกว่า....
Evidence  Based Medicine  (EBM) ซึ่งหมายถึง การรักษาที่ได้รับการพิสูจน์
โดยการศึกษา, วิจัยแล้วพบว่า  ผลการรักษาเป็นอย่างไร?
รักษาแบบนี้แล้วมีโอกาสหายเท่่าไหร่
รักษาแบบนี้แล้วเกิดประโยชน์อย่างไร ฯลฯ

Evidence-based medicine ....
หมายถึงการรักษาที่ได้รับการพิสูจน์โดยการศึกษา และวิจัยมาแล้ว
ว่า ผลการรักษาเป็นอย่างไร  เมื่อได้รับการรักษาแบบนั้นแล้วเกิด
ประโยชน์อย่างไรบ้าง และอื่น ๆ

การรักษาบนพื้นฐานของหลักฐาน (evidence-based)
ซึ่งได้ผ่านขั้นตอนการศึกษา ที่ต้องใช้คนไข้เป็นจำนวนมาก, โดยมีการเปรียบ
เทียบการใช้ยาสองชนิด หรือมากกว่า หรือเปรียบเทียบการใช้ยาชนิดหนึ่ง กับ
ยาหลอก (placebo) ติดต่อกันเป็นเวลานานพอสมควร และจากการทดลอง
ดังกล่าว  จะต้องมีการป้องกันไม่มีความลำเอียงในการแปลผล

โชคดีที่ผู้เชี่ยวจากหลายสาขา  ได้วางแนวทางการรักษาโรคที่พบได้บ่อย  
โดยอาศัยการรักษาบนพื้นฐานของหลักฐานที่พบ(ดูตารางที่ 3) 
ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ยาตัวนั้นๆ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยที่สุด  
และพวกเขาได้แนะนำให้ใช้ยาตัวดังกล่าวเป็นยาอันดับแรก (first-line drugs)
เพื่อใช้ในการรักษา หากไม่ได้ผลจึงค่อยกระโดดไปใช้ยาในอันดับ 2 
(second-line drugs)

ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของ Mr. Brown
จากการประยุกต์เอาแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงมาพิจารณาการใช้
ยาของ Mr. Brown (Case I) พบว่า...
จาก The Sixth Report of the Joint National committee On Prevention , Detection, Evaluation and Treatment of High Blood Pressure (JNC-VI) 
กล่าวว่ายา Clonidine Patch (Catapres-TTS-1®) จัดเป็นยาอันดับ 2
สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง

สาร clonidine จะมีกลไกการออกฤทธิ์ที่สมองส่วนกลาง  ดังนั้นมันจึง
อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบประสาทส่วนกลาง
เช่น เกิดอาการสงบ (sedation) หรือ ซึมเศร้า(depression)

Mr. Brown ได้รับยาขับปัสสาวะ- Hydrochlorothiazide เพื่อรักษาความดัน
โลหิตสูง ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเลือกใช้ยาที่ถูกต้องแล้ว เพราะยาตัวดังกล่าวจัด
เป็นยาอันดับแรกสำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง

ถ้าหากความดันยังไม่ลด...
ยาที่ควรเสริมเข้าไป  จึงน่าจะเป็นยาที่อยู่ในอันดับหนึ่ง (first-line) เช่นกัน
ไม่ควรเป็น clonidine ซึ่งเป็นยาอันดับที่สอง

Table 3. Selected Websites for Treatment Guidelines
• High Blood Pressure – http://www.nhlbi.nih.gov
• Diabetes – http://www.diabetes.org
• High Cholesterol - http://www.nhlbi.nih.gov
• Asthma - http://www.nhlbi.nih.gov
• Obesity - http://www.nhlbi.nih.gov
• Chronic Heart Failure – http://www.acc.org
• Coronary Heart Disease - http://www.acc.org

การปรับยาให้เหมาะกับคนแต่ละคน
(Tailor Drug Therapy to the Individual)

แนวทางการรักษา เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้น
แต่ในการปฏิบัติ แนวทางการรักษาคนไข้แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน  ไม่มีสูตรการ
รักษาตายตัวสำหรับคนไข้ทุกคน  แต่ละคนจะต้องมี
การปรบแผนการรักษา  โดยพิจารณาโรคที่เกิดร่วม, ยาที่ใช้, 
และความปรารถนาของคนไข้...

Mr. Brown ได้รับยาสองตัวเพื่อลดความดันโลหิต
อย่างไรก็ตาม เขายังมีโรคหัวใจจากหลอดเลือดเลือดตีบ (coronary
Heart disease)  ซึ่งมีประวัติกล้ามเนื้อหัวใจตาย(myocardial infarction) 
โดยมีอาการเจ็บหน้าอก (heart attack)

ในกรณีดังกล่าว...
โรคความดันโลหิตสูงของเขาควรได้รับยาในกลุ่ม angiotensin converting enzyme (ACE) inhibitor เช่น Analapril หรือ ramipril และ beta-blocker 
( เช่น atenolol หรือ Metoprolol) ซึ่งถือได้ว่า เป็นยาที่เหมาะสมสำหรับ Mr. Brown

