วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เมื่อคนแก่ต้องกินยารักษา... (Drug Therapy Considerations in Older Adults)

May  2013

ในปัจจุบัน  ประเทศไทยเรามีคนสูงอายุมากที่สุดในกลุ่ม
ประเทศเอเซียนไปซะแล้ว โดยเราพบว่า มีคนสูงอายุมากกว่า 65  มีถึง 12.8 %
ของประชากรทั้งหมด

ตัวเลขดังกล่าว มีค่าใกล้เคียงกับตัวเลขที่สหรัฐฯ แสดงเอาไว้
ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้...

§  ในปี 2000 มีคนสูงอายุมากกว่า 65  ถึง 12.4 % หรือ
35 ล้านคน หรือในจำนวนประชากร 8 คนจะพบว่ามีคนสูงวัย 1 คน
§  ภายในปี 2011 คาดว่าจะพบคนสูงอายุประมาณ 76 ล้านคน และภายในปี 2030 จะมีคนสูงอายุมากถึง 140 ล้าน ซึ่งหมายความว่า ในจำนวนประชาชน 4 คน จะมีคนแก่หนึ่งคน
§  ในอเมริกา คนแก่ที่พบมากที่สุดจะมีอายุที่อยู่ใน 85s ปี

เมื่อประเทศใดมีประชากร  ที่เป็นคนสูงวัยเพิ่มมากขึ้น ย่อมทำให้แพทย์มีโอกาสพบเห็นคนป่วยที่มีอายุสูงอายุเพิ่มจำนวนขึ้นโดยไม่เป็นที่สงสัย

จากสถิติของสหรัฐฯ เขารายงานเอาไว้ว่า...
ในคนแก่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีโอกาสที่เกิดโรคเรื้อรัง 
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา โดยเฉพาะรักษาด้วยยา
โดยโรคที่พบบ่อยๆ ได้แก่:

§  44 % เป็นโรคไขข้ออักเสบ (arthritis)
§  39 % เป็นโรคความดันโลหิตสูง (hypertension)
§  28 % เป็นโรคหัวใจชนิดใดชนิดหนึ่ง
§  20 % เป็นโรคเบาหวาน (diabetes)

โดยเฉลี่ยแล้ว คนสูงอายุจะไปพบแพทย์ประมาณ ปีละ 6 ครั้ง และรับใบสั่งยาจากแพทย์ให้ (prescriptions)  12 ครั้งต่อปี

ในสหรัฐอเมริกา...
เขายังรายงานต่ออีกว่า คนสูงอายุรับยารักษาได้ไม่ดีเท่าที่ควร (less
than optimal)  ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้งแพทย์ และคนไข้ทราบ
และต่างกังวลต่อเรื่องดังกล่าวไม่มากก็น้อย

แน่นอน! ยารักษาโรค (medications) สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของ
คนไข้ดีขึ้นโดยไม่เป็นที่สงสัย แต่หากการได้ยารักษา...ไม่เหมาะสมกับ
มันอาจก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ (adverse drug reaction) และอันตรายได้, เพิ่มค่าใช่จ่ายให้สูงขึ้น, อาจเป็นเหตุให้คนไข้ลงเอยด้วยการถูกส่งไปรับอยู่รักษาในโรงพยาบาล  หรืออาจทำให้เขาเสียชีวิตก็อาจเป็นได้

ในการให้คนไข้สูงอายุได้รับยาเพื่อการรักษา...
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลคนไข้  โดยเฉพาะเภสัชกรสามารถทำให้
ผลการรักษาดีขึ้น และสามารถลดผลอันเกิดจากอาการอันไม่พึงประสงค์
ได้

ตัวอย่างของคนไข้สูงอายุที่จะนำเสนอ  ไม่มีปัญหาเป็นการเฉพาะ แต่เป็น
ตัวอย่างของคนสูงวัย เป็นโรคต่าง ๆ ที่พบได้บ่อย  และได้รับยารักษาเป็นประจำ  และบทความต่อจากนี้ไปจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับคนไข้ทั้งสาม 
โดยหวังว่า เราจะได้พบข้อมูล อันเป็นข้อความรู้ ซึ่งอาจมีประโยชน์ 
และนำไปประยุกต์กับโรคที่เกิดขึ้นกับตัวเราเอง หรือ
โรคของคนที่เรารู้จักได้

