วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Depression (4)

  Jun 22, 2013

Continued…


ยาในกลุ่ม antidepressants ทุกตัวที่มีอยู่ในท้องตลาด...
ต่างมีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะซึมเศร้าในคนสูงอายุได้ทุกตัว
แต่คนสูงอายุ จะไม่จำเป็นต้องตอบสนองต่อยาทุกตัว

ในการเลือกใช้ยา...
ยาที่ผลิตข้นใหม่- second generation agents เช่น SSRIs, venlafaxine,
Bupropion จะเป็นกลุ่มยาทีให้ผลข้างเคียงเกิดขึ้นกับคนสูงอายุได้น้อย
กว่ายาดั้งเดิม (first generation agents) เช่น TCAs, trazodone)

ผลอันไม่พึงประสงค์ (side effect) เช่น เมื่อลุกขึ้นทำให้เกิดอาการวิงเวียน
อาจมีได้ในทั้ง first & second generation agents

สำหรับผลอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดจาก ปฏิกิริยาระหว่างยา กับยา 
สามารถพบได้ในกลุ่มยารุ่นรุ่นเก่า (first generation) และอาจมีพบ
ในยารุ่นใหม่(second generation antidepressants) ได้เช่นกัน

Dose and Duration of Therapy

ได้กล่าวมาแล้วว่า...
การรักษาภาวะซึมเศร้าในคนสูงอายุ มีโอกาสที่จะได้รับการรักษาต่ำกว่ามาตรฐาน  
ในการศึกษาเรื่อง pharmacokinetic ของยา antidepressants
หลายตัว เช่น nefazodone, citalopram, paroxetine, bupropion
พบว่า  การกำจัดสารดังกล่าวจะลดลงเมื่อมีการใช้ในคนสูงวัย

จากความเป็นจริงดังกล่าว ได้บอกให้เราได้ทราบว่า...
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากผลข้างเคียงจากยา
การใช้ยาจะต้องเริ่มจากน้อย และเพิ่มขนาดของยาอย่างช้า ๆ

และผลจากการศึกษา บอกให้ทราบว่า ขนาดของยาที่ใช้ตามมาตรฐาน 
สามารถใช้กับคนสูงอายุได้ โดยที่พวกเขาสามารถทนต่อการใช้ยาได้เป็นอย่างดี 

อย่างไรก็ตาม การใช้ยาจำเป็นต้องมีการประเมินผล
ทั้งในแง่ประสิทธิภาพ และในแง่ของอาการอันไม่พึงประสงค์

ในระหว่างการใช้ยารักษา...
หากพบว่า มีผลอันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น สิ่งที่จะต้องกระทำ คือ
ลดขนาดของยาลง, การให้ยาช้าลง หรือการปรับเปลี่ยนยากลุ่มใหม่
ซึ่งอาจเหมาะสมกว่า  เพราะคนไข้ที่ไม่ตอบสนองต่อยาตัวหนึ่ง อาจได้
รับประโยชน์จากการใช้ยาตัวอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือต่างกลุ่ม
(the same class or different class)

ภายหลังการรักษาด้วยยา...
เมื่อพบว่า คนไข้สามารถตอบสนองต่อยา แม้ว่า อาการซึมเศร้าจะหายไปแล้วก็ตาม
เรายังต้องให้ยาต่อไปอีกอย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือน ทั้งนี้เพราะการ
เลิกยาเร็วเกินไป คนไข้มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงมาก

สำหรับในกรณีที่เกิดมีอาการซึมเศร้ามากกว่าหนึ่งครั้ง...
เขาอาจจำเป็นต้องใช้ยาไปตลอดชีวิต และการตัดสินใจว่าจะใช้ยาต่อ หรือ
เลิกใช้ยา  จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักดูโดยตัวคนไข้เอง และผู้ให้การรักษา
โดยพิจารณาถึงผลที่กระทบต่อคุณภาพของชีวิตเป็นสำคัญ

Serotonin Syndrome

Serotonin syndrome เป็นกลุ่มอาการอันไม่พึงประสงค์ที่มีความรุนแรง 
โดยมีมีอาการหลายอย่างดังต่อไปนี้ เช่นหงุดหงิด งุ่นง่าน, กล้ามตึง
(increase muscle tone), ตัวสั่น (shivering), กล้ามเนื้อกระตุก หรือหดเกร็ง
( twitching or spasms) และมีความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป

ยา antidepressants ทั้งหลายที่กล่าวมา...
สามารถทำให้ระดับความเข็มข้นของ serotonin ภายในสมองเปลี่ยนไป
โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้สาร monoamine oxidase inhibitor ร่วมกับยากลุ่ม
Antidepressants  หรือใช้ร่วมกับยากลุ่ม serotonergic agents
เช่น selegeline (Eldepryl®), zolmitriptan (Zomig®)  เป็นเหตุให้มีการ
สะสมสารดังกล่าวในสมองเพิ่มมากขึ้น

ยากลุ่ม antidepressants ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับ serotonin syndrome
มากที่สุด เห็นจะได้แก่ monoamine oxidase inhibitors,  SSRIs,
และ venlafaxine  หากมีปฏิกิริยาเกิดขึ้น เราจะต้องหยุดยาทันที

<< Prev. Next >>  Psycholtherapy


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น