ในทางปฏิบัติ...
ยา ACE inhibitors และ beta-blockers ถือเป็นยากลุ่มแรก (first-Line therapy) สำหรับรักษาคนเป็นโรคความดันโลหิตสูง และควรใช้ในคนไข้ทีเป็นโรคหัวใจ
ที่มีสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดตีบ  โดยเฉพาะในคนที่เคมีภาวะหัวใจขาด
เลือด มาก่อน(heart attack) 

สำหรับ Mr. Brown…
ควรเปลี่ยนยา clonidine เป็น ACE inhibitor หรือ beta-blocker
นอกจากนั้น  Mr. Brown ต้องกินยาลดไขมัน (ซึ่งเขาชอบลืมกินยาตัวดังกล่าว) 
การมีไขมันในเลือดสูง เป็นปััจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดขึ้น และ
หรือเกิดภาวะสมองขาดเลือดได้

ในการปรับแผนการรักษา...
เราจำเป็นต้องพิจารณาการใช้ยาบางอย่างด้วยความระมัดระวัง
โดยเฉพาะ Mr. Brown ได้รับยา Naproxen® (สั่งโดยแพทย์)
เพื่อรักษาอาการปวดจากโรคไขข้อ (arthritic pain)

ยา Naproxen® อาจทำให้อาการกรดไหลย้อน...แย่ลง  และสามารถทำให้
ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยการทำให้ไตกักเก็บ(retention) เอา sodium 
และน้ำ (water) เอาไว้

นอกเหนือไปจากนี้..
ยา NSAIDs ที่คนสูงอายุใช้ (กิน) ทำให้คนสูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดมีเลือด
ออกในกระเพาะอาหารได้
Mr. Brown มีอาการเจ็บปวดจากโรคไขข้อเสื่อม (osteoarthritis)
และยาที่เหมาะสำหรับเขา คือ acetaminophen (Tylenol®) ไม่ควรใช้ Naproxen

ส่วน Mrs. Smith (Case II) มีปัญหาทางโรคกระเพาะอาหาร (gastric distress) 
และเธอยังได้รับยา warfarin  และด่อนที่จะให้การรักษาด้วย warfarin...
ถ้าแพท็ย์ & เภสัชกร  ควรค้นหาความจริงให้ได้ว่า ปัญหาของเธอ (gastric distress) 
มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีเลือดออกในกระเพาะหรือไม่ 

ในการปรับยารักษาให้แก่ Mrs. Smith…
มีหลายเรื่องที่ควรได้รับการพิจารณา เป็นต้นว่า “ปฏิกิริยาระหว่างยา”
ยา warfarin สามารถทำให้เลือดออกได้ และจะถูกเสริมให้เลือดออก
มากขึ้นโดยยา Takamet HB®, Advil®, Pepto-Bismol®,
ไวตามินซีขนาดสูง ๆ, ไวตามิน E, และยาที่เป็นสมุนไพรต่าง ๆ

เพราะยาต่างๆ ที่กล่าวมา  จะป้องกันไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเคมี (metabolism)
ของ warfarin แถมยังป้องกันไม่เกล็ดเลือดจับตัวเป็นก้อนได้
ดังนั้น เมื่อให้ยาต่าง ๆ ตามที่กล่าวของ Mrs. Smith จึงทำให้การใช้ยา warfarin 
ตกอยู่ในภาวะอันตราย สามารถทำให้มีเลือดออกได้สูงมาก

สรุป...

ในคนสูงวัยทั้งหลาย  สามารถได้รับผลประโยชน์จากการใช้ยาที่เหมาะสมได้  
เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการใช้ยา และลดความเสี่ยงจากผลอันไม่พึงประสงค์จากยา
ได้  เราจำเป็นต้องประเมินความเสี่ยง และประโยชน์ที่พึงได้จากการใช้ยา

โดยยาที่ใช้ จะต้องมีความปลอดภัย และให้ประโยชน์สูงสุด  ซึ่งได้รับการพิสูจน์จากการทดลองทางคลินิกมาแล้ว และเมื่อคนไข้เลือกใช้ยาที่เหมาะสมได้  
เภสัชกรจะทำหน้าที่ตรวจสอบผลของการรักษา และทำให้คนไข้มั่นใจว่า...
พวกเขาจะได้รับประโยชน์จากยารักษา  โดยไม่ต้องทนต่อการใช้ยาที่ทำให้เกิดผลเสีย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากกระบวนการที่ไม่เหมาะสม

คำแนะนำที่คนไข้ควรได้รับ:

§  สนับสนุนให้คนไข้ปฏิบัติกินยาตามคำแนะนำอย่างได้ขาด
อย่าได้คิดว่า คนไข้เชื่อว่า เขาจำเป็นต้องใช้ยา
§  ท่านจะต้องอธิบายให้เขาได้ทราบถึงประโยชน์ที่จะได้
จากการรักษา
§  ใช้อุปกรณ์การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และมีการตรวจ
สอบการปฏิบัติตามของคนไข้อย่างสม่ำเสมอ
§  เสนอกลวิธีหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะอันพึงประสงค์ (side effect)
หากมันเกิดขึ้น เขาจะต้องปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษา


<< Prev.

http://www.pharmacy.ca.gov

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น