วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Is Bariatric Surgery for You?

11/14/12

ในบางครั้งบางเวลา เพื่อน ๆ ได้ตั้งคำถามว่า....
ในวงการแพทย์สามารถใช้ศัลยกรรมผ่าตัด...
เอาความอ้วนออกได้หรือไม่ ?

ได้ครับ...
เป็นการผ่าตัดเกี่ยวกับกระเพาะลำไส้  ทำให้อาหารที่คนรับประทานผ่านสู่ลำไส้
อย่างรวดเร็ว  เป็นเหตุให้กระบวนการดูดซึมเอาอาหารตามปกติเสียไป  
ทำหใ้ร่างกายขาดสารอาหารที่สำคัญไป  เป็นเหตุให้ลดน้ำหนักได้ถึง 50 % 
โดยประมาณ

การผ่าตัดดังกล่าวมีชื่อว่า  Bariatric surgery 
ขอเรียกว่า  “การผ่าตัดลดความอ้วน”  ก็แล้วกัน

จากวิธีการทางศัลยกรรมดังกล่าว  ยังมีความเข้าใจผิด  โดยเฉพาะชีวิตหลังการผ่าตัด

ความเชื้อผิดๆ...
มีความเชื่อว่า  การผ่าตัดลดความอ้วน (bariatric) จะทำให้คนลดน้ำหนัก
ได้อย่างง่ายดาย โดยมีดาราผู้มีชื่อเสียงในต่างประเทศ...
เดินโฆษณาเป่าประกาศให้ประชาชนได้รับรู้ว่า  ควรปฏิบัติอย่างไรหลังจาก
ได้รับผ่าตัด  ซึ่งดูประหนึ่งว่า  การผ่าตัดลดน้ำหนักดังกล่าวเหมือนกับศัลยกรรม
ตกแต่งก็ไม่ปาน....ไม่ใช่เช่นนั้น !

ความจริงมีว่า  ศัลยกรรมเพื่อลดน้ำหนัก... 
เป็นการผ่าตัดใหญ่มี  อันตรายมากกว่าศัลยกรรมตกแต่งอย่างมากมาย
และคนที่ได้รับการผ่าตัดจะพบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
โดยมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และด้านอาหารอย่างเคร่งคัด

ในศัลยกรรมผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก (bariatric surgery)
ในบางครั้ง (บางชนิด)  จะมีการตัดเอาส่วนของลำไส้ออก และมีการ
จัดวางตำแหน่งของลำไส้ใหม่

หลังการผ่าตัดแล้ว  เราจะไม่ค่อยจะเห็นรอบยิ้มจากคนได้รับการผ่าตัด
เหมือนกับคนที่ได้รับศัลยกรรมตกแต่งเพื่อความสวยงานเลย


ความจริงที่ควรรู้

หลังการผ่าตัดลดความอ้วน (bariatric surgery)…
เราจะพบว่า  ชีวิตของคนๆ นั้นจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป 
จะพูดว่าหน้ามือเป็นหลังมือโดยสิ้นเชิง
สิ่งที่เห็น  คือคนที่ได้รับการผ่าตัดจะจำกัดปริมาณอาหารลง 
เพราะขนาดของกระเพาะอาหารหลังการผ่าตัดจะเล็กลง

หลังการผ่าตัดคนไข้จะเกิดภาวะท้องล่วง 
การดูดซึมเอาสารอาหารที่สำคัญจะลดลง  หรือเป็นไปด้วยความลำบาก
นอกจากนั้น  คนไข้ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 
ซึ่งเป็นผลมาจากอันตรายจากการผ่าตัด เช่น การอักเสบอย่างรุนแรงที่อาจเกิด
ในช่องท้อง,  บาดแผลหายช้า  และอาจเกิดมีลำไส้เลื่อน (hernias)
หรือลำไส้ถูกรัดภายในช่องท้องได้

ในการผ่าตัดเพื่อลดความอ้วน (bariatric surgery)
มีสองชนิดด้วยกัน และโดยพื้นฐานของการผ่าตัด  ต่างเป็นการทำให้ขนาดของ
กระเพาะมีขนาดลดลง 