Case Histories

Case I: Mr. และ Mrs. Brown

Mr.  & Mrs. Brown อาศัยในคูหาเล็ก ๆ ณ ใจกลางเมืองแห่งหนึ่ง
Mr. Brown  อายุ 79 ปี เกษียณอายุจากการเป็นนักบัญชี
ส่วนภรรยา Mrs. Brown อายุได้ 51 ยังคงทำงานเป็นครูสอนหนังสือเป็นบางครั้ง

Mr. Brown เป็นคนแก่ก็จริง แต่เขาเป็นคนแข็งแรง มีความสุขกับการเต้นรำ และ
มีการออกกำลังกายด้วยการเดินในส่วนสาธารณะเป็นประจำทุกวัน

Mrs. Brown ไม่ได้รับใบสั่งยาจากแพทย์ (non-prescription) แต่เธอสั่ง
ซื้อยาทางไปรษณีย์ เพื่อใช้รักษาตัวเอง

ยาที่ Mr. Brown ผู้เป็นสามี รับประทานเป็นประจำ ได้แก่:

§  aspirin 81mg once daily
§   hydrochlorothiazide 25 mg once daily
§  clonidine patch (Catapres-TTS-1®) weekly for hypertension
§  ranitidine (Zantac®) 150 mg twice daily for gastric reflux
§  naproxen (Naprosyn®) 375 mg twice daily as needed for
         arthritis pain
§  lovastatin (Mevacor®) 40 mg daily at bedtime
§  metformin (Glucophage®) 500 mg three times daily for
diabetes
§  nitroglycerin 0.4 mg sublingual as needed for chest pain
§  diazepam 5mg as needed for occasional anxiety and
insomnia

Mr. Brown เป็นคนขี่โรค  มีโรคหลายอย่างอยู่ในตัว ซึ่งได้แก่ โรคความดัน
โลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคกรดในกระเพาะไหลย้อน,
ไขมัน Cholesterol ในเลือดสูง

เขาเคยมีประวัติว่า  ในอดีตประมาณสามปี่ที่ผ่านมา เขามีประวัติเจ็บหน้าอก
หนึ่งครั้ง  หลังจากนั้น เขาไม่เคยมีประวัติว่าเจ็บหน้าอกเกิดขึ้นอีกเลย
เขาเล่าว่า  เขาเป็นคนปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ทุกปราการ  มียกเว้นแต่
เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น  นั่นคือ  เขาลืมกินยาลดไขมันเป็นบางครั้ง


Case II: Mrs. Smith
Mrs. Smith อายุ 69 เพิ่งเกษียณอายุจากงานพนักงานขาย หลังจากนั้น
เธอได้กลับไปพักอาศัยอย่างโดดเดียวที่บ้านพักในเขตชานเมือง...

เธอเคยถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคมก้อนเลือด (blood clot) เกิด
ขึ้นในเส้นเลือดดำของขา (deep vein thrombosis)
ซึ่งเธอได้รับการรักษาด้วยยาสลายก้อนเลือด ชื่อ  warfarin
และเมื่อเธอได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน  แพทย์ได้เพิ่มขนาดของยา warfarin
จาก 3 mg เป็น 5 mg ต่อวัน

เนื่องจากเธอต้องจ่ายสตางค์ซื้อยา warfarin เอง
เธอจึงพยายามเที่ยวหาซื้อยาที่มีราคาถูกทีสุดมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้มีก้อน
เลือดเกิดขึ้นอีก  โดยใช้ยาขนาด 5 mg /วัน

ยารักษา (medications) ซึ่ง Mrs. Smith ต้องรับประทานเป็นประจำ
ได้แก่:

§  warfarin (Coumadin®) 5 mg per day
§  digoxin (Lanoxin®) 0.125 mg daily for irregular heart beat
§  fluoxetine (Prozac®) 20 mg per day for depression
§  rofecoxib (Vioxx®) 25 mg daily for joint pain
§   loratadine (Claritin®) one tablet daily for hay fever (OTC)
§  omeprazole (Prilosec®) 20 mg per day for stomach distress

จากรายชื่อของยาที่เสนอมา บอกได้ว่า Mrs.  Smith ยังมีโรคหัวใจเต้นไม่
สม่ำเสมอ (arrhythmia) ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดมีก้อนเลือดเกิดในเส้นเลือดดำ
อกจากน้น เธอยังมีโรคไขข้ออักเสบ, โรคซึมเศร้า, โรคแพ้ตามฤดูกาล (Hey
Fever) และเป็นโรรกระเพาะอาหารอักเสบ

นอกจากใช้ยา (รับประทาน) ตามที่แพทย์สั่งแล้ว ซึ่งมีจำนวนถึง 6 ขนาน
เธอยังอุตส่าห์ซื้อยาเพิ่มอีกหลายตัว เป็นต้นว่า  Tagamet HB®, Pepto-Bismol®,  gingo biloba capsules, Vitamin C 500 tablets,
vitamin E 1,000 unit capsules, และ Advil®

ในระยะหลัง...เธอได้รายงานให้เภสัชกรได้ทราบว่า 
เธอรูสึกกระหายน้ำมากจนผิดปกติ  ถึงกับทำให้เธอต้องตื่นกลางดึก 
เพื่อลุกขึ้นเพื่อขับถ่ายปัสสาวะหลายครั้ง

Case III: Mrs. Young

Mrs. Thelma Young อายุ 71 เกษียณอายุจากอาชีพครู
ได้รับการวินิจฉัยว่าเธออาจเป็นโรค “อัลไซเมอร”  ซึ่งมีอาการไม่รุนแรงนัก
สามีของเธอ Mr. Young ต้องการช่วยให้ภรรยาของเขาหายจากโรคสมองเสื่อม เขาจึงไปซื้อยา Advil® และ vitamin E ให้ภรรยา ด้วย
หวังผลว่า จะทำให้อาการจากโรค “อัลไซเมอร์” ดีขึ้นบ้าง

Mrs. Young ได้บอกกับเภสัชกรผู้ดูแลเธอว่า 
เธอต้องตื่นกลางดึกจากการฝันร้ายทุกคืน และเธอไม่สามารถหลับตาได้อีก
ดังนั้น เธอจึงต้องใช้ยานอนหลับ ที่ซื้อจากรานขายยา
แต่ผลจากการรับประทานยานอนหลับ ทำให้เธอรู้สึกมึนงงทุกเช้า
และรู้สึกว่า เขามีอาการอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้น  นั่นคือ เขานึกหาคำพูดด้วยความลำบาก  แต่ก็ยังสามารถติดต่อสื่อสารได้ดี

Mr. Young สามีของเธอยังเสริมอีกว่า ภรรยาของเขาหลงลืมบ่อย ๆ
เป็นต้นว่า  ขี้ลืมถึงขั้นปล่อยให้หม้อ-กระทะในห้องครัวถูกเผาไหม้หลายครั้ง

สามีของเธอมีความสงสัยว่า...
ยา Aricept ® ซึ่งเป็นยาผลิตออกมาใหม่ สามารถช่วยรักษาโรคของภรรยาของได้จริงหรือ? และ เขายังตั้งคำถามอีกว่า...
ยาที่เขาซื้อเอง (Advil® และ vitamin E)  จะช่วยรักษาอาการขี้ลืมได้หรือไม่ ?

จากประวัติคนไข้สูงอายุทั้งสามราย ต่างเป็นคนสูงวัย แต่ละคนมีหลายโรค
และได้รับยารักษากันคนละหลายขนาน
ซึ่งแต่ละคนมีประเด็นให้เราหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ศึกษาได้....

>>Next :  Pharmaceutical care In Elderly

Source:
§  pharmacy.ca.gov



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น