วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ANGIOPLASTY 2 continued

11/8/12

วิธีการทำ angioplasty


บริเวณของร่างกายที่จะสอดใส่ท่อ catheter เข้าสู่เส้นเลือดแดงใหญ่ 
เช่น แขนหรือขาหนีบ  จะถูกโกนขน และทำความสะอาด
นอกจากนั้น  ท่านยังจะได้รับน้ำเกลือทางเส้นที่บริเวณแขน
เพื่อให้ยาตามที่ต้องการ

แพทย์จะให้ยาช่วยให้ท่านรู้สึกผ่อนคลาย (relax)
ตรงตำแหน่งของแขน หรือขาหนีบ  จะถูกทำความสะอาดให้ปราศจากเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (antiseptic solution)
จากนั้นแพทย์จะจัดการสอดสายท่อ catheter เข้าเส้นเลือดใหญ่โดยอาศัยเอกซเรย์ 
แพทย์สามารถสอดท่อ catheter เข้าสู่หัวใจ  สู่หลอดเลือดหัวใจ (coronary) ที่ตีบแคบ 

ต่อจากนั้นแพทย์จะทำ balloon angioplasty  ซึ่งกระทำโดยการปล่อยลมทำ
ให้บอลลูนที่ติดตรงบริเวณปลายสุดของท่อ catheter  พองตัวขึ้น
ประมาณ 20 – 30  วินาที  ซึ่งเมื่อตัวบอลลูนขยายโตขึ้น  มันจะดันให้คราบ
ไขมันที่ทำให้เส้นเลือดแคบ  ถูกดันให้อัดเข้ากับผนังของเส้นเลือด 
ทำให้รูของเส้นเลือดเปิดออก   ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านได้สะดวกขึ้น



ตามวิธีการดังกล่าว  ภายหลังการทำให้หลอดเลือดขยายออกแล้ว 
เขาจะวางโครงลวดที่เราเรียกว่า stent  เอาไว้ 
เพื่อป้องกันไม่ให้หลอเลือดแคบได้อีก

เพื่อเป็นการยืนว่า  เส้นเลือดแดงที่ถูกทำให้ขายตัวอยู่ในสภาพเรียบ
ร้อย  แพทย์จะทำการฉีดสารทึบแสงเพื่อดูความเรียบร้อยก่อนยุติกระบวน
การณ์ angioplasty 


ภายหลังการทำ angioplasty  แพทย์จะให้ยาป้องกันการจับตัวของเม็ดเลือด (blood thinning)
เพื่อป้องกันไม่ให้มีก้อนเลือดอุดเส้นเลือดขึ้นได้

เมื่อการกระทำทุกอย่างสำเร็จเรียบร้อย  แพทย์จะถอดท่อ catheter ออก
และส่งคนไข้กับห้อง  หรือกลับสู่ coronary  care units
ซึ่งมีการตรวจวัดการเต้นของหัวใจ,  มีการวัดการเต้นของชีพจร 
และวัดระดับความดันโลหิต

ส่วนใหญ่แล้ว  ท่านจะนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ  3 วัน

มีเพื่อนถามว่า...วิธีการดังกล่าว (angioplasty) น่ากลัวไหม ?
ตามความเห็นของแพทย์ด้วยกัน...รู้สึกว่า  ภายใต้ฝีมือของผู้ชำนาญการแล้ว
เป็นวิธีที่ง่าย....ง่ายเหมือนกับศัลยแพทย์เขาทำการผ่าตัดไส้ติ่งนั่นแหละ

การติดตามผล (Follow up)
ก่อนที่ท่านจะกลับบ้าน
แพทย์จะบอกให้ท่านกลับไปพบแพทย์ตามกำหนด
ท่านอาจได้รับยารักษาต่อ  เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดตีบแคบ
หรือการอุดตันขึ้นมาอีก
สิ่งที่ท่านต้องทราบอีกอย่างคือ....เรื่องการออกกำลังกาย
และกิจวัตรประจำวันของท่าน



อันตรายจากการทำ angioplasty (Risks)
แม้ว่า  การขยายหลอดเลือดของหัวใจ (coronary angioplasty) จะเป็น
วิธีการที่ง่าย  และปลอดภัยก็ตามที  แต่มันก็ยังอันตรายได้เหมือนกัน
เช่น:
§  เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด (heart attack) ประมาณ 3 %
§  ในคนไข้ที่ทำ angioplasty  ประมาณ 3 – 5 % ต้องเปลี่ยนเป็น
   ทำ coronary bypass surgery อย่างฉุกเฉิน
§  ทำให้หลอดหัวใจทะลุ  หรือกล้ามเนื้อหัวใจทะลุ
§  เลือดออก  และมีการอักเสบตรงบริเวณสอดสาย cathete
§  เส้นเลือดที่แขน และขาที่สอดใส่ catheter เกิดการอุดตัน
§  แพ้สารทึบแสง

ด้วยปัญหาดังกล่าว  การทำ coronary angioplasty  จะต้องกระทำใน
โรงพยาบาล  ซึ่งมีบุคลากร, ผู้ชำนาญการ และเครื่องมือพร้อมสรรพ 
โดยสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันที

อัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากกรรมวิธี coronary angioplasty
มีได้ประมาณ 1 – 4 รายต่อคนไข้  1,000 ราย

ข้อควรระวัง:
ภายหลังจากท่านกลับบ้าน  นอกจากสิ่งที่ท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งคัดตาม
แพทย์สั่งแล้ว  หากท่านมีอากรต่อไปนี้  ท่านไปพบแพทย์ทันที

§  เกิดอาการเจ็บหน้าอก, หายใจลำบากเหมือนปลาขาดน้ำ (shortness of breath),
เกิดอาการวิงเวียน  หรือ การเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ
§  มีไข้ (fever)
§  บริเวณที่สอดท่อ catheter เกิดอักเสบ (บวมมแดง และเจ็บปวด)
§  ขาด้านที่สอดใส่ท่อ catheter เกิดมีอาการปวด, เย็น, ซีด และอ่อนแรง  คลำชีพจรไม่ได้ 
ซึ่งเป็นอาการแสดงของเส้นเลือดแดงเกิดการอุดตัน

Previous  <<  1  2  


http://www.intelihealth.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น