วิธีแรก เป็นการวิธีง่าย ๆ ด้วยการใช้ห่วงรัดกระเพาะ


 
ซึ่งในบางรายเราสามารถทำให้กลับสู่สภาพเดิมได้ (reversible)
อย่างไรก็ตาม  ประสิทธิผลในแง่ของการลดน้ำหนักอายน้อย


อีกวิธีเป็นการทำ gastric bypass surgery…



เป็นการผ่าตัดทำให้ขนาดของกระเพาะลดลง  ซึ่งสมารถกระทำไดโดยเปลี่ยนแนวทาง (rerouting)ของลำไส้เล็กเสียใหม่


ความเป็นจริงมีว่า  ศัลยกรรมสำหรับลดความอ้วนสมควรใช้เฉพาะใน
รายที่ได้รับการเลือกสรรแล้ว

ในสหรัฐฯ – The National Institutes of Health ได้ให้แนวทางสำ
หรับใช้ในการทำผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักเอาไว้  โดยอาศัยหลักฐานทีมี
ปรากฏให้เห็นชัด  ดังนี้:

§  มีโรค หรือมีความอ้วน ( body mass index หรือ BMI มากกว่า 40)
§  มีความอ้วนพอประมาณ  โดยมี MBI ระหว่าง  35 – 40 ร่วมกับการ
   มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่รุนแรงมากกว่าหนึ่งอย่าง
§  เช่น โรคเบาหวาน  หรือสภาพร่างกายไม่เหมาะสม
§  มีอายุอยู่ระหว่าง 16  ถึง 65
§  มีโอกาสเกิดปัจจัยเสี่ยงในระหว่างในระหว่างตัดที่พอรับได้
§  มีสภาพจิตที่ดีพอสมควร  สามารถรับสถานการณ์หลังการผ่าตัดได้
§  ยอมรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมระยะยาวหลังการผ่าตัด
§  ได้รับการดูแล และสนับสนุนจากสมาชิกในครอบครัว
§  ไม่ติดเหล้า หรือสารเสพติด
§  ไม่เป็นโรคจิต  หรือมีอาการซึมเศร้า  
§  มีเอกสารว่า “ประสบความล้มเหลว” จากการพยายามลดน้ำหนักชนิด
   ไม่ต้องผ่าตัดมาแล้ว  เช่น ควบคุมด้านอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
§  สามารถให้ความร่วมมือกับการรักษา  รวมถึงการติดติดตามผล
   และควบคุมด้านอาหาร  

ผลของการผ่าตัด:
ผลจากการผ่าตัดสามารถลดไขมันส่วนเกินได้ 50 %
คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดจากการผ่าตัดลดน้ำหนัก คือ  พวกที่เป็นโรคเบา
หวาน และคนอ้วน

มีบางการศึกษาได้ให้คำแนะนำว่า...
คนที่อ้วนไม่มาก  แต่มีโรคหลายอย่างรวมอยู่ในตัว  เช่น  ความดันโลหิตสูง
มีระดับ cholesterol สูง หรือโรคเบาหวาน  อาจได้รับประโยชน์จากการผ่า
ตัดได้มากกว่าคนที่ไม่มีปัญหาดังกล่าว

โดยสรุป:
ในการตอบปัญหาของเพื่อนเกี่ยวกับการผ่าตัดเพื่อความอ้วน
พอจะกล่าวได้ว่า  การผ่าตัดเพื่อลดความอ้วน 
จัดเป็นการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงสูง

โดยทั่วไปเขาจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดวิธีการดังกล่าวใน
รายที่มีโรคความดันโลหิตสูง, ระดับไขมัน cholesterol ในเลือด
สูง, เป็นโรคเบาหวาน  ร่วมกับความอ้วน

ถึงกระนั้นก็ตาม  ผู้ได้รับการผ่าตัดจะต้องเข้าใจในความเปลี่ยนแปลง
ในวิถีชีวิตหลังการผ่าตัด  ซึ่งจะต้องปฏิบัติคำแนะนำได้ในระยะยาวอย่างเคร่งคัด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น