วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บริบาลเภสัชกรรม ( 2 ) :การไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ (Nonadherence)

JUn 2013

มีคนไข้จำนวนไม่น้อยชอบพูดว่า...”แค่กินยาก็อิ่มแล้ว”
เป็นคำพูดประชดประชันของคนไข้ ที่ต้องตกอยู่ภายใต้ภาวะที่ต้องจำยอม
ต้องกินยาตามแพทย์สั่ง  หากเขาปฏิบัติตาม เราใช้คำว่า adherence
หรืออาจใช้คำว่า compliance ก็ได้  และไม่ปฏิบัติตาม 
เราใช้คำว่า nonadherence

เนื่องจากนิสัยของมนุษย์บางคนชอบแหกกฎ... 
หากเขามีโอกาสเมื่อใด จะมีการแหกกฎเกิดขึ้นโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว ? 
เช่น การมีโรคหลายชนิด และจำเป็นต้องใช้ยาหลายเม็ดหรือหลายขนาน 
โอกาสที่จะทำให้คนไข้ไม่ปฏิบัติคำแนะนำของแพทย์ยอมมีได้สูง
(nonadherence)

Mr. Brown รับประทานยาเป็นจำนวน 8 ตัว
และในจำนวนดังกล่าว เขาจะต้องรับประทานเป็นประจำ 6 ขนาน

การใช้ (กิน) ยาของเขามีแตกต่างกัน
ยาบางตัวเขาต้องกินอาทิตย์ละครั้ง หรือสองครั้ง
เป็นเหตุให้เกิดความสับสน ซึ่งนำไปสู่การเลิกใช้ (กิน) ยาไปในที่สุด

แม้ว่า เขาจะรู้ว่าต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งก็ตาม แต่เขายอมรับว่า
เขาชอบลืมกินยาลดไขมัน (lovastatin) โดยเกิดเป็นบางครั้ง
ซึ่งทำให้เกิดผลเสียกับตัวเขาเอง

มีปัจจัยหลายอย่าง กระทบต่อการทำให้เกิด nonadherence ได้แก่:

§  ใช้ยาหลายขนาน โดยกำหนดให้ใช้ยาในเวลาที่ต่างกัน
(เช่น บางตัวรับประทานวันครั้ง, สองครั้ง, สามครั้ง
และบางขนานให้รับก่อนอาหาร หรือพร้อมอาหาร 
ซึ่งทำให้คนไข้เกิดความสับสน
§  ยามีราคาแพง คนไข้ไม่สามารถจ่ายได้
§  เมื่อยาหมด  ไม่สามารถไปรับยาเพิ่ม
§  เกิดความสับสนกับคำสั่งของแพทย์
§  แพ้ยา
§  ไม่เข้าใจในการใช้ยา หรือไม่แน่ใจว่าอะไรจะเกิดขึ้น


ผลอันไม่พึงประสงค์ (Adverse Drug Reactions)

ในการใช้ยาของคนสูงอายุ ซึ่งมักจะใช้ยาหลายขนาน ยิ่งต้องกินยา
จำนวนหลายขนานเมื่อใด โอกาสที่จะเกิดอาการแพ้ยา หรืออาการ
อันไม่พึงประสงค์ย่อมมีได้เพิ่มขึ้น
ยกตัวอย่างของ Mr. Brown ได้รับประทานยาลดความดันโลหิตสูง
ชื่อ Catapress-TTS®

ยาตัวนี้ มักจะก่อให้เกิดอาการหน้ามืด-วิงเวียน เพราะมันทำให้การไหลเวียน
ของเลือดลดต่ำลงในขณะลุกขึ้น (orthostatic hypotension)
นอกจากนั้น ยังก่อให้เกิดอาการปากแห้ง (dry mouth), ท้องผูก,
และมักจะก่อให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้

Mr. Brown มีประวัติว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial Infarction)
ดังนั้น ยาสำหรับลดความดันโลหิตสูงของเขา น่าจะเป็นยาในกลุ่ม ACEi
(angotensin converting enzyme inhibitor) หรือกลุ่ม Beta-blocker
ซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่าการใช้ยา Catapress-TTS®....

Mr. Brown ยังใช้ยา Naproxen ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม NSAIDs เพื่อรักษา
อาการเจ็บปวดจากโรคไขข้ออักเสบ (arthritic pain) ด้วย
ซึ่งยาตัวนี้ อาจออกฤทธิ์ต้านฤทธิ์ยารักษาความดันโลหิตได้ โดยทำให้
มีน้ำ และ sodium ถูกกักเก็บเอาไว้ในร่างกาย (water retendtion)
นอกจากนั้น Naproxen ยังทำให้อาการทางกระเพาะอาหาร (กรด
ไหลย้อน) เลวลงได้

ในกรณีของเขาควรทำอย่างไร ?

Mr. Brown ควรใช้ยาแก้ปวด acetaminophen สำหรับรักษาอาการ
ปวดจากโรคไขข้อ (arthritic pain) ซึ่งยาตัวนี้ เป็นยาที่ปลอดภัย
ไม่มีผลกระทบต่อการใช้ยาตัวอื่น ๆ

ในคนสูงอายุทั้งหลาย ไม่ควรใช้ยา diazepam หรือยาในกลุ่ม
benzodiazepines ที่ออกฤทธิ์ยาวตัวอื่นๆ... ทั้งนี้เพราะยาดังกล่าว 
มีแนวโน้มที่จะสะสมภายในร่างกาย ทำให้คนสู'อายุมีอาการง่วงนอนในตอน
กลางวัน  เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มกระดูกแตกหัก,  และทำให้
การรับรู้ของคนสูงอายุลดน้อยลง


การให้คำแนะนำแก่คนไข้...
(Patient Consultation)

มีคนไข้บางคน เห็นแล้วรู้สึกดีใจ...
เพราะทุกครั้งที่เขาจะรับประทานยา เขาจะตั้งคำถามเกี่ยว
การใช้ยาเสมอ  จนบางครั้งทำให้แพทย์เกิดความตื่นตัว...

Mrs. Smith (Case II) เป็นคนซื้อยาใช้ (กิน) เอง โดยไม่ยอมปรึกษาแพทย์
เธอต้องการซื้อยา (ตามเพื่อนบอก) เช่น Tagamet HB®, Pepto-Bismol®
ทั้ง ๆ ที่แพทย์ได้สั่งยาลดกรดในกระเพาะชื่อ omeprazole ให้แก่เธอแล้ว
สิ่งที่เธอปฏิบัติ  เป็นการกินยาในกลุ่มเดียวกัน เป็นการใช้ยาซ้ำซ้อน

นอกจากนั้น เธอยังซื้อยามารักษาตัวเองอีกสองตัว คือ vitamin E และ
สมุนไพร- gingko biloba ซึ่งจะก่อให้มีการเพิ่มฤทธิ์ของยาต้านการจับตัวของ
เม็ดเลือดชื่อ  Coumadin®

จากการใช้ยาดังกล่าว...เธอมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออก
(Bleeding) ได้สูงมาก

นอกจากนั้น Mrs. Smith เธอยังใช้ยากลุ่ม NSAIDs ซ้ำซ้อนกันอีก นั่นคือ
แพทย์สั่งยา Vioxx® ให้แก่เธอ และเธอได้ไปซื้อยา ibuprofen
ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม NSAIDs มากินอีก...

จากการกินยาซ้ำซ้อนดังกล่าว นอกจากจะทำให้เกิดผลเสียต่อกระเพาะ
อาหารแล้ว  มันยังเพิ่มฤทธิ์ของยาต้านการจับตัวของเม็ดเลือด (anticoagulant) เป็นเหตุให้เกิดมีการตกเลือดเพิ่มขึ้น

จากกรณีตัวอย่างที่นำเสนอ...
ชี้ให้เห็นว่า การให้คำปรึกษา และการให้ความรู้แก่คนไข้สูงอายุ
ในด้านการใช้ยารักษา ย่อมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทำให้คนไข้ได้รับยาอย่างมี
ประสิทธิภาพ และปลอดภัยไร้อาการอันไม่พึงประสงค์ได้


http://www.pharmacy.ca.gov/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น